ทั้งนี้ โฆษกกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ย้ำว่า ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้ให้นโยบายในการพิสูจน์?เรื่องลักษณะ?นี้ว่า? ให้ยึดหลักการไต่สวนทางวิทยาศาสตร์?เป็นสำคัญ? โดยพิจาร?ณาทั้งเรื่องของปฎิกิริยา?เคมีในการทำให้เกิดการลุกไหม้อย่างฉับพลัน? หรือ? Spontaneous? Combustion ??ที่อาจเป็นไปได้ และการกระทำของมนุษย์ ส่วนเรื่องการประสานงานกับ คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยทักษิณ ซึ่งเป็นเครือข่ายของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ พร้อมด้วยทีมวิจัย และปราชญ์ชาวบ้าน ได้ลงพื้นที่ตรวจหาสาเหตุนั้น ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง คือการติดตั้งวงจรปิดและ เครื่องตรวจจับก๊าซ 3 ชนิดที่ต้องสงสัยว่าเป็นสื่อติดไฟคือ มีเทน ไฮโดรเจน และก๊าซไข่เน่า โดยใช้เครื่องวัดแบบ Real time เป็นเวลา 24 ชั่วโมง เพื่อนำไปวิเคราะห์อย่างละเอียด ส่วนผลจะเป็นอย่างไรนั้นต้องรอในพื้นที่สรุปข้อมูลในเชิงวิทยาศาสตร์กลับมาก่อน
- พ.ย. ๕๘๙๙ วว. จัดงาน TISTR and Friends 2017 ต่อยอด SMEs ไทยสู่ตลาดโลก
- พ.ย. ๒๕๖๗ ภาพข่าว: วว.ร่วมพิธีถวายพระพร "12 สิงหา มหาราชินี"
- พ.ย. ๒๕๖๗ สทน. แถลงผลงานครบรอบ 11 ปี นำเทคโนโลยีนิวเคลียร์เพิ่มศักยภาพ