ผู้สูงวัย เสี่ยง!! โรคหัวใจ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ศุกร์ ๐๓ เมษายน ๒๐๑๕ ๑๒:๕๘
โดย นพ.ดำรงค์ สุกิจปัญญาโรจน์ อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

สถาบันหัวใจเพอร์เฟคฮาร์ท โรงพยาบาลปิยะเวท

วันที่ 13 เมษายนของทุกปี ถือเป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ ซึ่งสิ่งที่ลูกหลานควรเอาใจใส่ดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในบ้านคือเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งโรคหัวใจและหลอดเลือด ก็เป็นปัญหาสำคัญของกลุ่มผู้สูงวัย โดยส่วนใหญ่มักจะเจอความผิดปกติของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ จากการตรวจสุขภาพประจำปีโดยไม่เคยมีอาการแสดงมาก่อน แต่บางรายไม่เคยตรวจหาความผิดปกติ จนกระทั่งเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ภาวะหัวใจล้มเหลวอันเกิดจากไขมันและหินปูนเกาะสะสมตามทางเดินหลอดเลือดจนตีบหรืออุดตันได้

นพ.ดำรงค์ สุกิจปัญญาโรจน์ อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด สถาบันหัวใจเพอร์เฟคฮาร์ท โรงพยาบาลปิยะเวท กล่าวว่า ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน มักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุมากกว่าวัยอื่น ๆ โดยจะพบว่ามีอัตราการเกิดโรคหัวใจสูงขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น (ผู้ชายอายุน้อยกว่า 55 ปี, ผู้หญิงอายุน้อยกว่า 65 ปี, มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันมาก่อน หรือ สตรีวัยหมดประจำเดือน ก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ได้สูงกว่าวัยอื่นๆ สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงได้นั้น จะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการหนาตัวของผนังหลอดเลือดซึ่งอาจจะเป็นผลจากมีไขมันไปเกาะหรือมีพังผืดอันเป็นผลมาจากความเสื่อมหรือมีปัจจัยอื่น ๆ ไปกระตุ้นให้เกิดภาวะหนาตัวขึ้น ทำให้เลือดไหลผ่านไม่สะดวกเป็นผลให้หัวใจขาดเลือดได้ ปัจจัยที่ว่านี้ ได้แก่ โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง, โรคอ้วน, ผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย, สูบบุหรี่, ไขมันในเลือดผิดปกติ และความเครียด

อาการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบนั้น มักจะมีอาการเจ็บหน้าอกตรงบริเวณเหนือลิ้นปี่ขึ้นมาเล็กน้อย เจ็บแน่น ๆ บริเวณหน้าอกเหมือนมีอะไรมาบีบรัด หรือมีของหนัก ๆ มาทับอกอยู่ อาจมีอาการร้าวไปที่บริเวณไหล่ซ้ายและแขนซ้าย หรือร้าวไปที่กรามทั้ง 2 ข้าง และมักจะเป็นเมื่อออกกำลังกายหรือใช้แรงงานหนัก ๆ เพราะช่วงนั้นหัวใจจะต้องการเลือดไปเลี้ยงมากขึ้น แต่เลือดไปเลี้ยงไม่ได้เพราะว่ามีหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบอยู่ อาการที่เป็นอยู่จะต้องนานเป็นนาทีขึ้นไป การวินิจฉัยภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ มีการสวนหัวใจหรือการฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ เป็นการฉีดสารทึบรังสีดูช่องทางเดินของหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ เป็นกระบวนการที่ล่วงล้ำร่างกายเพียงเล็กน้อย แต่ช่วยให้แพทย์สามารถประเมินได้ว่าหลอดเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบ-ตันบ้างหรือไม่ กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงเพียงใด ลิ้นหัวใจเปิดปิดได้ดีเพียงใด อีกทั้งยังสามารถวัดความดันภายในหัวใจและส่วนต่างๆ ของหัวใจได้ด้วย อีกวิธี คือ การตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เป็นการตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Coronary CT Angiography) เป็นวิธีการตรวจหัวใจเพื่อดูเส้นเลือดของหัวใจว่ามีหลอดเลือดหัวใจตีบ-ตัน หรือความผิดปกติอื่นๆ ของหลอดเลือดหัวใจบ้างหรือไม่ รวมถึงใช้ติดตามผลการรักษาภายหลังการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งผู้ที่เข้ารับการตรวจวิธีนี้จะได้รับสารทึบรังสีเพื่อให้ได้ภาพเอกซเรย์ที่ดีที่สุด

สำหรับแนวทางรักษา นพ.ดำรงค์ สุกิจปัญญาโรจน์ กล่าวว่า การรักษาโรคหัวใจทำได้หลายวิธี ถ้าผู้ป่วยมีอาการน้อยและหลอดเลือดตีบไม่มากก็สามารถรักษาด้วยยาได้ โดยที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องช่วยด้วยการปรับปรุงพฤติกรรมประจำวัน คือ งดบุหรี่ ลดอาหารมัน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควบคุมระดับน้ำตาล (ถ้าเป็นเบาหวาน) ระดับคอเลสเตอรอล และความดันโลหิต แต่ถ้ามีอาการหรือตีบมากก็อาจรักษาด้วยวิธีอื่นๆ โดยการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจแบบไม่ต้องผ่าตัดมีดังนี้ การทำบอลลูนขยายหลอดเลือด ความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหารุนแรงมีเพียง 1 ใน 1,000 - 1 ใน 2,000 ราย ปัจจุบันนี้เป็นการทำหัตถการแบบผู้ป่วยนอก คือ มาเช้ากลับเย็น หรือแค่พัก 1 คืนในโรงพยาบาล ไม่มีแผลผ่าตัด ไม่ต้องพักฟื้นอีกเป็นเดือน ในการทำผ่าตัดพบว่า มีปัญหาตีบตันของหลอดเลือดใหม่อีกได้ คือ ในสิบปีถ้าใช้หลอดเลือดดำที่ขามาต่อ อาจพบว่า ผู้ป่วยกว่าครึ่งที่จะมีปัญหาตีบตันของหลอดเลือดอีก แต่หลอดเลือดแดงจากที่แขน หรือหลอดเลือดที่ทรวงอกก็มีอัตราการตีบของเส้นเลือดที่ผ่าตัด จะมีเพียงร้อยละ 10 - 20 โดยที่โอกาสตีบ-ตันของหลอดเลือดที่ผ่าตัดภายใน 1 ปีจะมีประมาณร้อยละ 2 – 5 อัตราการตีบซ้ำหรือตีบกลับคืน แต่สำหรับผู้ป่วยที่ทำบอลลูนจะพบการตีบซ้ำได้ประมาณร้อยละ 20 - 30 ถ้าใส่ขดลวดร่วมด้วยแล้ว การตีบจะลดลงเหลือประมาณร้อยละ 10 แต่ถ้าใช้ขดลวดแบบเคลือบยา ซึ่งเป็นวิวัฒนาการใหม่แล้ว การตีบซ้ำจะเหลือเพียงร้อยละ 2 - 5 หรือต่ำกว่า และมักทราบภายใน 1 ปี

ปัจจุบันมีการนำขดลวดเคลือบยามาใช้รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบมากขึ้น โดยรักษาการตีบแบบหลายจุด และหลายเส้นได้ ซึ่งได้ผลดีใกล้เคียงกับการผ่าตัดบายพาสซึ่งเป็นทางเลือกแก่ผู้ป่วยที่ไม่ต้องการผ่าตัด ผู้ป่วยไม่ต้องพักฟื้นนาน ไม่ต้องเจ็บตัวหลังผ่าตัด ไม่เสี่ยงต่อการเกิดอัมพาตหรืออัมพฤกษ์มากเท่ากับการผ่าตัด ลดอัตราเสี่ยงจากการผ่าตัดได้มาก และล่าสุดมีการศึกษาจากต่างประเทศที่เรียกว่า "อาร์ท 2 (ARTS II) เปรียบเทียบการรักษาด้านการผ่าตัดกับการใช้ขดลวดเคลือบยาในผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจตีบหลายๆ เส้น (ซึ่งเดิมต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเท่านั้น) เกือบพันรายพบว่า ผลการรักษาทั้งสองวิธีให้ผลดีเหมือนกันทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ดังนั้นการใช้ขดลวดเคลือบยาจึงเป็นทางเลือกอีกวิธีหนึ่งสำหรับคนไข้ที่มีหลอดเลือดตีบหลายเส้นที่ไม่ต้องการเสี่ยงจากการผ่าตัด

ผู้สูงวัยควรดูแลสุขภาพตนเองให้ห่างไกลจากกโรคหัวใจได้ด้วยการออกกำลังกาย และควรเลือกรับประทานอาหารที่ไม่มีคอเลสเตอรอลสูง หมั่นตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อการป้องกันและรักษาได้อย่างทันท่วงที สำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจอยู่แล้ว การออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคหัวใจ นอกจากช่วยให้ร่างกายโดยรวมแข็งแรงแล้ว ยังพบว่าสามารถลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้ด้วย ควรออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละไม่ต่ำกว่า 20 นาที ควรเป็นการออกกำลังกายแบบเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายตลอดเวลา เช่น เดิน วิ่ง ว่ายน้ำ เป็นต้น นพ.ดำรงค์ สุกิจปัญญาโรจน์ กล่าวทิ้งท้าย

สำหรับผู้ที่สนใจ โรงพยาบาลปิยะเวท ขอเชิญร่วมอัพเดทนวัตกรรมการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน และการดูแลตนเองด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อนำไปสู่การมีสุขภาพหัวใจที่แข็งแรงสมบูรณ์ ในงานสัมมนา “ดูแลผู้สูงวัย ให้ใจเกินร้อย” โดย นพ.ดำรงค์ สุกิจปัญญาโรจน์ อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด สถาบันหัวใจเพอร์เฟคฮาร์ท โรงพยาบาลปิยะเวท ในวันเสาร์ที่ 25 เมษายน 2558 เวลา 9.30-12.00 น. ณ ลานกิจกรรมชั้น 2 โรงพยาบาลปิยะเวท พร้อมเข้ารับการตรวจสุขภาพเบื้องต้นโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย อาทิ ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด, ตรวจระดับไขมันในเลือด, ตรวจผนังหลอดเลือดที่คอ, ตรวจผนังหลอดเลือดแดง และอื่น ๆ อีกมากมาย สำรองที่นั่งโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ที่ โทร. 02-625-6555 หรือ www.piyavate.com

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๐๐ ARDA จับมือ ฟาร์ม เอ็กซ์โป และพันธมิตร เปิดศึก AGRITHON by ARDA Season 2 เฟ้นหาสุดยอดไอเดียปลุกพลังนวัตกรรมเกษตรไทย ชิงทุนวิจัยรวมกว่า 100
๑๒:๐๐ กรุงศรี ฉลอง 80 ปี ดูหนัง 80 บาท ที่ Major Cineplex เมื่อชำระด้วยบัตรกรุงศรี เดบิตและบัตร Krungsri Boarding
๑๘ เม.ย. แบรนด์ซุปไก่สกัด รณรงค์ขับขี่ปลอดภัยในโครงการ สมองล้าอย่าขับ พักดื่มแบรนด์ จับมือ ตำรวจทางหลวง และ ตำรวจจราจร
๑๘ เม.ย. ซัมซุงจัดใหญ่! เป็นเจ้าของ ตู้เย็น Side by Side รุ่นใหม่ล่าสุด พร้อมรับสิทธิพิเศษแบบจุใจ ได้แล้ววันนี้
๑๘ เม.ย. ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2568 คาดกนง.มีมติลดดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือนเมษายนนี้
๑๘ เม.ย. EXIM BANK ร่วมกับกระทรวงการคลังและกระทรวงพาณิชย์ ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs รับมือนโยบายภาษีแบบตอบโต้ของสหรัฐฯ
๑๘ เม.ย. ปักหมุด! เตรียมจัดงาน PET Expo Thailand 2025 จัดยิ่งใหญ่ครบรอบ 25 ปี
๑๘ เม.ย. ลดคลายร้อน ช้อปแลคตาซอย 1,000 ลด 100 พร้อมชวนร่วมสนุกถ่ายภาพคู่แลคตาซอย ลุ้น 10 รางวัล
๑๘ เม.ย. DITP ประชุมผู้จัดแสดงสินค้า เตรียมความพร้อมสู่เวที THAIFEX - ANUGA ASIA 2025
๑๘ เม.ย. โรงแรมเครือดุสิตธานี เปิดตัวโปรพิเศษต้อนรับซัมเมอร์ 'A Night on Us' เติมเต็มวันพักผ่อนอย่างมีความสุขกับโรงแรมและรีสอร์ทในเครือดุสิตธานีทั่วโลก