สศอ. เผย MPI เดือนมีนาคมหดตัว 1.8% ผลพวงจากอุตสาหกรรมส่งออก

ศุกร์ ๐๘ พฤษภาคม ๒๐๑๕ ๑๕:๓๐
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) มีนาคม 2558 หดตัวลงร้อยละ 1.8 จากกลุ่มอุตสาหกรรมส่งออกเป็นหลัก อาทิ HDD โทรทัศน์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจโลกที่ยังฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดและปัจจัยด้านผู้ผลิตที่มีจากการหยุดซ่อมเครื่องจักรของผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ อย่างไรก็ดี การผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 1 ปี 2558 ยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1

นายสมศักดิ์ จันทรรวงทอง รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือนมีนาคม 2558 หดตัวลงร้อยละ 1.8 โดยเป็นผลจากกลุ่มอุตสาหกรรมส่งออกเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์(HDD) โทรทัศน์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งเป็นผลจากปัญหาเศรษฐกิจโลกที่ยังฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด และปัจจัยด้านผู้ผลิตที่มาจากการหยุดซ่อมเครื่องจักรของผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ

เมื่อพิจารณาการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมไม่รวมทองคำแท่งในเดือนมีนาคม 2558 หดตัวลงร้อยละ 2.5 จากมูลค่าส่งออกสินค้าที่มีราคาเกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมันดิบ เช่น เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก ปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมัน รวมถึงการส่งออกสิ่งทอ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ที่หดตัวลงทำให้ในไตรมาส 1 ปี 2558 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมไม่รวมทองคำ หดตัวร้อยละ 1.4 ในส่วนของการนำเข้าสินค้าทุน พบว่าหดตัวร้อยละ 9.1 และการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบ(ไม่รวมทองคำ) หดตัวร้อยละ 1.0

สำหรับภาวะอุตสาหกรรมรายสาขาที่สำคัญ ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ ในเดือนมีนาคม 2558 ผลิตรถยนต์ได้จำนวน 178,217 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.72 การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ มีจำนวน 74,117 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 11.75 และ การส่งออกรถยนต์ มีจำนวน 127,619 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 12.63 อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ภาวะการผลิตในเดือน มีนาคม 2558 ปรับตัวลดลงร้อยละ 9.56 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมาจากผลกระทบของ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ที่ปรับตัวลดลงร้อยละ 9.5 สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (HDD) ปรับตัวลดลงร้อยละ 13.01 เนื่องจากผู้ผลิตบางรายหยุดซ่อมเครื่องจักรบางส่วนในสายการผลิต ประกอบกับความต้องการคอมพิวเตอร์และ โน้ตบุกในตลาดโลกลดลง สำหรับ Monolithic IC และ Semiconductor เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.62 และ 2.50 เนื่องจากความต้องการใช้ในอุปกรณ์สื่อสารที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

อุตสาหกรรมไฟฟ้า ปรับตัวลดลงเช่นกันร้อยละ 9.77 โดยพบว่ากลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง เช่น คอมเพรสเซอร์ ตู้เย็น กระติกน้ำร้อน หม้อหุงข้าว และเครื่องรับโทรทัศน์ ลดลงร้อยละ 11.59 2.81 10.82 23.45 และ 56.44 ตามลำดับ แต่การผลิตเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน เพิ่มขึ้นทั้งในส่วนของชุดทำความเย็น (Condensing Unit) ชุดพัดลมเครื่องปรับอากาศ (Fan coil Unit) และพัดลม เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.37, 4.02 และ 19.64 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนตามลำดับ

ขณะที่อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้านั้น การบริโภคเหล็กของไทยเดือนมีนาคมปี 2558 มีปริมาณ 1.32 ล้านตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.32 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การผลิตมีปริมาณ 0.44 ล้านตัน ลดลง ร้อยละ 8.33 โดยในส่วนของเหล็กแผ่นแบนโดยเฉพาะเหล็กแผ่นรีดร้อน มีการผลิตลดลง ร้อยละ 22.14 เนื่องจากมีผู้ผลิตรายใหญ่ 1 ราย ได้หยุดโรงงานเพื่อซ่อมบำรุงเครื่องจักรประจำปี ส่งผลให้การผลิตลดลง สำหรับการบริโภคเหล็กทรงแบน ลดลง เช่นกัน ร้อยละ 6.4 โดยเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ลดลง ร้อยละ 11.7 แต่เหล็กแผ่นเคลือบโครเมียมและเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก กลับมีการบริโภค เพิ่มขึ้น ร้อยละ 33.2 และ 18.5 เนื่องจากอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์กระป๋อง มีการผลิตเพิ่มเพื่อการส่งออก สำหรับอุตสาหกรรมเหล็กทรงยาว มีการผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.46 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะเดียวกันการบริโภคเหล็กทรงยาวก็เพิ่มขึ้น ร้อยละ 39.2 โดยเหล็กลวดเพิ่มขึ้น ร้อยละ 72.6 , เหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้าง เพิ่มขึ้น ร้อยละ 23.5 เนื่องจากที่ผ่านมาราคาเหล็กลดลงจึงทำให้ผู้ซื้อชะลอการซื้อโดยจะสั่งซื้อเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น ส่งผลให้สินค้าคงคลังของผู้ใช้และพ่อค้าคนกลางลดลง จึงทำให้ผู้ผลิตเพิ่มการผลิต ทางด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม การผลิตสินค้ากลุ่มสิ่งทอปรับตัวลดลง โดยผลิตภัณฑ์เส้นใยสิ่งทอลดลงเล็กน้อย ร้อยละ 0.93 ผลิตภัณฑ์ผ้าผืนลดลง ร้อยละ 11.63 เนื่องจากผู้ผลิตมีสต็อกค่อนข้างมาก ประกอบกับคำสั่งซื้อของตลาดอาเซียนลดลง โดยเฉพาะจากประเทศเวียดนามซึ่งเป็นตลาดคู่ค้าหลัก ส่วนกลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูป มีการผลิตลดลง ร้อยละ 1.80 ตามความต้องการใช้ในประเทศ ในส่วนของการส่งออก เดือนมีนาคม ปี 2558 ผลิตภัณฑ์เส้นใยสิ่งทอมีมูลค่าลดลงร้อยละ 1.67 ตามการลดลงของตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ จีน อินเดีย และบังคลาเทศ ส่วนผลิตภัณฑ์ผ้าผืนมีมูลค่าส่งออกลดลง ร้อยละ 2.15 ในตลาดอาเซียน ได้แก่ เวียดนาม สำหรับกลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูป มีมูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 1.90 จากคำสั่งซื้อในตลาดอาเซียน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ลดลง เนื่องจากถูกยกเลิกสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP)ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 ที่ผ่านมา

อุตสาหกรรมอาหาร ภาพรวมการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 3.5 เนื่องจากการผลิตผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์ และน้ำตาลที่เพิ่มขึ้น เป็นผลจากวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น ส่วนการส่งออกในภาพรวมเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 0.5 จากแนวโน้มที่ดีขึ้นของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศผู้นำเข้า เช่น สหรัฐอเมริกา ประกอบกับราคาน้ำมันในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวลดลง แต่ผลกระทบจากความไม่แน่นอนของการแก้ไขวิกฤตการณ์ยูเครน-รัสเซีย-สหภาพยุโรป ทำให้การส่งออกไม่ขยายตัวมากนัก ส่วนภาวะการใช้จ่ายในประเทศยังทรงตัวจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังได้รับผลกระทบจากอำนาจซื้อในประเทศที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๓๙ คัมมิ่นส์ ดีเคเอสเอช ร่วมจัดแสดงสินค้าเครื่องยนต์คัมมิ่นส์ รุ่น QSB6.7 สำหรับรถตัดอ้อย
๑๗:๑๒ ค็อกพิทรุกขยายสาขาต่อเนื่อง ปักหมุดสาขาใหม่ย่านถนนศรีจันทร์ ขอนแก่น มอบความสุขลูกค้าส่งท้ายปีด้วยโปรโมชันใหญ่สุดคุ้ม
๑๖:๐๐ ไอคอนสยาม ผนึกกำลังพันธมิตรภาครัฐ เตรียมพร้อมกำลังพลปฏิบัติการด้านความปลอดภัยขั้นสุด ต้อนรับงานเคานต์ดาวน์
๑๕:๑๒ เซ็นทาราออกตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืนเป็นครั้งแรก สอดรับการเติบโตในเอเชีย
๑๕:๑๐ ดีเดย์! 4 ศูนย์การค้าในเครือ เอ็ม บี เค เปิดโครงการ ข.ขวดรักษ์โลก แยกขวดช่วยน้อง สนองเป้า Net Zero บริหารจัดการขยะอย่างรู้คุณค่า 4
๑๕:๔๘ สจส. เร่งศึกษารูปแบบจัดการเดินเรือในคลอง-สนับสนุนเอกชนลงทุน-ใช้พลังงานสะอาด
๑๕:๐๓ D-Link ยืนยัน มุ่งสร้างความมั่นใจในการเชื่อมต่ออัจฉริยะและความปลอดภัยทางไซเบอร์
๑๕:๔๑ TBC จัดงาน Business Partner Award 2024 ครั้งแรกกับงานมอบรางวัลเกียรติคุณยกย่อง ให้กับพันธมิตรทางธุรกิจที่พร้อมเสริมสร้างห่วงโซ่คุณค่าที่ยั่งยืน
๑๕:๒๕ ต้นกล้าฟ้าใส จัด 3 เซ็ตเมนูพิเศษแบบ อร่อย.ดี ฟินคุ้ม เริ่มเพียง 149 บาท
๑๕:๑๔ สสว. ปลื้มกิจกรรมส่งท้าย Roadshow SME Academy On Tour ที่ จ.ยะลา มุ่งพัฒนาผู้ประกอบการ SME เสริมเกราะความรู้เพื่อธุรกิจเติบโต