เปิดตัว เวนเจอร์ แคปปิตอลรายใหม่ “ไอยรา” หนุนอุตสาหกรรมไอทีไทยเข้มแข็ง มุ่งสร้างผู้ประกอบการซอฟต์แวร์รายใหม่ด้วยความเชี่ยวชาญ เครือข่าย และเงินทุน

พฤหัส ๒๓ เมษายน ๒๐๑๕ ๑๗:๒๑
4 นักธุรกิจไฟแรงด้านธุรกิจเทคโนโลยีและการลงทุน ผนึกกำลังเปิดตัว “ไอยรา เวนเจอร์ แคปปิตอล” มุ่งเป้าสนับสนุนกลุ่มสตาร์ทอัพ(Startup) ส่งเสริมไอทีไทยก้าวสู่เวทีโลก หวังเปิดช่องทางความสำเร็จให้กับวงการธุรกิจสตาร์ทอัพของไทย

นายอภิชัย สกุลสุริยะเดช ผู้ร่วมก่อตั้ง ไอยรา เวนเจอร์ แคปปิตอล เปิดเผยว่า บริษัท ไอยรา วีซี จำกัด หรือ “ไอยรา เวนเจอร์ แคปปิตอล” (IYARA Venture Capital) เกิดจากความมุ่งมั่นตั้งใจของผู้ก่อตั้ง 4 ท่านได้แก่ นายอภิชัย สกุลสุริยะเดช นายสมบูรณ์ ศุขีวิริยะ นายวิษณุพงษ์ วงศ์วาสน์ และนายฉัตรชัย โตเลิศมงคล ซึ่งแต่ละท่านมีประสบการณ์การทำงานอยู่ในวงการธุรกิจด้านเทคโนโลยีและการลงทุนมายาวนาน และได้เล็งเห็นถึงการเจริญเติบโตของเทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่จะช่วยสร้างโอกาสให้กับกลุ่มสตาร์ทอัพในการขยายและยกระดับธุรกิจซอฟต์แวร์ของประเทศไทยให้ก้าวไกล โดยในประเทศไทยมีนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ได้ทำงานวิจัยและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง แต่ยังขาดเรื่องของการเข้าถึงแหล่งเงินทุน องค์ความรู้ และประสบการณ์ทั้งในด้านการบริหารจัดการและการทำการตลาดสู่วงกว้าง ซึ่งไอยรา เวนเจอร์ แคปปิตอล จะเข้ามาเติมเต็มช่องว่างให้กับกลุ่มสตาร์ทอัพเหล่านี้ ด้วยจุดแข็งในด้านเครือข่ายและประสบการณ์ด้านธุรกิจในแต่ละอุตสาหกรรม

ทั้งนี้ วัตถุประสงค์การจัดตั้ง “ไอยรา เวนเจอร์ แคปปิตอล” เป็นไปเพื่อสร้างโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของธุรกิจซอฟต์แวร์ไทย การสนับสนุนการลงทุนในธุรกิจซอฟต์แวร์ที่มีศักยภาพ สร้างเสริมผลกำไรสำหรับผู้ประกอบการและนักลงทุน และส่งเสริมและขับเคลื่อนธุรกิจซอฟต์แวร์ในประเทศไทย

“ไอยรา เวนเจอร์ แคปปิตอล มีความตั้งใจเป็นตัวกลางในการนำกลุ่มนักลงทุนและกลุ่มสตาร์ทอัพมาเจอกัน เพื่อให้ผู้ลงทุนได้มีโอกาสลงทุนในธุรกิจที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ มีศักยภาพที่ดีและให้ผลตอบแทนการลงทุนที่คุ้มค่า ในขณะเดียวกันก็ช่วยให้กลุ่มสตาร์ทอัพมีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินลงทุน ซึ่งจะมีผลการสร้างการเติบโตทางธุรกิจของตนและประเทศไทย” นายอภิชัย สกุลสุริยะเดช กล่าว

“จุดเด่นของ ไอยรา เวนเจอร์ แคปปิตอล คือการมีความพร้อมทั้งองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญในการพัฒนาซอฟต์แวร์ การลงทุน และการบริหารจัดการความเสี่ยง จากเครือข่ายของเรา ทำให้เราสามารถเลือกสรรเทคโนโลยีโซลูชั่นที่เหมาะสมในอุตสาหกรรมต่างๆ นั่นหมายถึงสตาร์ทอัพที่เราเข้าไปลงทุน จะสามารถใช้งานได้จริงในธุรกิจและอุตสาหกรรม โดยเราทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาในโครงการที่ลงทุนเพื่อช่วยบ่มเพาะและเสริมสร้างประสิทธิภาพ ความเข้มแข็งและมั่นคงให้กับกลุ่มสตาร์ทอัพ เพื่อให้เกิดผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับทุกฝ่าย ทั้งนี้เราตั้งเป้าการลงทุนในสตาร์ทอัพไว้ที่ 100 รายภายใน 5 ปี”

ไอยรา เวนเจอร์ แคปปิตอล เปิดกว้างในการรับกลุ่มนักลงทุนทั้งนักลงทุนไทยและต่างประเทศ เพื่อมาร่วมบนเส้นทางในการสรรค์สร้างอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของไทยในวันนี้ ขณะเดียวกัน ไอยรา เวนเจอร์ แคปปิตอล จะลงทุนในกลุ่มสตาร์ทอัพ โดยมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคือ 1.กลุ่มสตาร์ทอัพที่อยู่ในระหว่างพัฒนาซอฟต์แวร์เกือบแล้วเสร็จ (75%) 2. กลุ่มสตาร์ทอัพที่พัฒนาซอฟต์แวร์สตาร์ทอัพแล้วเสร็จ (100%) และกำลังเตรียมแผนออกสู่ตลาด และ 3. กลุ่มสตาร์ทอัพที่พัฒนาซอฟต์แวร์ที่ออกสู่ตลาดแล้วแต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ โดยกลุ่มสตาร์ทอัพจะต้องนำเสนอเอกสารโครงการให้ไอยรา เวนเจอร์ แคปปิตอล พิจารณา เพื่ออนุมัติวงเงินสนับสนุน ตั้งแต่ 1 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 3 ล้านบาท โดยคิดเป็นสัดส่วนไม่เกิน 25% ของมูลค่าหุ้นทั้งหมดในแต่ละรายที่ได้รับการสนับสนุน และคาดว่าจะให้ผลตอบแทนการลงทุนที่ 5-10 เท่าของเงินทุนทั้งหมด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ