กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมปศุสัตว์ เดินหน้าเต็มสูบสร้างเขตปลอดโรคปากและเท้าเปื่อยภาคตะวันออก รุกสร้างความเข้าใจให้เจ้าหน้าที่และผู้ประกอบการ หวังเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างพื้นที่ปลอดโรคที่ยั่งยืน

พฤหัส ๑๖ เมษายน ๒๐๑๕ ๐๘:๓๒
นายอยุทธ์ หรินทรานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า องค์การโรคระบาดสัตว์ประเทศ (OIE) ได้ตรวจประเมินสถานภาพของเขตปลอดโรคปากและเท้าเปื่อยในพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย พบว่า กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมปศุสัตว์ มีศักยภาพในการสร้างพื้นที่ดังกล่าว จึงได้เสนอแนวทางในการปรับมาตรการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างพื้นที่ปลอดโรคที่ยั่งยืน ได้แก่ ขอบเขตของพื้นที่ปลอดโรคโดยใช้ลักษณะภูมิประเทศเป็นแนวกั้นที่สำคัญ กฎหมายควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์และซากสัตว์ และปรับแผนการเฝ้าระวังโรคให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของ OIE ดังนั้น กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมปศุสัตว์ จึงได้ดำเนินการจัดทำมาตรการต่างๆ รวมถึงกำหนดระเบียบกรมปศุสัตว์ภายใต้กรอบของกฎหมายหลัก คือ พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ และจัดประชุมสร้างความเข้าใจให้กับเจ้าหน้าที่และผู้ประกอบการเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2558 โดยนายสัตวแพทย์ประวัติ รัตนะภุมมะ ปศุสัตว์เขต 2 และ นายสัตวแพทย์ประภาส ภิญโญชีพ ผู้อำนวยการสำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ ณ ศูนย์ราชการกรมปศุสัตว์ จังหวัดปทุมธานี พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่และผู้ประกอบการจากหลายพื้นที่เข้าร่วมประชุมจำนวนเกือบ 100 คน โดยผู้ประกอบการ มีผู้แทนสมาคมและภาคเอกชนจากกลุ่มต่างๆ ทั้งธุรกิจสุกร โคเนื้อ โคนม ได้ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานที่เป็นประโยชน์หลายประเด็น และให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการรับนโยบายการเดินหน้าให้มีการสร้างเขตปลอดโรคปากและเท้าเปื่อยในพื้นที่ภาคตะวันออกอย่างยั่งยืน

สำหรับเขตปลอดโรคปากและเท้าเปื่อยภาคตะวันออก ประกอบไปด้วยพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด สระแก้ว ปราจีนบุรี และฝั่งตะวันออกแม่น้ำบางปะกงของจังหวัดฉะเชิงเทรา ในการควบคุมเคลื่อนย้ายสัตว์และซากสัตว์เข้าเขตจะต้องมีการตรวจสอบจากคณะกรรมตรวจรับรองสัตว์ หรือซากสัตว์เข้าพื้นที่ปลอดโรคปากและเท้าเปื่อยภาคตะวันออก โดยมีปศุสัตว์เขต 2 ผู้ตรวจราชการกรมปศุสัตว์ซึ่งรับผิดชอบพื้นที่เป็นประธาน โดยสัตว์ที่จะเคลื่อนย้ายเข้าพื้นที่จะต้องมาจากฟาร์มปลอดโรคที่ได้รับการรับรอง เลี้ยงอยู่ในพื้นที่ต้นทางมานาน 3 เดือนโดยไม่เป็นโรค ไม่มีการระบาดของโรคในระยะ 10 กิโลเมตร ซึ่งก่อนเคลื่อนย้ายต้องกักดูอาการ 30 วัน เพื่อตรวจสอบว่าไม่พบอาการป่วย และมีการทดสอบทางห้องปฏิบัติการว่าไม่ติดเชื้อโรคปากและเท้าเปื่อย จึงจะได้รับอนุญาตให้เข้าเขตปลอดโรคได้ ขณะที่น้ำเชื้อหรือซากสัตว์ก็ต้องได้รับการรับรองว่ามาจากสัตว์ต้นทางที่ไม่เป็นโรคและไม่มีโรคในพื้นที่ และเนื้อสัตว์ต้องมาจากโรงฆ่าสัตว์ที่ได้รับการรับรองการปฏิบัติที่ดี (Good Manufacturing Practice: GMP) พร้อมทั้งหลักเกณฑ์อื่นๆ ที่กำหนดไว้เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าจะไม่นำโรคเข้าพื้นที่ นอกจากนี้ จะต้องมีการควบคุมดูแลความสะอาดและทำลายเชื้อโรคให้กับยานพาหนะที่ใช้ขนส่งสัตว์หรือซากสัตว์เข้าพื้นที่ปลอดโรคอีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO