TACGA จัดอบรมต้นแบบการ์ตูน Licensing ครั้งที่ 2

ศุกร์ ๒๔ เมษายน ๒๐๑๕ ๑๗:๐๔
หวังปั้นนักพัฒนา Character ไทยรุ่นใหม่ผงาดตลาดโลก

นายนิธิพัฒน์ สมสมาน นายกสมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชั่น และคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ไทย หรือ TACGA เปิดเผยว่า การสร้างการ์ตูนแอนิเมชั่น สำหรับฉายในโรงภาพยนตร์ หรือทางโทรทัศน์ สิ่งสำคัญที่สุดคือ รูปแบบของตัวการ์ตูน หรือที่เรียกว่า Character ซึ่งต้องมีรูปแบบที่น่าสนใจ และจดจำง่าย ซึ่งจะช่วยให้ภาพยนตร์เรื่องนั้นน่าติดตาม และเมื่อผู้ชมเกิดความประทับใจ ยังส่งผลในด้านการตลาดในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวสินค้า ผู้บริโภค เกิดความอยากได้สินค้าที่มีตัวการ์ตูน หรือ Character นั้นๆ เป็นองค์ประกอบตามมา สมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชั่น และคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ไทย หรือ TACGA จึงเห็นว่า การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทย รวมทั้งนิสิตนักศึกษาได้เรียนรู้การออกแบบตัวการ์ตูนเพื่อนำไปใช้ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Animation เกม หรือ Merchandising เป็นเรื่องสำคัญ จึงได้จัด “โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อสร้างต้นแบบตัวการ์ตูนสำหรับ Licensing ครั้งที่ 2” ขึ้น

สำหรับโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อสร้างต้นแบบตัวการ์ตูนสำหรับ Licensing ครั้งที่ 2 นั้น นอกจากจะมีการสัมมนาเพื่อให้ความรู้แล้ว ยังมีการจัด Clinic ให้คำแนะนำด้วย โดยภายหลังให้คำแนะนำแล้ว ผู้เข้าร่วมสัมมนาจะมีการพัฒนาคาแรคเตอร์ และนำเสนอผลงานเพื่อคัดเลือกให้ได้รับทุนสนับสนุนจำนวน 3 ทุน โดยในครั้งนี้ มีผู้สนใจส่งทีมเข้าร่วมทั้งหมด 50 ทีม โดยทีมที่ผ่านการคัดเลือกทั้ง 3 ทีม จะมีโอกาสส่งผลงานต้นแบบไปออกบูธในงาน Hongkong Licensing ในปีหน้า

“บรรดาตัวการ์ตูน หรือ Character นั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องอยู่ในภาพยนตร์เสมอไป บางครั้งตัวการ์ตูนเหล่านั้นอาจออกแบบมาเพื่อใช้ในเกม หรือแม้แต่การเป็นองค์ประกอบของสินค้าหรือ Merchandising ทำอย่างไรตัวการ์ตูนเหล่านั้นจะเป็นที่จดจำเมื่อได้เห็น และการสร้างรูปแบบตัวการ์ตูนในตลาดที่แตกต่างกันออกไป แบบไหนจึงจะเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น เอเชีย อเมริกา หรือยุโรป ดังนั้นผู้ประกอบการจึงต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ในการออกแบบและผลิต ที่สำคัญยังเป็นการสร้างทรัพย์สินทางปัญญาใหม่ๆ ในประเทศไทยด้วย” นายนิธิพัฒน์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม การพัฒนาผู้ประกอบการให้ตื่นตัวในเรื่อง Character และ Licensing แม้จะยังเป็นเรื่องใหม่ และอยู่ในวงจำกัดของประเทศ แต่อาชีพการออกแบบสร้างสรรค์ตัวการ์ตูน นี้ ยังส่งเสริมให้เกิดทรัพย์สินทางปัญญา (IP:Intellectual Property) ใหม่ๆ ขึ้นในประเทศไทยด้วย ที่สำคัญผู้ประกอบการยังได้เรียนรู้และเข้าใจการออกแบบตัวการ์ตูนสำหรับใช้ในรูปแบบต่างๆ ขณะเดียวกัน ก็สามารถนำ Character ที่ออกแบบขึ้นไปใช้ในการสร้างลิขสิทธิ์อย่างถูกต้องด้วย นอกจากนี้ ยังเป็นการต่อยอดให้มีการนำไปผลิตจริง ซึ่งการสร้างรูปแบบตัวการ์ตูนนี้มีความเป็นสามรถ หรือมีความเป็นไทยแบบสากล ซึ่งสามารถเข้าสู่ตลาดต่างประเทศได้ไม่ยาก โดยเหตุผลทั้งหมดนี้ จะนำมาซึ่งการสร้างมูลค่าเพิ่มจากตัวการ์ตูนที่ออกแบบและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย เป็นการสร้างรากฐานให้แก่เยาวชนและผู้สนใจใช้ในการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๑ OR จับมือภาครัฐและผู้ประกอบการชุมชน เพิ่มประสิทธิภาพการตลาดผลิตภัณฑ์ OTOP ผ่านโครงการ 'ไทยเด็ด' มุ่งเสริมแกร่งเศรษฐกิจชุมชนไทยอย่างยั่งยืน
๑๖:๒๒ เทลสกอร์ จับมือพันธมิตร ขับเคลื่อนโครงการ 'Help You, Help Me' สู่ปีที่ 6 ผสานพลังคอนเทนต์ครีเอเตอร์ สนับสนุนโครงการเพื่อสังคม
๑๖:๐๐ เซ็นทารา แกรนด์ ลาดพร้าว สนับสนุนภารกิจกู้ภัย มอบอาหารและเครื่องดื่มให้เจ้าหน้าที่และบุคลากรทางการแพทย์
๑๖:๐๐ ร้อนๆแบบนี้ มาหมุนให้ฉ่ำ!!สนุกสุดมันส์ไปกับเครื่องเล่น Water Roller ลูกบอลน้ำมหาสนุก
๑๖:๕๒ ซัมเมอร์นี้ชวนเช็กอินสมุย แลนด์มาร์คแห่งใหม่ของชาวเวลเนส ที่ BDMS Wellness Clinic สาขา Celes Samui
๑๖:๑๑ โซเชียลจับตา ตึกถล่ม-อาฟเตอร์ช็อก ประเด็นร้อนหลังแผ่นดินไหว
๑๕:๐๐ กรมทรัพยากรน้ำ ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยแม่เหียะน้อย พร้อมระบบส่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เชียงใหม่
๑๕:๐๐ GoWabi แพลตฟอร์มจองบริการบิวตี้ครบวงจรอันดับ 1 ในไทยเปิดตัวบริการ GoWabi POS พร้อมประกาศรางวัล GoWabi Top Rated
๑๕:๐๓ ทีทีบี เชิญชวนเที่ยว พิพิธภัณฑ์ครุฑ สืบสานพลังศรัทธา สรงน้ำ สมเด็จมหาราชทรงครุฑ เสริมพลังบุญรับปีใหม่ไทย
๑๕:๕๑ บัตรเครดิต ทีทีบี มอบโปรฯ ฟรีอัปเกรด! HUT บุฟเฟต์ อิ่มไม่อั้น จ่ายเพียง 399 บาท