สพฉ. ระบุการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินต้องยึดความปลอดภัยของทุกคน สนับสนุนนโยบายกระทรวงเรื่องรถพยาบาลใช้ความเร็วไม่เกิน 80 กม./ชม.

จันทร์ ๒๐ เมษายน ๒๐๑๕ ๐๙:๕๑
สพฉ. ระบุการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินต้องยึดความปลอดภัยของทุกคน สนับสนุนนโยบายกระทรวงเรื่องรถพยาบาลใช้ความเร็วไม่เกิน 80 กม./ชม. เป็นไปตามหลักสากล เน้นให้มีหน่วยบริการที่ครอบคลุม สามารถเข้าถึงผู้ป่วยฉุกเฉินได้ทันกาลและไม่เสี่ยงอุบัติเหตุ

หลังจากการประกาศนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข เรื่องให้รถพยาบาลฉุกเฉิน ใช้ความเร็วไม่เกิน 80 กม./ชม. ส่งผลให้หลายฝ่ายเป็นห่วงว่าจะทำให้การรับส่งผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ เพื่อนำส่งที่โรงพยาบาล เกิดความล่าช้า และไม่ทันกาล และจะส่งผลกระทบต่ออัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยฉุกเฉิน นั้น

นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า การประกาศนโยบายครั้งนี้เนื่องด้วยกระทรวงสาธารณสุขเล็งเห็นถึงความปลอดภัยทั้งในส่วนของผู้ป่วยฉุกเฉิน ผู้ปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินและประชาชนร่วมทางเป็นสำคัญ เพราะจากสถิติในปีที่ผ่าน รถพยาบาลฉุกเฉินเกิดอุบัติเหตุถึง 61 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บ 130 ราย เสียชีวิตของบุคลากรและผู้ป่วยถึง 19 ราย ดังนั้นจึงต้องการทำให้รถพยาบาลลดความเสี่ยงลง และนโยบายนี้ถือเป็นการเพิ่มความคุ้มครองในเรื่องสวัสดิภาพในการทำงานให้บุคลากรทางด้านสาธารณสุขเพื่อความปลอดภัยบนถนนเมืองไทยที่มีความเสี่ยงสูง เหมือนที่บริษัทเอกชนกำหนดนโยบายเรื่องนี้เช่นกัน โดยกระทรวงสาธารณสุขได้มอบหมายให้ สพฉ. สำนักสาธารณสุขฉุกเฉิน (สธฉ.) และกรมควบคุมโรคเป็นแกนหลักในการรณรงค์เรื่องนี้

ทั้งนี้การขับรถพยาบาลเพื่อรับส่งผู้ป่วยฉุกเฉินจะต้องยึดถึงความปลอดภัยเป็นหลัก ซึ่งตามหลักสากลรถพยาบาลฉุกเฉินในต่างประเทศก็มีการจำกัดความเร็วไว้ที่ 80 กม./ชม. เช่นกัน นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยระบุว่า การขับรถด้วยความเร็วเกิน 80 กม./ชม. หากเกิดเหตุฉุกเฉินจะมีเวลาในการแก้ไขสถานการณ์เพียง 4 วินาที ในระยะทาง 100 เมตร แต่หากลดความเร็วลงจะมีเวลาแก้ไขสถานการณ์มากขึ้น และลดความรุนแรงของอุบัติเหตุได้

เลขาธิการ สพฉ. กล่าวสนับสนุนว่า นโยบายดังกล่าวจะไม่กระทบต่อการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน เนื่องจากปัจจุบันมีการขยายหน่วยบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินให้มีความครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่ ทั้งหน่วยบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินจากกระทรวงสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน โดยในปีนี้มีหน่วยบริการเพิ่มขึ้นคิดอีกร้อยละ 19.47 จากปีที่ผ่านมา และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้การเข้าถึงผู้ป่วยใช้เวลาสั้นลง นอกจากนี้บุคลากรที่เข้าช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินที่ผ่านการอบรมตามหลักสูตรมาตรฐานและมีประสบการณ์ สามารถดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“สิ่งสำคัญเพื่อให้การช่วยเหลือผู้ป่วยรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น คือผู้ใช้รถใช้ถนน จะต้องช่วยกันด้วย คือเมื่อเห็นสัญญาณไฟและได้ยินเสียงสัญญาณไซเรนก็ ควรหลีกทางหรือให้ทางรถพยาบาลฉุกเฉินเสมอ โดยให้คิดเสมอว่าคนที่อยู่บนรถพยาบาลอาจเป็นญาติของคุณ ซึ่งหากผู้ใช้รถใช้ถนนร่วมมือกัน เชื่อว่าอุบัติเหตุของรถพยาบาลฉุกเฉินจะลดลง และการช่วยเหลือผู้ปวยฉุกเฉินจะมีความรวดเร็วปลอดภัยมากยิ่งขึ้น” นพ.อนุชากล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO