เพาเวอร์บาย จับมือ ม.ราชมงคลล้านนา สร้างไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ ให้น้องที่อมก๋อย

พฤหัส ๑๖ เมษายน ๒๐๑๕ ๑๒:๓๙
ในพื้นถิ่นทุรกันดารอย่าง อ. อมก๋อย จ. เชียงใหม่ ยังมีโรงเรียนที่อยู่ห่างไกลความเจริญ ไม่มีแม้ไฟฟ้าส่องสว่าง บริษัท เพาเวอร์บาย จำกัด จึงได้ร่วมมือกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จัดทำ “โครงการ เพาเวอร์บาย นำไฟฟ้าสู่น้องที่อมก๋อย” สร้างพลังงานไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ให้กับ โรงเรียนในเขตพื้นที่ถิ่นทุรกันดาร โรงเรียน ศูนย์การศึกษา ชุมชนชาวไทยภูเขา“แม่ฟ้าหลวง” บ้านปิพอ ต.แม่ตื่น อ. อมก๋อย จ.เชียงใหม่ เพื่อให้มีไฟฟ้าใช้ส่องสว่างสำหรับการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนให้ดียิ่งขึ้น

คุณจิราลักษณ์ ณ เชียงตุง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่ายการตลาด บริษัทเพาเวอร์บาย จำกัดกล่าวว่า เพาเวอร์บาย คือผู้จำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าไอที และ อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ ได้มีแนวคิดที่จะพัฒนาพื้นที่ห่างไกลให้มีไฟฟ้าใช้ โดยเริ่ม “โครงการ เพาเวอร์บาย นำไฟฟ้าสู่น้องที่อมก๋อย” เป็นโครงการแรก ซึ่งเราได้คัดเลือกแล้วว่า อมก๋อย เป็นพื้นที่ห่างไกลและอยู่ในหุบเขาเป็นส่วนใหญ่ เป็นอำเภอที่ยากจนที่สุด อำเภอหนึ่งของประเทศไทย เพาเวอร์บาย จึง อยากให้คนในพื้นที่มีส่วนร่วม ในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม สร้างพลังงานไฟฟ้าโซลาร์เซลล์จึงได้คัดสรรมหาวิทยาลัย ในจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการสร้างพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ โดยร่วมมือกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านนี้จัดทำ“โครงการ เพาเวอร์บาย นำไฟฟ้าสู่น้องที่อมก๋อย” โดยทางมหาวิทยาลัยฯ จัดทีมนักศึกษา ระดับชั้นปีที่ 2- 4 เข้าร่วมโครงการ เพื่อให้ใช้ความรู้ที่ได้เรียนมานำไปปฎิบัติใช้งานจริงในภาคสนาม ฝึกประสบการณ์ และให้ประโยชน์กับชุมชนซึ่งพลังงานไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ ที่ทำการจัดสร้างขึ้นในครั้งมีกำลังไฟฟ้า 5 กิโลวัตต์ ซึ่งเพียงพอกับความต้องการสำหรับโรงเรียนศูนย์การศึกษาชุมชนชาวไทยภูเขา“แม่ฟ้าหลวง” บ้านปิพอ และยังเพียงพอกับการให้แสงสว่างกับคนในหมู่บ้าน ได้ใช้กันทุกหลังคาเรือน ที่สำคัญพลังงานไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ เป็นพลังงานที่รักษาสิ่งแวดล้อม และยังช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นไปในชั้นบรรยากาศ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อุเทน คำน่าน จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กล่าวว่า เริ่มแรกที่ได้รับการติดต่อจาก บริษัท เพาเวอร์บาย ในการสร้างพลังงานไฟฟ้าให้กับชุมชนนั้น ทางมหาวิทยาลัยฯ เห็นตรงกันว่า “โครงการ เพาเวอร์บาย นำไฟฟ้าสู่น้องที่อมก๋อย” นั้นเป็นโครงการที่จะช่วยให้พื้นที่ห่างไกลที่การขยายเขตของการไฟฟ้าเข้าไปไม่ถึงได้มีพลังงานไฟฟ้าใช้ ซึ่งตรงกับเจตจำนงของทางมหาวิทยาลัยฯ ที่จะต้องการพัฒนาพื้นที่ที่ห่างไกลได้มีไฟฟ้า โดยทางมหาวิทยาลัยเอง มีความเชี่ยวชาญ และมีความชำนาญทางด้านการพัฒนาและหาวิธีการในการสร้างพลังงานไฟฟ้าจากธรรมชาติในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพลังงานไฟฟ้าจากน้ำ หรือแม้แต่พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ เพื่อให้มีความเหมาะสมกับบริบท สภาพแวดล้อมและวิถีการใช้ชีวิตประจำวัน โดยที่ไม่ทำลายวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน

ทั้งนี้ได้คุยกับทีมงานของ เพาเวอร์บาย ในความร่วมมือในการสร้างสถานีไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ ให้กับพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้า โดยทางเพาเวอร์บาย จะสนับสนุนงบประมาณและทางมหาวิทยาลัยจะสนับสนุนบุคลากรในการสร้าง โดยเลือกโรงเรียนในเขตพื้นที่ถิ่น ทุรกันดาร โรงเรียน ศูนย์การศึกษา ชุมชนชาวไทยภูเขา“แม่ฟ้าหลวง” บ้านปิพอ ต.แม่ตื่น อ. อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่ห่างไกลอยู่กลางหุบเขา การเดินทางเข้าหมู่บ้านค่อนข้างยากลำบาก และที่สำคัญการขยายเขตของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคยังเข้าไปถึง ทาง มหาวิทยาลัย ได้นำนักศึกษา ชั้นปีที่ 2- 4 มาเรียนรู้และฝึกปฏิบัติงานจริงบนพื้นที่จริงในการสร้างพลังงานไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ ให้กับชุมชน ที่สำคัญนักศึกษาจะได้ใช้ความรู้จากห้องเรียนนำมาปฎิบัติ เพื่อให้เกิดความมั่นใจและความภาคภูมิใจในความสำเร็จของผลงานที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของคนอีกมายมายให้ดีขึ้น

นายเชาวรินทร์ พุฒิไชยจรรยา นักศึกษาชั้นปีที่3 จากสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ กล่าวว่า เป็นครั้งแรกที่ผมจะได้มีโอกาสลงภาคสนามในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งอาจารย์ได้แจ้งว่าที่อมก๋อย ไม่มีน้ำประปาและไฟฟ้า ทางเพาเวอร์บาย ได้สบับสนุนงบประมาณ ให้ทางมหาวิทยาลัยไปช่วยสร้างไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ ให้กับชาวเขา ซึ่งจะมีนักศึกษาชั้นปีที่ 2 – 4 ได้ร่วมทำ ซึ่งผมสามารถเรียนรู้ได้มากกว่าในห้องเรียน ซึ่งอาจารย์และรุ่นพี่ต่าง ๆ ก็จะช่วยให้ความรู้กับผมจากประการณ์จริง ผมว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่ดีที่นอกจากจะช่วยให้ชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลความเจริญได้มีไฟฟ้าใช้แล้ว ยังช่วยให้นักศึกษาได้มีความรู้จากการปฎิบัติจริงในภาคสนามได้อีกด้วย

นายณัฐวุฒิ วงค์ปินตา นักศึกษาชั้นปีที่3 จากสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ กล่าวว่า รู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งขอโครงการนี้ เพาเวอร์บาย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ ในการพัฒนาชุมชนอย่างแท้จริง ซึ่งผมเอง ได้มีโอกาสเรียนในสายวิศวกรรมไฟฟ้า ก็อยากใช้ความรู้ความสามารถที่เรียนมานำมาปฎิบัติ สร้างไฟฟ้าที่ผลิตจากแสงอาทิตย์ ให้กับชุมชนได้ใช้ ทำให้ผมและเพื่อนๆ ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหา จากประสบการณ์จริง ที่ได้จากการทำโครงการนี้

นายอานนท์ คำแปง นักศึกษาชั้นปีที่3 จากสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ บอกว่า เมื่อทราบข่าวว่าอาจารย์ จะนำไปช่วยงานสร้างพลังงานไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ ที่อมก๋อย รู้สึกดีใจที่จะได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้ ผมทราบดีว่า ที่อมก๋อย ไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึง การได้มีโอกาสได้ร่วมสร้างพลังงานไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ในครั้งนี้ ผมจะได้ประสบการณ์ต่างๆ มากมาย และนี่จะเป็นอีกหนึ่งประสบการณ์ที่ผมและเพื่อนๆ จะได้รับอย่างแท้จริง

โครงการ เพาเวอร์บาย นำไฟฟ้าสู่น้องที่อมก๋อย เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ออกไปฝึกปฏิบัติ และฝึกประสบการณ์จริงในพื้นที่ชุมชนห่างไกล โดยใช้วิชาชีพของศาสตร์ด้านวิศวกรรมไฟฟ้าในการปฏิบัติงาน ซึ่งอาจารย์และรุ่นพี่ ก็จะสร้างความเข้าใจให้นักศึกษาได้เรียนรู้ในการปฏิบัติงาน และการปฏิบัติตนของนักศึกษาในขณะออกทำงาน ตลอดจนเป็นการสร้างความเข้าใจเพื่อลดปัญหาในด้านต่าง ๆ และนำปัญหามาประยุกต์สู่งานวิจัยในชั้นเรียน

อีกทั้งน้องๆ ที่โรงเรียนในเขตพื้นที่ถิ่น ทุรกันดาร โรงเรียน ศูนย์การศึกษา ชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านปิพอ ยังได้มีไฟฟ้าใช้ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนของน้องๆ ชาวไทยภูเขาให้ดียิ่งขึ้น และชุมชนในหมู่บ้าน จะได้มีไฟฟ้าส่องสว่างทุกหลังคาเรือน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ