ม.เอเชียอาคเนย์เตรียมเปิดวิศวกรรม IOT (Internet of Things) แห่งแรก รองรับยุคอินเตอร์เน็ตครองโลก

พุธ ๑๓ พฤษภาคม ๒๐๑๕ ๑๒:๕๘
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์เตรียมเปิดหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เอก Internet of Things หรือ IoTโดยมุ่งผลิตวิศวกร IoT แห่งแรกในประเทศ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของทศวรรษที่อุปกรณ์ทุกสิ่งอย่างในโลกจะเชื่อมต่อกันด้วยอินเตอร์เน็ต

ผศ.ฉัททวุฒิ พีชผล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ กล่าวว่า “การเปิดสาขาวิศวกรรม Internet of Things จะเป็นก้าวสำคัญ ในการผลิตบัณฑิตเพื่อรองรับอนาคต โดยหลักสูตรได้รับการปรับปรุง ปรึกษาโดยอาจารย์จากสถาบันชั้นนำของโลก อาทิ Massachusetts Institute of Technology, Carnegie Mellon University มหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของโลกด้าน Software Engineering หรือ Sun Yatsen University มหาวิทยาลัยชั้นนำของจีน โดยหลักสูตรจะเน้นการให้นักศึกษาได้ลงมือปฎิบัติจริง รวมถึงการนำอุปกรณ์ชุดพัฒนาที่นำสมัย หลากหลาย เพื่อให้นักศึกษาได้ใช้เครื่องมือจริง ลงมือจริง และเป็นชุดฝึกที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล อาทิ Intel Galileo? Arduino Raspberry Pi และอื่นๆ มาใช้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ ใช้งาน ทำงานได้จริง โดยผู้จบวิศวกรรมศาสตร์ เอก Internet of Things ของ ม. เอเชียอาคเนย์ จะมีตลาดรองรับมากมายและเป็นที่ต้องการของโลกอนาคตอย่างแท้จริง

ด้านอาจารย์ณัฏฐ์ โอธนาทรัพย์ หัวหน้าศูนย์นวัตกรรมและหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรม IoT เปิดเผยว่าหลักสูตรนี้ออกแบบโดยมุ่งเน้นให้นักศึกษานำความรู้ ด้านทฤษฎีมาใช้ปฏิบัติจริง คิดวิเคราะห์เป็นด้วยตัวเอง เพื่อเป็นการต่อยอดให้นักศึกษาเกิดการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ คิดค้นนวัตกรรมใหม่ขึ้นมาเป็นชิ้นงาน สำหรับในปีสุดท้าย การเรียนการสอนส่วนหนึ่งจะเรียนผ่านออนไลน์จากหลักสูตรของมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก เช่น MIT เข้ามาเสริมการเรียนเพื่อความเป็นมาตรฐานสากลยิ่งขึ้น

ปัจจุบันอินเตอร์เน็ตได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการทำงานในทุกองค์กร รวมถึงการใช้งานในชีวิตประจำวันของคนทั่วไปในทุกด้าน อุปกรณ์หรือแนวคิดต่างๆที่เชื่อมต่อกันด้วยอินเตอร์เน็ตจึงถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นจำนวนมาก เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ก็ได้มีการพัฒนาก้าวหน้าไปมาก การเรียนในระดับพื้นฐานของวิศวกรรมศาสตร์คอมพิวเตอร์ทั่วไปจึงต้องปรับเปลี่ยน เราต้องการผลิตบัณฑิตที่สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองจากทรัพยากรบนอินเตอร์เน็ตที่หลากหลายมากมายมหาศาล อาทิ Open Courseware, Crowd Sourcing, Open Source Technology and Platform, Crowd Funding, Cloud Computing, Massive Online Open Courseware เพื่อที่นักศึกษาจะสามารถนำเครื่องมือต่างๆ ที่มีให้เลือกใช้มากมายไปใช้สร้างแนวคิดหรือนวัตกรรมใหม่ๆ ในระดับสากล ในเวลาอันรวดเร็ว

เนื่องจากปัจจุบันเยาวชนรุ่นใหม่มีความคิดสร้างสรรค์สูงและมีความสามารถในการเรียนรู้ที่แตกต่างจากในอดีต การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่พร้อมด้วยทรัพยากรอันทันสมัย มีอุปกรณ์ระดับมาตรฐานสากล มีเครื่องมือช่วยสร้าง และพัฒนางานที่ใช้ง่าย ย่อมมีส่วนช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพแน่นอน ที่สำคัญหลักสูตรดังกล่าว จะเป็นการเตรียมพร้อมบุคลากรสำหรับการเปิดประชาคมอาเซียน AEC ด้วยการสร้างความก้าวหน้า ด้านเทคโนโลยีและด้านการศึกษา ให้มีมาตรฐานในระดับสากล ซึ่งปัจจุบันจะเห็นได้ว่าอุปกรณ์ในโลกนี้จะมีการพัฒนาให้มีขนาดเล็กลง และทำการเชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เน็ตได้ทั้งหมด ซึ่งจะปรับเปลี่ยนความเป็นอยู่ของเราไปอย่างสิ้นเชิงในอนาคตอันใกล้นี้ ทางมหาวิทยาลัยจึงได้เปิดหลักสูตรนี้ขึ้นมาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่อินเตอร์เน็ตจะกลายมาเป็นตัวแปรสำคัญในการพัฒนาของโลกอนาคตอันใกล้ต่อไป สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://iot.sau.ac.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ