กระทรวงเกษตรฯ จัดทำ 7 แอพพลิเคชั่นเอาใจเกษตรกรและคอไอที ดาวน์โหลดฟรีทั้งระบบปฏิบัติการ iOS และAndroid ที่หน้าเว็บไซต์กระทรวงฯ

พฤหัส ๐๙ เมษายน ๒๐๑๕ ๑๐:๓๒
นายวิมล จันทรโรทัย โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรฯ โดยศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้มีการจัดทำแอพพลิเคชั่นตามนโยบาย Digital Agriculture ซึ่งได้รับมอบหมายจากนายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนและเกษตรกรในการสืบค้นข้อมูลต่างๆ 7 แอพพลิเคชั่น ได้แก่

1. "ฝนหลวง" Fonluang พัฒนาขึ้นเพื่อนำข้อมูลด้านฝนหลวงมาแสดงบนอุปกรณ์ Smartphone และ Tablet เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเทิดทูลในพระปรีชาสามารถ พระราชกรณียกิจฝนหลวง ในฐานะ "พระบิดาฝนหลวง” อีกทั้งเป็นการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการสื่อสารเผยแพร่หน่วยงาน จากผู้ปฏิบัติงานสู่ประชาชนโดยตรง

2. Q Restaurant เพื่อประชาสัมพันธ์ร้านอาหาร ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการประกอบอาหาร ได้แก่ พวกวัตถุดิบหรือสินค้าที่ผ่านมาตรฐานจากแปลง GAP รวมทั้งวัตถุดิบที่ปลอดภัย ซึ่งแอพพลิเคชั่นนี้เหมาะสำหรับผู้บริโภคที่สนใจร้านอาหารที่มีความปลอดภัยได้คุณภาพ โดยเข้าไปที่แอพพลิเคชั่น แล้วจะปรากฏข้อมูลร้านอาหารที่อยู่ใกล้ หรือสามารถค้นหารายจังหวัด หรือเลือกเฉพาะเจาะจงร้านที่สนใจ และสามารถแสดงเส้นทางการเดินทางจากตำแหน่งปัจจุบันไปยังร้านอาหารที่ต้องการจะไปได้

3. ProtectPlants เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโรคพืชและศัตรูพืช พร้อมทั้งมีฟังค์ชั่นเด่นที่คอยติดตามการระบาดศัตรูพืช เพื่อให้เกษตรกรป้องกันได้ทันท่วงที แอพพลิเคชั่นประกอบไปด้วยฟังค์ชั่นหลัก 6 หมวด ได้แก่ ข่าวสาร องค์ความรู้ด้านอารักขาพืช วินิจฉัยศัตรูพืชเบื้องต้น วินิจฉัยตามชนิดพืช พยากรณ์เตือนการระบาด พยากรณ์สภาพอากาศ

4. DOAESmartCheck เพื่อให้เกษตรกรใช้ตรวจสอบติดตามสถานะผลการปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร และการเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือของรัฐตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย โดยจ่ายเงินให้แก่ชาวนาและชาวสวนยางพาพา ไร่ละ 1,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 15 ไร่ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2557 เป็นต้นมา โดยให้ใช้ฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตรนำไปตรวจสอบสิทธิและรับรองสิทธิ์

5. ปุ๋ยรายแปลง โปรแกรมคำแนะนำการจัดการดินและปุ๋ยรายแปลง (พัฒนาขึ้นปี 2557) พัฒนาขึ้นทั้งในรูปแบบ Web Application เพื่อใช้งานผ่าน Web Browser บนเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) และผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลด Application นี้ไปติดตั้งบนเครื่อง Smart Phone หรือ Tablet

6. WMSC เพื่อจัดเก็บรวบรวมข้อมูลและนำเสนอข้อมูลข่าวสารในการบริหารจัดการน้ำ ได้แก่ ข้อมูลปริมาณน้ำฝน ข้อมูลปริมาณน้ำท่า ข้อมูลปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ ข้อมูลอัตราการไหลของน้ำในแม่น้ำ คลองชลประทานต่างๆ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้บริหารกรมชลประทานหรือผู้เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการ พร้อมทั้งสามารถเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารแก่หน่วยงานทั้งภายในและภายนอก รวมทั้งประชาชนทั่วไป ได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ

7. Feed โปรแกรมประยุกต์การคำนวณปริมาณการให้อาหารกุ้งขาว เป็นเครื่องมือเกษตรกรยุคใหม่ : Smart tools for smart farmer จะช่วยให้เกษตรกรสามารถ แก้ไขปัญหาในการเลี้ยงกุ้งและมีผลผลิตเพิ่มขึ้น และเกษตรกรจำนวนมากมีความต้องการใช้ เครื่องมือใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพเพื่อพัฒนาการเลี้ยงกุ้งให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งโปรแกรมที่ช่วยในการให้อาหารอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปโหลดแอพพลิเคชั่นทั้งหมด โดยใช้ได้ทั้งระบบปฏิบัติการ iOS และ Android ที่หน้าเว็บไซต์กระทรวงเกษตรฯ ได้แล้วตามลิงค์นี้ http://www.moac.go.th/ewt_news.php?nid=14725

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ