๑) Policyการกำหนดและวางแผนนโยบายอย่างต่อเนื่อง
๒) Protection การคุ้มครองและช่วยเหลือคนขอทานอย่าง ครบวงจร
๓) Prevention การป้องกันปัญหาขอทานเพื่อไม่ให้กลับมาขอทานซ้ำอีก
ทั้งนี้ ได้จัดทำบันทึก ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อความมั่นคงทางอาชีพและรายได้ ได้แก่ กระทรวงแรงงาน กรมการจัดหางาน สำนักการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กระทรวงวัฒนธรรม องค์กรภาคเอกชน และองค์กรด้านศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ได้จัดทำร่าง พ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน พ.ศ. .... เพื่อให้การแก้ไขปัญหาการขอทานเห็นผลเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน
นายอนุสันต์ กล่าวว่า สำหรับร่าง พ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวเมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๘ โดยมีสาระสำคัญดังนี้
๑) ห้าม ไม่ให้ขอทาน และมีการกำหนดโทษผู้กระทำการขอทาน (จำคุก ๑ เดือน ปรับ ๑๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
๒) กำหนดให้การเล่นดนตรีหรือการแสดงความสามารถในที่สาธารณะ ไม่ถือเป็นการขอทาน แต่ต้องแจ้งต่อพนักงานท้องถิ่น หากไม่แจ้งหรือไม่ทำตามหลักเกณฑ์ที่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นกำหนด (ปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท)
๓) ให้มีคณะกรรมการควบคุมการขอทาน โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธาน กรรมการ ๑๐ คน และผู้ทรงคุณวุฒิ ๗ คน
๔) มีบทลงโทษกับผู้ที่มีการบังคับ ขู่เข็ญ ฯลฯ ให้ผู้อื่นมาขอทาน หรือมาเป็นประโยชน์ในการขอทานของตน (จำคุก ๓ ปี ปรับ ๓๐,๐๐๐ บาท)
“อย่างไรก็ตาม ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน พ.ศ. .... จะทำให้การแก้ไขปัญหาขอทานมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยกฎหมายดังกล่าวไม่ประสงค์ที่จะการปราบปรามขอทาน แต่จะเป็นกลไกช่วยเหลือขอทานไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์ ซึ่งขอทานที่กระทำผิดจะถูกนำเข้าสู่กระบวนการฝึกอาชีพที่สามารถเลี้ยงดูตนเองได้เพื่อไม่ให้กลับมาขอทานซ้ำอีก ทั้งนี้ รัฐบาลมีความมุ่งมั่นยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ด้อยโอกาสเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคมอย่างยั่งยืน” นายอนุสันต์ กล่าวท้าย.