Public Cloud กับความท้าทายขององค์กร ในการใช้ประโยชน์สูงสุดจากระบบข้อมูลสาธารณะ

ศุกร์ ๒๔ เมษายน ๒๐๑๕ ๑๕:๓๗
บทความโดย Mr. Pratyush Khare,

Director, Solution Sales, Asia Pacific

บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ พีทีอี ลิมิเต็ด

Public Cloud กับความท้าทายขององค์กรในการใช้ประโยชน์สูงสุดจากระบบข้อมูลสาธารณะ

หลังจากการเปิดตัวระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) ได้นำความหวังใหม่มาสู่วงการไอที โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านประสิทธิภาพและความคุ้มทุน ดังจะเห็นได้จากการที่กลุ่มองค์ขนาดใหญ่นำระบบ Cloud Computing ไปใช้เพิ่มขึ้น และการที่ Gartner ได้ระบุว่าการใช้จ่ายด้าน Public Cloud ในแถบเอเชีย-แปซิฟิกจะสูงถึง 7,500 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2015 นี้ ซึ่งต่างจากสถานการณ์เมื่อ 1-2 ปีก่อน ที่กลุ่มผู้บริหารระดับสูงด้านไอทีในองค์กรขนาดใหญ่ต่างๆ รวมถึงในวงการธนาคารและประกันภัย ต่างได้รับแรงกดดันจากกลุ่มผู้บริหารระดับสูงด้านการเงิน ให้ทำการบรรจุข้อมูลต่างๆไปยังระบบ Public Cloud เพื่อช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้อย่างที่ควรจะเป็น

สิ่งที่ต้องคำนึงถึง เมื่อองค์กรจะเลือกใช้งานระบบ Cloud Computing เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากระบบข้อมูลสาธารณะ มีดังนี้

1. ความท้าทายด้านแอพลิเคชั่น

ปัญหาหนึ่งก็คือการแพร่หลายอย่างรวดเร็วของแอพลิเคชั่นในองค์กร ซึ่งแอพลิเคชั่นดังกล่าวถูกออกแบบมาให้สื่อสารกับระบบจัดเก็บข้อมูลในดาต้า เซ็นเตอร์โดยใช้ CIFS และ NFS protocol แต่ยังไม่สามารถสื่อสารกับข้อมูลที่ถูกเก็บไว้กับผู้ให้บริการด้าน Public Cloud ได้ ซึ่งต้องอาศัยการสื่อสารผ่าน HTTP เท่านั้น ดังนั้นทางออกที่ดีที่สุดคือการเขียนแอพลิเคชั่นขึ้นใหม่ แต่นั่นเป็นทางเลือกสุดท้ายที่ผู้บริหารระดับสูงด้านไอทีจะเลือกทำ เนื่องจากกังวลในเรื่องของความผิดพลาดของระบบ หรือแอพลิเคชั่นทำงานล้มเหลวโดยเฉพาะในแอพลิเคชั่นสำคัญ ซึ่งหากหยุดทำงานย่อมส่งผลให้การทำงานในองค์กรกลายเป็นอัมพาตไปด้วย

ขณะเดียวกันโซลูชั่นล่าสุดและทันสมัยที่สุดด้านการจัดการเนื้อหาบางตัว สามารถแก้ปัญหาในจุดนี้ได้ โดยทำตัวเป็นล่ามสำหรับแพลิเคชั่นต่างๆ ช่วยอำนวยความสะดวกในการแบ่งชั้นข้อมูลในระบบ Public Cloud ให้ทำงานได้อย่างเต็มที่และเป็นไปตามนโยบาย ไม่ว่าจะเป็น Microsoft Azure, Google, Amazon หรือแม้แต่ Hitachi Public Cloud โดยไม่เปลี่ยนแปลงโค๊ดในแอพลิเคชั่นนั้นๆ ทำให้แอพลิเคชั่นต่างๆ สามารถรองรับระบบ Cloud ได้โดยไม่ต้องปรับค่า

2.การคำนวณต้นทุน

แม้ปัญหาด้านแอพลิเคชั่นจะสามารถแก้ไขได้ แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ในบางกรณีทำให้การใช้ Public Cloud มีประสิทธิภาพอย่างยิ่งในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่จะสร้างปัญหาใหม่ขึ้นมาในอนาคต ซึ่งข้อมูลที่กลุ่มผู้บริหารระดับสูงด้านไอทีรู้ แต่กลุ่มผู้บริหารระดับสูงด้านการเงินและสายธุรกิจอาจคาดไม่ถึง คือการเก็บข้อมูลในระบบ Public Cloud อาจดูประหยัด แต่การนำข้อมูลดังกล่าวออกมาใช้ยามจำเป็นจะกลายเป็นเรื่องสิ้นเปลืองอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องการดึงไฟล์ข้อมูลจำนวนมากออกมาเพื่อทำการวิเคราะห์ เป็นต้น

จากการที่ได้พูดคุยกับผู้บริหารระดับสูงด้านการเงินของบริษัทค้าปลีกขนาดใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งปริมาณครึ่งหนึ่งของธุรกิจดังกล่าวอยู่ในช่วงวันหยุดปลายปี (พฤศจิกายน – ธันวาคม) จึงมีการใช้แอพลิเคชั่นบางตัวในการวิเคราะห์ครั้งใหญ่ในช่วงเดือนมกราคมเพื่อจัดทำรายงานด้านการขาย ทำให้ประสบปัญหาอย่างมากในการจัดเก็บข้อมูล และสร้างภาระให้กับการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ ดังนั้น บริษัทค้าปลีกดังกล่าวจึงตัดสินใจย้ายแอพลิเคชั่นดังกล่าวไปไว้บน Public Cloud และในเดือนธันวาคมต่อมาทำให้เกิดค่าใช้จ่ายระหว่าง 90,000 – 95,000 เหรียญสหรัฐ ส่งผลให้ในเดือนมากราคมถัดไปมีการเรียกเก็บเงินสูงถึง 1.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ต้นเหตุหลักของค่าใช้จ่ายมหาศาลดังกล่าวเกิดจากกลุ่มผู้ใช้ในสายงานธุรกิจที่ไม่รู้ว่าข้อมูลต่างๆ ได้ไปอยู่บน Public Cloud แล้วทำให้เกิดการสั่งงานจำนวนมหาศาล และเสียเวลาอย่างมากในการอ่านข้อมูลจำนวนมาก จนทำให้ไปเพิ่มค่าใช้จ่ายในที่สุด

ข่าวดีคือกรณีนี้ไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดขึ้นกับ “โซลูชั่นล่าสุดด้านเนื้อหา” เพราะพวกมันสามารถรักษาข้อมูลต่างๆ ที่ใช้กำกับและอธิบายข้อมูลหลัก ไม่ว่าจะเป็นชื่อไฟล์ ผู้สร้างไฟล์ รวมถึงข้อมูลในการเปลี่ยนแปลงต่างๆ และแม้แต่ข้อมูลที่แสดงว่าไฟล์ ประเภทไหนเหมาะกับผู้ใช้เฉพาะคน ทำให้สามารถเข้าถึงและวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและประหยัด ตัวอย่างเช่น การสอบบัญชีซึ่งต้องใช้ไฟล์จำนวนหลายพันไฟล์จากปีก่อนๆ เพื่อการตรวจสอบย้อนหลัง ด้วยโซลูชั่นล่าสุดด้านเนื้อหาชนิดนี้ช่วยให้การเรียกดูข้อมูลสามารถทำได้ทันทีใน ช่วยให้ทำงานได้เร็วกว่า และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเรียกดูข้อมูลจากระบบ Public Cloud อีกด้วย

3. การบีบอัดปัญหา

แม้จะสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายจากการเรียกดูข้อมูลได้ แต่ผู้ให้บริการยังคิดค่าบริการตามจำนวน petabyte ซึ่งจะทำให้ตัวเลขเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจได้ในยุค Big Data เช่นปัจจุบัน ค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บข้อมูลสามารถสร้างความเจ็บปวดให้เป็น 2 เท่าเมื่อผู้ให้บริการระบบ Cloud ทำการบีบอัดข้อมูลที่ได้รับแล้วแต่ยังคิดค่าบริการลูกค้าตามจำนวนข้อมูลจริง เรื่องดังกล่าวจะไม่เป็นปัญหาสำหรับโซลูชั่นล้ำสมัยด้านเนื้อหาชนิดนี้ ที่สามารถบีบอัดข้อมูลจากต้นทางก่อนนำไปเก็บไว้ในระบบ Public Cloud ในกรณีนี้ทำให้ผู้ใช้งานจ่ายเงินตามจำนวนข้อมูลที่ใช้ในพื้นที่ของผู้ให้บริการโดยได้ต้องจ่ายเป็น 2 เท่า

4. ความปลอดภัยที่มั่นใจได้

ความปลอดภัยมักเป็นเรื่องที่สร้างความกังวลใช้งานระบบคลาวด์ลำดับต้นๆ คือยังมีคำถามอยู่ว่า กุญแจในการเข้ารหัสข้อมูลมีความเพียงใด เคยถูกเจาะข้อมูลมาก่อนหรือไม่ หรือมีการส่งข้อมูลให้องค์กรรักษาความปลอดภัยระดับชาติแล้วหรือยัง ซึ่งปัญหานี้เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ แต่มีทางออกที่ไม่ยาก เพียงแค่ใส่รหัสให้ข้อมูลก่อนที่จะออกจากดาต้าเซ็นเตอร์เท่านั้น โดยโซลูชั่นล่าสุดและทันสมัยที่สุดด้านการจัดการเนื้อหา เปิดโอกาสให้องค์กรสามารถทำเช่นนั้นได้ เพื่อช่วยให้มั่นใจได้ถึงความปลอดภัยของข้อมูลก่อนถึงเซิฟเวอร์ของผู้ให้บริการระบบคลาวด์ และยังสามารถเข้ารหัสข้อมูลซ้ำได้ เมื่อข้อมูลเดินทางไปถึง ทำให้ปลอดภัยจากกการถูกเจาะและการปฏิบัติโดยไม่ชอบต่างๆ หรือจากใครก็ตามที่ต้องการลอบดูข้อมูล

5. อิสระในการเลือก

แม้การย้ายไปยังระบบ Public Cloud ถือเป็นการตัดสินใจครั้งใหญ่ แต่จะเกิดอะไรขึ้นถ้าคุณมีเหตุผลที่ต้องการเปลี่ยนผู้ให้บริการ คำตอบคือ ความกังวลในเรื่องการขาดซึ่งมาตรฐานที่ชัดเจนสำหรับการฟอร์แมตข้อมูล และ API ซึ่ง จะสร้างปัญหาในการเปลี่ยนผู้ให้บริการ ทำให้องค์กรรู้สึกว่าไม่มีทางเลือก แต่ที่จริงแล้ว นี่อาจจะเป็นเหตุผลเดียวที่สำคัญที่สุดในการใช้โซลูชั่นด้านการจัดการเนื้อหา บนพื้นฐานของมาตรฐานระบบเปิดที่ทันสมัยที่สุด เพราะจะมีระบบการเข้าถึงข้อมูลแบบ multiprotocol ในตัวช่วยขจัดปัญหาด้านการรวม API จากการตั้งค่า outset จึงไร้ข้อกังวลในการรู้สึกว่าไม่มีทางเลือก

“และแน่นอนว่า หนทางในการใช้งานระบบคลาวด์จะยังอีกยาวไกล และองค์กรขนาดใหญ่จะพบกับความท้าทายใหม่อยู่เสมอ แต่โซลูชั่นล่าสุดและทันสมัยที่สุดด้านการจัดการเนื้อหาอย่าง Hitachi Data Systems HCP จะเปิดโอกาสให้ผู้บริหารระดับสูงด้านไอทีสามารถสร้างความหวังใหม่ให้กับมุมมองเดิมๆ และสามารถใช้ประโยชน์จาก Public Cloud ได้เต็มที่”

เกี่ยวกับบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์

บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ หรือ เอชดีเอส ผู้นำด้านเทคโนโลยีและโซลูชั่นบริหารจัดการข้อมูล ที่ช่วยปรับปรุงต้นทุนด้านไอทีและเพิ่มความคล่องตัว รวมทั้งนวัตกรรมจากข้อมูลสารสนเทศที่สร้างความแตกต่างให้กับโลก โดยมอบผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ที่คุ้มค่าให้แก่ลูกค้า ด้วยอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) ที่โดดเด่น และแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ที่ธุรกิจจะได้รับอย่างชัดเจน บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ดำเนินธุรกิจในกว่า 100 ประเทศและในหลากหลายภูมิภาค ด้วยพนักงานกว่า 6,300 คนทั่วโลก ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ บริการ และโซลูชั่นของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ได้รับความไว้วางใจจากองค์กรชั้นนำทั่วโลก ซึ่งรวมถึงองค์กรกว่า 70% ของทำเนียบฟอร์จูน 100 และกว่า 80% ของทำเนียบฟอร์จูน โกลบอล100 ด้วย สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ http://www.hds.com

เกี่ยวกับบริษัท ฮิตาชิ จำกัด

บริษัท ฮิตาชิ จำกัด (ชื่อในตลาดหุ้นโตเกียว: 6501) มีสำนักงานใหญ่ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เป็นบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำระดับโลก ด้วยจำนวนพนักงานทั่วโลกประมาณ 326,000 ราย โดยในปีงบประมาณ 2555 (จนถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2556) บริษัทฯ มียอดขายรวม 9,041 พันล้านเยน (96.1 พันล้านดอลลาร์) ทั้งนี้ บริษัทฮิตาชิให้ความสำคัญกับธุรกิจที่เน้นด้านนวัตกรรมเพื่อสังคมมากกว่าเดิม ซึ่งรวมถึงระบบโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสารสนเทศและโทรคมนาคม ระบบไฟฟ้า ระบบเครื่องจักรก่อสร้าง วัสดุและอุปกรณ์ที่ครอบคลุมการทำงานระดับสูง ระบบยานยนต์และอื่นๆ สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทฮิตาชิ สามารถเยี่ยมชมได้ที่เว็บไซต์ http://www.hitachi.com

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ