ทั้งนี้ การปรับตัวของราคาก๊าซธรรมชาติจะไม่เปลี่ยนแปลงในทันทีเมื่อราคาน้ำมันดิบมีการปรับตัว โดยราคาก๊าซธรรมชาติจะสะท้อนจากต้นทุนราคาน้ำมันดิบย้อนหลัง 6 ถึง 18 เดือน เป็นไปตามเงื่อนไขสัญญาการซื้อขายก๊าซธรรมชาติ เพื่อช่วยลดการผันผวนของต้นทุนเชื้อเพลิง ซึ่งจากการที่ราคาน้ำมันดิบดูไบ เมื่อไตรมาสที่ 3 ของปี 2557 ปรับลดลงจากระดับ 101.5 เหรียญต่อบาร์เรล มาที่ระดับ 51.9 เหรียญต่อบาร์เรล ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2558ทำให้ราคาก๊าซธรรมชาติในไตรมาสแรกของปี 2558 ปรับลดลงอยู่ที่ 290 บาทต่อล้านลูกบาศก์ฟุต และคาดว่าราคาก๊าซธรรมชาติในไตรมาสที่ 2 และ 3 ว่าจะปรับลดลง อยู่ที่ระดับ 260–265 บาทต่อล้านลูกบาศก์ฟุต และ 250–255บาทต่อล้านลูกบาศก์ฟุต ตามลำดับ ซึ่งหากราคาน้ำมันยังทรงตัวอยู่ในระดับปัจจุบัน คาดว่าราคาก๊าซธรรมชาติจะลดลงต่อเนื่องในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ด้วย
“การที่ราคาก๊าซธรรมชาติปรับตัวลดลง จะส่งผลดีต่อต้นทุนเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยคาดว่าจะทำให้ค่าไฟฟ้าจะถูกลงกว่าเดิม และราคาก๊าซธรรมชาติที่ขายในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งอ้างอิงกับราคาน้ำมันเตาจะมีการปรับตัวลดลงเช่นกัน รวมถึงราคาเชื้อเพลิงในภาคขนส่งด้วย ทั้งหมดนี้จะส่งผลดีผู้บริโภคโดยตรง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าราคาพลังงานมีแนวโน้มลดลงช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคได้ แต่การที่ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ใช้พลังงาน และยังต้องนำเข้าพลังงานเพื่อความมั่นคงของประเทศ ดังนั้นการใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่าเพื่อยืดอายุพลังงานยังเป็นสิ่งสำคัญเพื่อลูกหลานไทยในอนาคต” นายชาครีย์ กล่าวเสริมในตอนท้าย