ตลอด 6 เดือนที่ผ่านมา กระทรวงการคลังในฐานะกระทรวงที่รับผิดชอบการบริหารการเงิน การคลังของประเทศ ได้มีส่วนกำหนดและสนับสนุนนโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญๆ หลายประการ เพื่อช่วยเร่งรัดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และวางรากฐานทางเศรษฐกิจเพื่อความแข็งแกร่งในอนาคตของประเทศ
ในภาพรวมภาวะเศรษฐกิจเริ่มคลี่คลายขึ้น มีสัญญาณของการฟื้นตัวที่ชัดเจน แต่ยังคงเปราะบางอยู่ โดยอัตราการขยายตัวในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา (ครึ่งหลังของปี 2557) มีอัตราการเจริญเติบโตร้อยละ 1.4 ต่อปี (เปรียบเทียบกับครึ่งแรกของปี 2557 ที่หดตัวที่ร้อยละ -0.02 ต่อปี) และการขยายตัวด้านต่างๆ ก็มีแนวโน้มที่ดีขึ้น
อย่างไรก็ดี ในภาวะที่เศรษฐกิจโลกยังคงมีความเปราะบาง ส่งผลให้การส่งออกสินค้าของประเทศไทยยังคงชะลอตัว ดังนั้น นโยบายเศรษฐกิจจึงจำเป็นต้องมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศ ทั้งในส่วนของภาครัฐ และสนับสนุนบทบาทภาคเอกชน
สำหรับในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2558 รัฐบาลมีรายได?นําส?งคลัง 970 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 จากปีก่อน โดยภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากฐานการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งเป็นรายได้สำคัญของรัฐบาลสามารถขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 6.8 ต่อปี สะท้อนการบริโภคภายในประเทศยังคงเติบโตต่อเนื่อง ในขณะที่รัฐบาลสามารถเบิกจ่ายเงินงบประมาณได้จำนวน 1.46 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 จากปีก่อน ทำให้สามารถอัดฉีดเงินงบประมาณสุทธิเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจผ่านการขาดดุลงบประมาณทั้งสิ้น 491.8 พันล้านบาท
ในการนี้ กระทรวงการคลังจึงได้ดำเนินมาตรการสำคัญ ๆ ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ประกอบด้วย มาตรการระยะสั้นที่ช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และมาตรการระยะปานกลางถึงระยะยาวที่ช่วยเพิ่ม ขีดความสามารถในการแข่งขัน ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ลดภาระหนี้และค่าครองชีพของประชาชน สนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ความโปร่งใส และธรรมาภิบาล ดังนี้
(1) มาตรการระยะ 6 เดือนแรกที่ช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เพื่อเร่งพลิกฟื้นเศรษฐกิจของประเทศจากภาวะที่ประสบปัญหาข้อขัดข้องต่างๆ
1.1 เร่งรัดเบิกจ่ายเงินค้างชำระโครงการรับจำนำข้าวเปลือก
1.2 การทบทวนเงินกันไว้เบิกจ่ายเหลื่อมปี
1.3 เร่งรัดการทำสัญญาจ้างรายจ่ายลงทุนปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 และ 2558
1.4 ทบทวนและเร่งรัดเบิกจ่ายงบกลาง (วงเงิน 7,800 ล้านบาท)
1.5 จัดสรรเงินงบไทยเข้มแข็งที่ยังเหลืออยู่ (วงเงิน 15,200 ล้านบาท)
1.6 โครงการจ่ายเงินช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวทุกครัวเรือน (วงเงิน 40,000ล้านบาท)
1.7 โครงการชดเชยรายได้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง (วงเงิน 8,000 ล้านบาท)
1.8 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 ประกอบด้วย โครงการเงินกู้เพื่อการพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (วงเงิน 37,603 ล้านบาท) และระบบขนส่งทางถนนระยะเร่งด่วน (วงเงิน 40,692 ล้านบาท)
1.9 การเพิ่มค่าลดหย่อนทางภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวและจัดอบรมสัมมนาในประเทศ
(2) มาตรการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อวางรากฐานระยะยาว เพื่อให้การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเป็นไปอย่างยั่งยืน
2.1 การปรับปรุงโครงสร้างภาษีศุลกากร กลุ่มวัตถุดิบ/สินค้าทุน
2.2 การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของ SMEs
2.2.1 ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่ SMEs2.2.2 สนับสนุนสินเชื่อให้แก่ SMEs กลุ่มต่างๆ เช่น รายย่อย ผู้ส่งออก อิสลาม เป็นต้น
2.2.3 การจัดตั้งกองทุนร่วมลงทุนในกิจการ SMEs (SMEs Private Equity Trust Fund)
2.2.4 การค้ำประกันสินเชื่อผ่านบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม
2.3 การส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน
2.3.1 การนำเสนอร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. ...
2.3.2 การให้ใบอนุญาตสินเชื่อประเภท Nano-Finance เพื่อสนับสนุนการเข้าถึงแหล่ง เงินทุนของประชาชนรายย่อย และขจัดปัญหาหนี้นอกระบบ
2.4 การแก้ไขปัญหารัฐวิสาหกิจที่ประสบปัญหา เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย และ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เป็นต้น
2.5 การปรับลดภาษีสรรพสามิตเพื่อส่งเสริมกิจการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล
(3) มาตรการลดความเลื่อมล้ำทางสังคม และการลดภาระหนี้และค่าครองชีพของประชาชน เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อน และเสริมสร้างความเสมอภาคทางเศรษฐกิจของประชาชน
3.1 การลดความเลื่อมล้ำทางสังคม3.1.1 การส่งเสริมการออมภาคประชาชนผ่านกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)
3.1.2 การนำเสนอพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
3.1.3 โครงการดำเนินการเพื่อการกลับไปใช้สิทธิในบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติ บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 พ.ศ. 2557
3.1.4 อุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยเพื่อส่งเสริมให้ชาวนาผู้ปลูกข้าวนาปีมีเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงภัยธรรมชาติรวมทั้งภัยศัตรูพืชและโรคระบาด
3.2 การลดภาระหนี้และค่าครองชีพของประชาชน3.2.1 โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรรายย่อยผ่านระบบธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร3.2.2 มาตรการให้ความช่วยเหลือจังหวัดชายแดนภาคใต้
3.2.3 การเบิกจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวของข้าราชการและลูกจ้างประจำของส่วนราชการ
3.2.4 การขยายระยะเวลาดำเนินมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชนด้านการเดินทางออกไปอีก 6 เดือน
(4) มาตรการส่งเสริมประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุนในภูมิภาค เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้สามารถเจริญเติบโตไปพร้อมกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค
4.1 มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการจัดตั้งสำนักงานใหญ่ข้ามประเทศ (IHQ) และมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการจัดตั้งบริษัทการค้าระหว่างประเทศ (ITC)
4.2 การสนับสนุนการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 6 จังหวัด
4.2.1 ลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
4.2.2 สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำและการค้ำประกันสินเชื่อ
4.2.3 จัดหาที่ดินราชพัสดุเพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ4.2.4 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและด่านศุลกากร
4.2.5 การจัดตั้งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านการลงทุน (One Stop Service)
4.3 การปรับปรุงพิธีการศุลกากรให้เป็น National Single Window และ ASEAN Single Window
(5) มาตรการสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อพัฒนาการเชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งทั้งภายในและระหว่างประเทศ สอดคล้องกับการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาค และเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งของประเทศ
5.1 การจัดหาเงินทุนสำหรับโครงการเพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง ของไทย รวมทั้งโครงการเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาค (Regional Connectivity)
5.2 การออกระเบียบและกฎเกณฑ์ภายใต้ พรบ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการ ของรัฐ พ.ศ. 2556 (Public-Private Partnership: PPP)
(6) มาตรการส่งเสริมความโปร่งใสและธรรมาภิบาล และปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีอากร เพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการภาครัฐให้มีความยั่งยืนและเป็นธรรม6.1 การปฏิรูปเงินทุนหมุนเวียน
6.2 แนวทางดำเนินงานโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
6.2.1 โครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
6.2.2 โครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ (CoST)
6.2.3 แนวทางปฏิบัติในการจัดหาพัสดุด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Market) และ ด้วยวิธีการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding)
6.3 การปรับปรุงการลดช่องโหว่ในการจัดเก็บภาษีอากร
6.3.1 การปรับปรุงการจัดเก็บภาษีสำหรับกิจการโรงเรียนเอกชนและโรงเรียนกวดวิชา
6.3.2 การปรับปรุงการจัดเก็บภาษีเงินได้ห้างหุ้นส่วนสามัญและคณะบุคคลที่ไม่ใช่ นิติบุคคล
6.4 การจัดทำพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558
กระทรวงการคลังมีความมั่นใจว่านโยบายและมาตรการเศรษฐกิจต่างๆ จะสามารถช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ลดความเลื่อมล้ำทางสังคมและลดค่าครองชีพของประชาชน และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในระยะยาว ทำให้ประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุนในภูมิภาค ในอนาคตต่อไป