“การศึกษากุศล” ที่อยากตอบแทนคุณแผ่นดิน “ไทย-ซิกข์ นานาชาติ” โรงเรียนอินเตอร์หัวใจไทยที่มีแต่การให้

อังคาร ๐๗ เมษายน ๒๐๑๕ ๑๓:๕๕
ผ่านร้อนผ่านหนาวมาถึง 30 ปี ถ้าเปรียบเป็นมนุษย์เราก็คงเปรียบได้กับชายวัยกลางคนที่แข็งแกร่ง และมีความมุ่งมั่นที่พร้อมจะทะยานไปข้างหน้า เฉกเช่นเดียวกับโรงเรียนไทย-ซิกข์นานาชาติ โรงเรียนที่มีต้นกำเนิดมาจากการให้และยังคงมีความมุ่งมั่นที่จะยืนหยัดปณิธานในการให้อย่างไม่มีที่สิ้นสุดต่อไป

นายปราณชัย สิงห์สัจเทพ ประธานกรรมการมูลนิธิไทยซิกข์ ได้เล่าให้ฟังว่า เริ่มแรกก่อนที่จะมีโรงเรียนไทย-ซิกข์ นานาชาติ ได้ก่อตั้งโรงเรียนไทย-ซิกข์วิทยาลัย ขึ้นมาก่อนโดยกลุ่มคนซิกข์ที่เข้ามาใช้วิถีชีวิตในไทย มีธุรกิจเป็นของตัวเองที่สร้างรายได้จากในประเทศไทย จนวันหนึ่งมารวมตัวกันเพราะมีปณิธานเดียวกันว่าอยากทำอะไรเพื่อสังคมบ้าง โดยมีแนวคิดว่าอยากตอบแทนคุณแผ่นดิน โดยให้การศึกษาปลูกจิตสำนึกลูกศิษย์ เพื่อให้โตมาเป็นคนดีของสังคมไทยต่อไป เป็นการรวบรวมตอบแทนทางความดีเพื่อสังคม ซึ่งจากวันนั้นถึงวันนี้โรงเรียนซิกข์วิทยาลัยก็เปิดมาได้มา 60 ปี แล้ว

“เด็กทุกคนที่ได้เรียนที่โรงเรียนไทย-ซิกข์วิทยาลัยนั้นเรียนฟรีหมด เพราะเราต้องการสร้างสังคมที่ดีให้แก่ประเทศชาติ และเราเป็นโรงเรียนแรกที่ได้วิทยาฐานะในกทม. หลังจากนั้นทางคณะการรมการจัดตั้งมูลนิธิไทย-ซิกข์ เริ่มเห็นว่าคนไทยให้ความสนใจไปเรียนต่างประเทศกันเยอะ แล้วส่วนใหญ่มักจะไม่อยากกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเมืองนอนกัน จึงมาก่อตั้งโรงเรียนไทย-ซิกข์ นานาชาติแห่งนี้ขึ้น เพื่อช่วยเรื่องการศึกษาทั้งเด็กไทยและเด็กต่างEชาติที่ให้ความสนใจในเรื่องของภาษา และปลูกฝังให้เด็กเหล่านี้มีจิตสำนึกที่ดีที่อยากกลับมาพัฒนาประเทศของตน โดยพัฒนาพื้นที่กว่า 30 ไร่ในบริเวณโรงเรียนพร้อมปรับภูมิทัศน์เพื่อให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมของเด็กๆ รวมทั้งสร้างที่พักอาศัยในรูปแบบคอนโดมิเนียมให้แก่อาจารย์ในโรงเรียน โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น เพื่อจะได้มีเวลาให้แก่นักเรียนได้อย่างเต็มที่”

นายปราณชัยยังได้กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของโรงเรียนนานาชาติในไทยว่า เริ่มแรกยังไม่มีโรงเรียนนานาชาติมากนัก ต้องเริ่มสร้างกันเองในช่วง 5-10 ปีแรกหาหลักสูตรกันเอง และวสมัยก่อนโรงเรียนนานาชาติจะขึ้นอยู่กับกระทรวงการต่างประเทศเท่านั้น จนมาถึงสมัยของคุณอนันท์ ปันยารชุน จึงมีการเปลี่ยนแปลงให้มาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งโรงเรียนไทย-ซิกข์ นานาชาติ ถือเป็นโรงเรียนแห่งแรกที่ได้รับเข้าสังกัดกระทรวงดังกล่าว จนถึงปัจจุบันเราได้รับมาตรฐาน CIS ของประเทศอังกฤษ และเป็นต้นแบบให้แก่โรงเรียนนานาชาติอื่นๆ ทั่วโลกในด้านการปลูกฝังวัฒนธรรม จนได้รับความนิยมชมชอบว่า “ถ้าอยากเรียนรู้เรื่องการปลูกฝังต้องมาดูที่นี่”

ทั้งนี้ ในอนาคตทางโรงเรียนตั้งใจไว้ว่าจะมีการให้ทุนสนับสนุนแก่นักเรียนในระดับมหาวิทยาลัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันได้มีมูลนิธิพระศาสดาซิกข์คุรุรามดาสยิ ให้การสนับสนุนด้านนี้อยู่ ทั้งในระดับประถม และมัธยมรวมกว่า 1,000 ทุน โดยให้อธิการบดีจากสถาบันต่างๆ เป็นผู้คัดเลือกเอง เพื่อไปศึกษาต่อในมหาวิยาลัยทั้งในไทย หรือต่างประเทศ อาทิ อังกฤษ หรือ อินเดีย ที่เราติดต่ออยู่ โดยไม่มีเงื่อนไขหรือต้องกลับมาใช้ทุนแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม ทางด้านมาตรฐานการศึกษาในประเทศไทย ตนมองว่าในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมาไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงมากนัก เพิ่งจะมีการการเปลี่ยนแปลงแบบชัดเจนในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา อาจจะเป็นเพราะใกล้เข้าสู่ประตูอาเซียน เลยทำให้มีการปรับตัวกันเพิ่มมากขึ้น ซึ่งทางเราเองก็พร้อมเมื่อถึงเวลานั้น เพราะตนมองว่าน่าจะมีเด็กจากต่างประเทศมาศึกษาในไทยมากขึ้น เพราะตอนนี้การศึกษานานาชาติในประเทศไทยถือว่ามีมาตรฐานสูงกว่าประเทศอื่นๆ ส่งผลให้หลายๆ ประเทศอยากเข้ามาเรียนรู้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ