1. ด้านปัจจัยการผลิต
2. ห่วงโซ่การผลิตด้านการเกษตร ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
3. การสร้างชุมชนภาคเกษตรให้เข้มแข็งแล
สำหรับโซนปัจจัยการผลิต มีนิทรรศการสำคัญ ประกอบด้วย นวัตกรรมฝนหลวง แสดงถึงเทคโนโลยีฝนหลวงพระราชทาน ผลงานวิจัยและพัฒนาพลุสารดูด ความชื้นฝนหลวง ผลงานวิจัยกรรมวิธียับยั้งการเกิดพายุลูกเห็บ งานวิจัยสารฝนหลวง เครื่องวัดระดับน้ำผ่านทางโทรศัพท์ สามารถควบคุมได้จากระยะไกล (remote area) ซึ่งภายในงานจะมีการสาธิตการ โทรศัพท์ทดสอบการทำงานของเครื่อง ฝายพับได้ ที่สามารถลดระดับสันฝายในการไล่ตะกอน ซึ่งมีโมเดลฝายนำไปจัดแสดงด้วย และการจัดแสดงข้อมูลปุ๋ยอินทรีย์
ขณะที่ห่วงโซ่ปัจจัยการผลิตด้านการเกษตร แบ่งเป็น 3 โซนด้วยกัน คือ โซนต้นน้ำ โซนกลางน้ำ และโซนปลายน้ำ โดยโซนต้นน้ำ ประกอบด้วย การจัดแสดงข้าวที่ผ่านการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ จำนวนทั้งสิ้น 12 สายพันธุ์ ซึ่งจะจัดแสดงสายพันธุ์ละ 3 ชนิด ประกอบด้วยข้าวเปลือก ข้าวกล้อง และข้าวสาร การจัดแสดงปาล์มพันธุ์เทเนอรา AKG ที่ผ่านการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ ชุดทดสอบสังกะสีภาคสนาม เพื่อทำสอบในดินสำหรับนาข้าว ปุ๋ยสั่งตัด ซึ่งเป็นปุ๋ยที่ผลิตขึ้นมาเพื่อเติมธาตุในดิน ตามแต่ที่พื้นที่นั้นๆ ขาดแคลนอยู่ โดยจะมีเกษตรกรทำการสาธิตและตอบข้อซักถามเรื่องเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และจัดแสดงไก่พื้นเมืองที่ผ่านการพัฒนาสายพันธุ์จำนวน 4 สายพันธุ์ ซึ่งมีขีดความสามารถในการส่งเสริมการเลี้ยงในเชิงพาณิชย์
ส่วนของโซนกลางน้ำจะแสดงนวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพการผลิตของเกษตรกรแต่ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง เช่น การจัดแสดงชุดสาธิตการผลิตชีวภัณฑ์ไส้เดือนฝอยไว้ใช้งานเองสำหรับเกษตรกร ชุดตรวจไวรัสในกล้วยไม้ (Pocy Kit จัดแสดงข้อมูลการปลูกข้าวทั้งในแบบดูผ่านคอมพิวเตอร์ หรือดูข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต (Rice Zoning) ตู้ฟักไข่อัตโนมัติ เครื่องกกลูกไก่อัตโนมัติ ขณะที่โซนปลายน้ำ จะจัดแสดงนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ต่อยอดผลผลิตทางการเกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เกษตรกร เช่น แคปซูลที่ผลิตจากกระดูกปลานิลสำหรับป้องกันโรคกระดูกพรุน นำยางพารามาผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่า อาทิ บล็อก, ถนน, ยางรองคอกสัตว์ ถั่งเช่าดักแด้ไหม ผลิตภัณฑ์แปรรูปหม่อน ผ้าไหมลดโลกร้อน ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากไก่, วัว,ควาย เช่น ชีสจากโคและกระบือ ข้าวนึ่งกล้องเริ่มงอก ซึ่งเป็นข้าวที่ผ่านกรรมวิธีทำให้มีสารอาหารมากกว่าข้าวกล้องปกติ ข้าวที่หอมกลิ่นมอลต์ สครับผิวจากข้าวสี มาส์กหน้าจากน้ำมะพร้าวแก่ ครีมนวดแก้ปวดเมื่อยที่ผลิตจากเมล็ดลำไย (ลองกานอยด์) ผลิตภัณฑ์สารสกัดจากปาล์มน้ำมัน
นายวิมล กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ส่วนสุดท้ายคือ ชุมชนเข้มแข็ง จะนำเสนอแนวทางการพัฒนาอาชีพใหม่แก่เกษตรกร เช่น การเลี้ยงหอยมุกน้ำจืดครบวงจรตั้งแต่เป็นลูกหอย อาหาร ตลอดจนผลิตภัณฑ์ สำหรับจำหน่ายที่ได้จากหอยมุกน้ำจืด พัฒนาการเลี้ยงปลากะรังในเชิงพาณิชย์ เป็นต้น นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรฯ ยังนำเสนองานวิจัยเชิงนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เช่น เครื่องเกี่ยวนวดข้าวโพดที่สามารถนวดเมล็ดข้าวโพดได้เลย โรงเรือนอัจฉริยะ เครื่องวัดความเผ็ดได้ในระยะเวลาอันสั้น เครื่องฆ่ามอดข้าวโดยไม่ใช้สารเคมี หุ่นยนต์สำหรับหยอดข้าวโดยไม่ต้องใช้คนขับ เป็นต้น