ม.กรุงเทพ ปักธงมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์ ชูความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมการศึกษา ต่อยอดโครงการ BU STARTUP PROJECT ห้องเรียนแห่งศตวรรษที่ 21

ศุกร์ ๒๔ เมษายน ๒๐๑๕ ๑๖:๓๑
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ สานต่อโครงการ “BU Startup Project ” ก้าวเข้าสู่ปีที่ 3 กับห้องเรียนสร้างสรรค์ภายใต้แนวคิด “Creative Convergence Education" การเรียนการสอนอย่างสร้างสรรค์ 360° ที่อาศัยการเชื่อมต่อและความร่วมมือระหว่างคณะวิชาและองค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น ศิษย์เก่า พันธมิตรทางธุรกิจ และชุมชน ซึ่งมีทักษะและองค์ความรู้ที่หลากหลาย ร่วมออกแบบกระบวนการการเรียนการสอนที่พลิกวิธีคิดแบบใหม่ ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ ต่อยอดแนวคิดที่แตกต่าง สร้างเนื้อหาเชิงสหวิทยาการที่มีประโยชน์และคุณค่า ผ่านเทคโนโลยีที่ใช้ในชีวิตประจำวัน จนนำไปสู่การค้นพบนวัตกรรมใหม่ๆ ที่สร้างประโยชน์ต่อตนเอง สังคม และ ประเทศชาติ ได้อย่างแท้จริงสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียนและสังคมในบริบทที่หลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดร.พีรยา หาญพงศ์พันธุ์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ประธานที่ปรึกษาโครงการ กล่าวว่า “การเรียนการสอนแบบ Creative Convergence ถือได้ว่าเป็นการพัฒนาศักยภาพของบัณฑิตที่สอดคล้องและตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการและองค์กรต่างๆ ที่ต้องการสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนและสังคมได้อย่างชัดเจน โดยเน้นการสร้างบัณฑิตที่มี Multitasking Skills คือ เก่งเชิงลึกในศาสตร์ที่ตัวเองได้ร่ำเรียนมา ทั้งยังมีความรอบรู้เชิงกว้าง จากการได้สัมผัสประสบการณ์ต่างศาสตร์ที่หลากหลาย จนสามารถนำความรู้จากศาสตร์อื่นๆ มาประยุกต์ใช้ในการนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

BU STARTUP PROJECT ใน 2 ฤดูกาลที่ผ่านมา ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรที่เกี่ยวข้องมาร่วมออกแบบการเรียนการสอนที่ตอบโจทย์โครงการฯ ได้อย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และ บริษัท แม็ทชิ่ง แม็กซิไมซ์ โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) สำหรับ ฤดูกาลที่ 3 นี้ เป้าหมายสำคัญ คือ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชนท้องถิ่นด้านธุรกิจการท่องเที่ยว การตลาด การสื่อสารประชาสัมพันธ์ และการสร้างแบรนด์ โดยนำวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาผสมผสานกับเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาสู่ความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม ให้กับชุมชนบ้านเกาะเกิด อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา

สำหรับโครงการ “BU Startup Project” ในปีนี้ มีคณะวิชาที่ร่วมโครงการทั้งสิ้น 9 คณะวิชา ได้แก่ คณะนิเทศศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และการจัดการการท่องเที่ยว คณะนิติศาสตร์ และคณะบัญชี เพื่อให้ทุกคณะวิชาได้ร่วมกันพัฒนาเนื้อหาองค์ความรู้และนวัตกรรม เพื่อสังคมที่มีมิติมากขึ้น ผ่านกระบวนการเรียนการสอนแบบ Project-based Learning ให้นักศึกษาได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านการฝึกปฏิบัติกับโครงการจริง เริ่มตั้งแต่การลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลต่างที่เกี่ยวข้อง นำมาพัฒนาแผนธุรกิจ แผนประชาสัมพันธ์ การออกแบบเว็บไซด์โครงการ รวมไปถึงการผลิตสร้างแอพพลิเคชั่น ซึ่งทั้งหมดล้วนมาจากกระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษาข้ามศาสตร์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ร่วมกัน

“การพัฒนาคนคุณภาพให้มีศักยภาพตรงตามความต้องการของโลกที่เปลี่ยนไปสู่ยุคดิจิทัล สิ่งที่จำเป็นที่สุด คือ ต้องเริ่มต้นจากการเปลี่ยนมุมมอง ทัศนคติ และความเชื่อแบบเดิมๆ ทั้งของผู้สอนและผู้เรียน ให้เป็นมากกว่าแค่ผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพ แต่ต้องสามารถเป็นผู้ที่ตื่นรู้ มีความเฉลียวฉลาด และมีภูมิคุ้มกันที่ดีเพื่อพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในสังคมยุคดิจิทัล อีกทั้งยังเป็นผู้ที่มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เข้าใจเชิงลึกในศาสตร์ของตนอย่างถ่องแท้ และพร้อมพัฒนาทักษะทางความคิดในเชิงกว้างด้วยการเปิดรับและเรียนรู้ข้อมูลเนื้อหาที่เต็มไปด้วยความแตกต่างและหลากหลาย อีกทั้งยังต้องสามารถสร้างสมดุลให้กับการทำงานร่วมกันกับศาสตร์แขนงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดี ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่รูปแบบการเรียนการสอนในปัจจุบันต้องมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับยุคสมัยที่จะสามารถสร้างคนคุณภาพตามที่โลกปัจจุบันต้องการ ดังนั้น รูปแบบการเรียนการสอนแบบเดิมๆ จึงอาจจะไม่สามารถตอบโจทย์ได้ดีมากพอในโลกปัจจุบัน” อาจารย์กิตติศักดิ์ อภิเนตรสุรทัณฑ์ ผู้จัดการโครงการ BU STARTUP PROJECT กล่าว

โครงการ BU STARTUP PROJECT ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่แสดงถึงความตั้งใจพัฒนาการเรียนการสอนนักศึกษาให้มีความคิดสร้างสรรค์ หลุดออกจากกรอบความคิดเดิมๆ ที่ยึดติดอยู่กับความรู้เฉพาะตนเองเช่นในอดีตที่ผ่านมา แต่เปิดโอกาสให้นักศึกษาที่มาจากต่างคณะวิชา ต่างพื้นฐาน ต่างองค์ความรู้ ได้เรียนรู้ร่วมกัน ทำลายกรอบความคิดตัวเอง พร้อมเปิดรับความคิดต่างอย่างสร้างสรรค์จากเพื่อนนักศึกษาต่างคณะ อย่างที่ไม่เคยมีที่ไหนทำมาก่อน เพื่อตอกย้ำวิสัยทัศน์ และความมุ่งมั่นตั้งใจของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ในการเป็นมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์ และก้าวไปสู่สังคมแห่งความคิดสร้างสรรค์อย่างแท้จริง

จากการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ข้ามศาสตร์ ผ่านการลงมือปฏิบัติจริงตลอด 15 สัปดาห์ นักศึกษาในโครงการ มานำผลงานที่ร่วมกันสร้างสรรค์มานำเสนอต่อ ในงาน “BU STARTUP PROJECT SEASON 3 : FINAL PROJECT PRESENTATION” ณ ห้อง Screening Room ชั้น 1 อาคาร Center of Cinematic and Digital Artมหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต โดยได้รับเกียรติจาก คุณสัณหจุฑา จิราธิวัฒน์ ประธานมูลนิธิรักษ์ดินรักษ์น้ำEarth Safe คุณอรสา โตสว่าง Market Intelligence Director บริษัท ไทย เบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) คุณปิยะรัตน์ เทศดนตรี หัวหน้าสายงานประชาสัมพันธ์ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7, คุณยุพเรศ จันทนชูกลิ่น ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายภาพ โรงแรมมิลเลนเนี่ยม ฮิลตัน, ดร.ศศิธร ศรีสวัสดิ์ นักวิจัยศูนย์เทคโนโลยีและวัสดุแห่งชาติ,คุณสุชิน อุ้มญาติ ตัวแทนชุมชนบ้านเกาะเกิด, คุณทัศนัย โคตรทอง จากไทยรัฐทีวี และ อาจารย์สุธีรพันธุ์ สักรวัตร ที่ปรึกษาด้านการตลาดระดับแนวหน้าของเมืองไทย ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินผลงานในครั้งนี้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๐๐ วว. จับมือจังหวัดสระบุรี/อบต.ตาลเดี่ยว ขับเคลื่อนลดก๊าซเรือนกระจก นำ วทน. พัฒนาศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีจัดการขยะชุมชน
๑๑:๐๐ วว.จับมือคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่งเสริมวิจัยนวัตกรรม พัฒนาบัณฑิตสมรรถนะสูง ด้วยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
๑๑:๓๗ เปลี่ยนธุรกิจคุณให้โตคูณร้อย กับหลักสูตร CMF เปิดรับสมัครรุ่นที่ 21 แล้ววันนี้ !!
๑๑:๒๖ GFC เสิร์ฟข่าวดีรับศักราชใหม่ปี 68 ดีเดย์ให้บริการคลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก GFC Ubon เต็มสูบ
๑๑:๐๐ โรงพยาบาลลานนา จัดอบรม ชาวลานนาร่วมใจ ต้านโรคภัยจากภาวะอ้วนลงพุง
๑๑:๑๕ ค้นหา รักแท้ ในมุมมองใหม่กับศูนย์ฯ สิริกิติ์ ในกิจกรรม ธรรมะในสวน ณ สวนเบญจกิติ 1 กุมภาพันธ์ 2568 นี้
๑๑:๑๐ เชฟรอน (ไทย) รุกเจาะตลาดน้ำมันเครื่อง เพื่ออุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
๑๑:๐๗ RML เปิดศักราชปี'68 มาแรง! หุ้นกู้มีหลักประกันขายหมดเกลี้ยง 100%
๑๑:๐๐ สมาคมดินโลก ร่วมกับ 4 หน่วยงาน ลงนามความร่วมมือเสริมสร้างการจัดการดินเพื่อเกษตรยั่งยืน
๑๐:๐๐ ศูนย์การค้าเครือเอ็ม บี เค ฉลองเทศกาลตรุษจีนสุดยิ่งใหญ่ CHINESE NEW YEAR 2025