นิด้าโพล: “การเดินทางเยือนไทยของผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา”

จันทร์ ๐๒ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๕ ๑๕:๐๘
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “การเดินทางเยือนไทยของผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 26 – 27 มกราคม 2558 จากประชาชนทั่วประเทศ กระจายทั่วทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการเดินทางเยือนไทยของผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา และความเชื่อมั่นต่อความเป็นกลางทางการเมืองในประเทศไทยของสหรัฐอเมริกา อาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยความ น่าจะเป็นด้วยวิธีแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4

จากผลการสำรวจ เมื่อถามถึง การให้ความสำคัญของประชาชนต่อข่าวการเดินทางเยือนไทยของนายแดเนียล รัสเซล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 22.56 ระบุว่า ค่อนข้างให้ความสำคัญ รองลงมา ร้อยละ 21.52 ระบุว่า ไม่ให้ความสำคัญเลย ร้อยละ 20.40 ระบุว่า ไม่ค่อยให้ความสำคัญ ร้อยละ 13.92 ระบุว่า ให้ความสำคัญอย่างมาก ขณะที่ ร้อยละ 21.60 ไม่ทราบ / ไม่แน่ใจ / ไม่ระบุ

ซึ่งในจำนวนผู้ที่ระบุว่า ค่อนข้างให้ความสำคัญ – ให้ความสำคัญอย่างมาก ให้เหตุผลเพราะว่าเป็นการมาเยือนของประเทศมหาอำนาจ อย่างเช่นสหรัฐอเมริกา ทั้งยังต้องการทราบถึงข่าวคราวความเคลื่อนไหวการมาเยือนของ นายแดเนียล รัสเซล และข้อคิดเห็นต่าง ๆ ที่มีต่อสถานการณ์ทางการเมืองของไทยในขณะนี้ด้วย โดยมองว่าการเมืองไทยน่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น ซึ่งประเทศไทยน่าจะใช้โอกาสนี้ในการชี้แจงถึงสถานการณ์ทางการเมือง รวมไปถึงการค้าระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือเป็นประเทศ ที่มีบทบาทในเศรษฐกิจของไทย

ส่วนในจำนวนผู้ที่ระบุว่า ไม่ค่อยให้ความสำคัญ – ไม่ให้ความสำคัญเลย ให้เหตุผลเพราะว่า ถือเป็นปกติของผู้นำระดับสูงของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่จะต้องปฏิบัติภารกิจในการเยือนนานาประเทศอยู่แล้ว และส่วนหนึ่งไม่ได้สนใจ หรือติดตามข่าวการเมืองเท่าใดนัก

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อคำกล่าวของผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ว่า “สหรัฐฯ ไม่เข้าข้างฝ่ายใดในการเมืองไทย” พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 38.08 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย รองลงมา ร้อยละ 24.16 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ ร้อยละ 17.52 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ มีเพียง ร้อยละ 8.48 ที่ระบุว่า เชื่ออย่างมาก และร้อยละ 11.76 ไม่ทราบ / ไม่แน่ใจ / ไม่ระบุ

โดยในจำนวนผู้ที่ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ – เชื่ออย่างมาก ให้เหตุผลเพราะว่า สหรัฐอเมริกาถือเป็นประเทศที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับไทยมาอย่างยาวนาน และมองว่าเป็นเรื่องของภายในประเทศ จึงน่าจะมีความเป็นกลางและไม่เข้ามาแทรกแซง หรือเข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหาของไทย และในจำนวนผู้ที่ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ – ไม่เชื่อเลย ให้เหตุผลเพราะว่า ไม่มั่นใจในความจริงใจและจุดประสงค์ที่แท้จริงของการเดินทางมาเยือนของสหรัฐอเมริกาในครั้งนี้ ซึ่งมองว่าอาจมีผลประโยชน์แอบแฝง หรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับกลุ่มนักการเมือง เพื่อนำมาซึ่งผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกา โดยจะเห็นได้จากการเข้ามาแทรกแซงทางการเมืองระหว่างประเทศในบางประเทศ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 20.00 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ร้อยละ 20.80 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 20.08 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 19.04 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 20.08 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 54.16 เป็นเพศชาย ร้อยละ 45.68 เป็นเพศหญิง และ ร้อยละ 0.16 เป็นเพศทางเลือก

ตัวอย่างร้อยละ 6.67 มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ร้อยละ 28.30 มีอายุ 25 – 39 ปี ร้อยละ 50.72 มีอายุ 40 – 59 ปี และร้อยละ 14.31 มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 94.46 นับถือศาสนาพุทธ ตัวอย่างร้อยละ 4.98 นับถือศาสนาอิสลาม และตัวอย่างร้อยละ 0.56 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ ตัวอย่างร้อยละ 24.48 สถานภาพโสด ตัวอย่างร้อยละ 74.80 สมรสแล้ว และตัวอย่างร้อยละ 0.72 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่างร้อยละ 24.18 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ตัวอย่างร้อยละ 26.59 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 10.84 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ตัวอย่างร้อยละ 33.01 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และตัวอย่างร้อยละ 5.38 จบการศึกษา สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ตัวอย่างร้อยละ 13.26 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ตัวอย่างร้อยละ 17.44 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ตัวอย่างร้อยละ 23.55 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ตัวอย่าง ร้อยละ 13.42 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ตัวอย่างร้อยละ 13.50 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ตัวอย่างร้อยละ 14.63 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และ ตัวอย่างร้อยละ 4.18 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 14.08 ไม่มีรายได้ ตัวอย่างร้อยละ 23.84 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่เกิน 10,000 ตัวอย่างร้อยละ 28.64 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อเดือน 10,001 – 20,000 ตัวอย่างร้อยละ 13.92 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ตัวอย่างร้อยละ 8.08 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อเดือน 30,001 – 40,000 ร้อยละ 7.20 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มากกว่า 40,001 บาท ขึ้นไป และร้อยละ 4.24 ไม่ระบุรายได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๓:๔๖ MEDEZE ต้อนรับสถาบันนักลงทุน CSI เยี่ยมชมบริษัท
๑๓:๔๙ บริษัท อินเตอร์ไฟเบอร์ คอนเทนเนอร์ จำกัด รับประกาศนียบัตร เครื่องหมายรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ประจำปี 2567
๑๓:๔๓ AJA จัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2568 ผถห. โหวตผ่านทุกวาระ พร้อมเปิดตัวกลยุทธ์ใหม่ รีแบรนด์ AJ EV BIKE สู่
๑๓:๕๑ SCAP ตั้งเป้าระดมทุนโดยการขายหุ้นกู้1,600 ล้านบาท ชูดอกเบี้ยสูงสุด 5.05% ต่อปี ด้วยอันดับความน่าเชื่อถือที่ BBB เปิดขายวันที่ 31 ม.ค. และ 3-4 ก.พ.
๑๒:๐๐ สกสว. - สวทช. รุกปั้นกลุ่ม ผู้จัดการงานวิจัยและนวัตกรรม หนุนระบบบุคลากร
๑๒:๑๕ HMD ประเทศไทย เปิดแผนธุรกิจปี 68 ย้ำมุ่งพัฒนาสมาร์ทโฟนคุณภาพ ด้วยปรัชญา ใช้งานปลอดภัย ไว้ใจได้ ด้วยราคาเข้าถึงง่าย
๑๑:๑๒ VEHHA Hua Hin คว้า Fitwel มาตรฐานคอนโดระดับโลก ยกระดับคุณภาพชีวิตระยะยาว ต่อยอดจุดแข็งสู่ที่สุดของความครบครัน
๑๑:๐๐ ttb reserve มอบประสบการณ์ใหม่เหนือระดับเพื่อลูกค้าคนสำคัญ
๑๑:๓๙ ศิลปะจักสานหลินซู ภูมิปัญญาโบราณสู่ตลาดโลก
๑๑:๐๐ ฉลองครบ 10 ปี HOUSE OF LITTLEBUNNY กระเป๋าแบรนด์ไทย จากกระต่ายน้อยตัวเล็ก เติบโตสู่ตลาดอินเตอร์ จัดแฟชั่นโชว์ยิ่งใหญ่