HPT ควง APM บล. ฟิลลิป เดินสายโรดโชว์ 10 จังหวัด 18 พ.ค. – 5 มิ.ย. นี้

ศุกร์ ๑๕ พฤษภาคม ๒๐๑๕ ๑๗:๐๑
HPT ควง APM บล. ฟิลลิป เดินสายโรดโชว์ 10 จังหวัด 18 พ.ค. – 5 มิ.ย. นี้ โชว์ข้อมูลแผนขยายธุรกิจ ภาพรวมอุตสาหกรรมผลิตและส่งออกเซรามิคประเภทพอร์ชเลน และไชน่า โตโดดเด่น ที่ปรึกษาการเงินมั่นใจกระแสตอบรับดี เตรียมระดมทุนเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต รองรับออร์เดอร์ทะลัก

นายนิรันดร์ เชาว์กิตติโสภณ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โฮม พอตเทอรี่ จำกัด (มหาชน) หรือ HPT ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องเคลือบดินเผาประเภทไฟน์ไชน่า (Fine china) เพื่อใช้บนโต๊ะอาหาร สำหรับการใช้งานในโรงแรมหรือร้านอาหาร เปิดเผยว่าบริษัท โฮม พอตเทอรี่ จำกัด (มหาชน) หรือ HPT เปิดเผยว่า ในระหว่างวันที่ 18 พ.ค. – 5 มิ.ย. 58 บริษัทพร้อมด้วยที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัท แอสเซทโปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) จะร่วมกันเดินสายโรดโชว์เพื่อให้ข้อมูลแนะนำบริษัท กับนักลงทุนในจังหวัดต่างๆรวม 10 จังหวัด ประกอบด้วย ชลบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี เชียงใหม่ ลำปาง นครสวรรค์ หาดใหญ่ ราชบุรี และกรุงเทพฯ

ทั้งนี้บริษัทจะเน้นการให้ข้อมูลทางธุรกิจที่มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากแผนการเพิ่มกำลังการผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิคประเภทไฟน์ไชน่า ผนวกกับการขยายฐานลูกค้าในกลุ่มประเทศเดิมที่มีการส่งออกอยู่แล้ว ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย เอเชีย ตะวันออกกลาง และการเปิดตลาดใหม่ในกลุ่มประเทศ AEC ซึ่งจะเน้นกลุ่มลูกค้าที่เป็น ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ ร้านอาหาร และโรงแรมระดับไฮเอนด์

อีกทั้งต้องการแนะนำอุตสาหกรรมผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิคให้เป็นที่รู้จักและเชื่อมั่นต่อกลุ่มนักลงทุน เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาอุตสาหกรรมประเภทนี้มีการเผยแพร่ข้อมูลค่อนข้างน้อย แต่มีการเติบโตอยู่ในเกณฑ์ดีแม้ภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกจะไม่คึกคักมากนัก โดยอุตสาหกรรมเซรามิค ประเภทพอร์ชเลน และไชน่า มีมูลค่าตลาดส่งออกในปี 57 อยู่ที่ประมาณ 3 พันล้านบาท เติบโตประมาณ 27% และคาดว่าในปี 58 จะยังคงมีอัตราการเติบโตในระดับใกล้เคียงกัน

นายสมภพ ศักดิ์พันธ์พนม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซท โปรแมเนจเม้นท์ จำกัด หรือ APM ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน เปิดเผยว่า ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล(ไฟลิ่ง) ของ HPT ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างรอการพิจารณาจากสำนักงาน ก.ล.ต.

สำหรับวัตถุประสงค์การระดมทุนของ HPT จะนำเงินไปใช้เพื่อปรับปรุงสายการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รองรับการเติบโตของตลาดและคำสั่งซื้อ รวมทั้งจะนำเงินไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน โดยปัจจุบันบริษัทมีทุนจดทะเบียนจำนวน 130 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญจำนวน 520 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ 0.25 บาท โดยมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วเท่ากับ 100 ล้านบาท บริษัทจะทำการเสนอขายหุ้นไอพีโอจำนวน 120 ล้านหุ้น ให้กับประชาชนทั่วไป

นายวิชา โตมานะ กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวาณิชธนกิจ บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้จัดการการจัดจำหน่าย และรับประกันการจำหน่ายหุ้นสามัญเพิ่มทุน คาดว่าการโรดโชว์จะมีกระแสตอบรับที่ดีจากนักลงทุน เนื่องจาก HPT เป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิคไฟน์ ไชน่า อันดับต้นๆของประเทศ มีความเชี่ยวชาญในการดำเนินงานเป็นอย่างมาก ผลิตภัณฑ์ของบริษัทเป็นที่ยอมรับของ ผู้จำหน่าย โรงแรมระดับ 3-5 ดาว ร้านอาหาร ภัตตาคารชั้นนำ ในหลายประเทศทั่วโลก อีกทั้งผลการดำเนินที่ผ่านมามีการเติบโตอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งภายหลังจากการระดมทุนในครั้งนี้ บริษัทจะมีโอกาสขยายธุรกิจได้อย่างมีศักยภาพ เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้อย่างแน่นอน ทั้งนี้ เชื่อมั่นว่า HPT จะเป็นหุ้นน้องใหม่ในตลาดตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ที่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีในอนาคต

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ