“แอดวานซ์ เพาเวอร์” จับมือ ซีทีซีไอ (ประเทศไทย) ลุยประมูล-สร้างโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงจากขยะ-ชีวมวล

พฤหัส ๐๗ พฤษภาคม ๒๐๑๕ ๑๑:๒๒
บจ. แอดวานซ์ เพาเวอร์ คอนเวอร์ชั่น (APCON) ร่วมลงนามในกิจการร่วมค้า (JV) กับ บริษัท ซีทีซีไอ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อรับงานการก่อสร้างและบริหารโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงจากขยะ และโรงไฟฟ้าชีวมวลทั่วประเทศ ด้าน “สุธีร์ ฉุยฉาย กรรมการผู้จัดการ” เผยมีงานรอประมูลก่อสร้างและบริหารโรงไฟฟ้าชีวะมวลประมาณ 4-5 แห่ง ขนาดกำลังผลิตไฟฟ้า 9.9-10 เมกะวัตต์ต่อโครงการ ลุ้นจ่อคว้างานแรกของ “ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง” มูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านบาท คาดรู้ผล พ.ค.นี้

นายสุธีร์ ฉุยฉาย กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอดวานซ์ เพาเวอร์ คอนเวอร์ชั่น จำกัด(APCON) ผู้มีประสบการณ์และเป็นผู้ชำนาญด้านพลังงานไฟฟ้าและกระบวนการผลิตไฟฟ้า รวมทั้งมีเทคโนโลยีทางด้าน ระบบควบคุมและระบบสื่อสาร ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตไฟฟ้าทุกรูปแบบ เปิดเผยว่า ตามที่ทางรัฐบาลได้มีนโยบายให้เรื่องของการกำจัดขยะเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งปัจจุบันทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้ตื่นตัวและสนใจกับการบริหารจัดการขยะมากขึ้น โดยเฉพาะการก่อสร้างโรงผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะ

ทั้งนี้ บริษัทฯได้เล็งถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้ตกลงร่วมดำเนินการลงนามในกิจการร่วมค้า (JV) กับทางบริษัท ซีทีซีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (CTCI) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ ซีทีซีไอ กรุ๊ป (CTCI GROUP) บริษัทก่อสร้างยักษ์ใหญ่ผู้ซึ่งมีความสามารถและประสบการณ์มากมายกับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าและโรงกลั่นน้ำมันของประเทศไต้หวัน เพื่อเข้าร่วมประมูลงานก่อสร้างโรงผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะ

การลงนามในครั้งนี้ทาง APCON จะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่ 60 % และทาง CTCI จะถือหุ้น 40 % ซึ่งกิจการร่วมค้า (JV) ดังกล่าวจะเริ่มงานได้ทันที โดยจะเริ่มจากการเข้าประมูลรับงานโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงจาก RDF ขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้า 9.98 เมกะวัตต์มูลค่า 9,000-10,000ล้านบาท ที่บริษัทฯได้เสนอให้กับทางบริษัท อีสเทริน์ เอเนอร์จี้ พลัส จำกัด (EEP) ที่ร่วมกับบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด(มหาชน) หรือ RATCH ก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะที่จังหวัดสมุทรปราการเป็นแห่งแรก ซึ่งบริษัทมีความมั่นใจมากว่าจะชนะการประมูลในครั้งนี้ และคาดว่าจะทราบผลการประมูลประมาณเดือนพฤษภาคมนี้ โดยจะมีรูปแบบทั้งการรับงานก่อสร้างและบริหารโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงจากขยะ(RDF)

นอกจากนี้คาดว่าในปี 2558 บริษัทกิจการร่วมค้า (JV) ดังกล่าวจะเข้าประมูลงานงานก่อสร้างและบริหารโรงไฟฟ้าชีวะมวลประมาณ 4-5 แห่ง กำลังการผลิตไฟฟ้า 9.9-10 เมกะวัตต์ต่อโครงการ โดยมีมูลค่าการประมูลเฉลี่ย 1,000 - 1,200 ล้านบาทต่อโครงการ และคาดว่าจะทราบผลภายในปี 2558 ประมาณ 2-3 โครงการ ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นการประมูลงานของ RATCH มูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านบาท เนื่องจากเป็นโครงการขนาดใหญ่ มูลค่าการประมูลจึงเยอะกว่าโครงการอื่นๆ โดยคาดว่าจะทราบผลในเดือนพ.ค.นี้ ส่วนมูลค่าการก่อสร้างโรงไฟฟ้าอยู่ที่ประมาณ 700-800 ล้านบาทต่อโครงการ หรืออาจมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับขนาดและเทคโนโลยีในการก่อสร้างตามความเหมาะสม

กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอดวานซ์ เพาเวอร์ คอนเวอร์ชั่น จำกัด (APCON) กล่าวเพิ่มว่า นอกจากการรับงานโรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะทั้งจากเอกชน และภาครัฐแล้ว บริษัทยังมีความพร้อมที่จะเข้าประมูลงานจากโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น โรงงานน้ำตาล ซึ่งมีกากอ้อยที่สามารถนำมาเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าชีวมวล (Biomass) มันสำปะหลัง หรือกากปาล์มเป็นต้น

สำหรับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะนั้นสามารถดำเนินการได้ทั่วประเทศ เพราะปัจจุบันประเทศไทยมีปัญหาเรื่องการกำจัดขยะ หากบริษัทสามารถนำขยะมาผลิตกระแสไฟฟ้าก็จะช่วยลดปัญหาขยะล้นเมืองไปได้เยอะมาก และปัจจุบันมีผู้สนใจที่จะดำเนินการโครงการโรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะเป็นจำนวนมากจึงเป็นโอกาสที่การเข้ามูลงานในอนาคตอีกจำนวนมาก

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ