เทรนด์และเทคโนโลยีที่จะพลิกโฉม ระบบวิดีโอตรวจการณ์-เฝ้าระวัง (Video Surveillance) ในปีนี้และปีต่อๆ ไป

จันทร์ ๑๘ พฤษภาคม ๒๐๑๕ ๐๙:๑๙
โดย โจฮัน พอลสัน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี แอ็กซิส คอมมูนิเคชั่นส์

สรุปความ: บทความนี้กล่าวถึงเทรนด์และเทคโนโลยีที่จะพลิกโฉมระบบวิดีโอตรวจการณ์-เฝ้าระวังในปีนี้และปีต่อๆ ไป Video surveillance-as-a-service (VSaaS) และคลาวด์ คอมพิวติ้ง กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นในการบริหารจัดการและการเก็บภาพวิดีโอโดยกล้องตรวจการณ์บนคลาวด์สตอเรจ เทคโนโลยีที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลยังนับเป็นเทคโนโลยีสำคัญในอุตสาหกรรมกล้องตรวจการณ์ เพื่อดึงเอาข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญออกมาจากข้อมูลจำนวนมหาศาลทั้งที่เป็นข้อมูลที่มีโครงสร้าง และข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างที่กล้องได้เก็บรวบรวมไว้ (หรือที่เรียกกันว่า บิ๊กดาต้า) เทคโนโลยีต่างๆ ในการบีบอัดวิดีโอ เช่น H.264 และ H.265 เป็นการลดและขจัดวิดีโอที่ซ้ำซ้อนกัน เพื่อให้สามารถส่งไฟล์วิดีโอดิจิตอลผ่านเน็ตเวิร์คอย่างได้ผลดี และจัดเก็บไว้ในดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ท้ายที่สุดแล้ว ภาพและวิดีโอที่มีคุณภาพสูงเช่นความคมชัดระดับ 4K ต้องได้รับการสนับสนุนการทำงานจากเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อให้องค์กรได้รับประโยชน์จากข้อมูลได้มากที่สุด

“อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (IoT)” ประเด็นไอทีที่ร้อนแรง สร้างกระแสตื่นตัวแก่ทุกอุตสาหกรรมตลอดปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทคาร์หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่ชาญฉลาดต่างๆ เช่นตู้เย็นอัจฉริยะที่เชื่อมต่อได้ ทำให้ผู้บริโภคและภาคธุรกิจต่างตระหนักถึงประโยชน์ของการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบรักษาความปลอดภัยรวมถึงเจ้าของธุรกิจเองต่างหันมาให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยให้แก่องค์กรของตน

ตามที่ผู้เชี่ยวชาญในวงการรักษาความปลอดภัยหลายท่านคาดการณ์ไว้ '4K Ultra HD' ซึ่งเป็นมาตรฐานความละเอียดระดับใหม่ จะยังคงเป็นประเด็นร้อน และเป็นก้าวต่อไปของความมุ่งมั่นในวงการที่จะทำให้เกิดการพัฒนากล้องวงจรปิดให้มีความละเอียดของภาพมากขึ้นและมีมุมรับภาพที่กว้างขวางครอบคลุมมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นที่คาดการณ์ว่าจะมีการนำความคมชัดระดับ 4K มาใช้ในระบบวิดีโอตรวจการณ์-เฝ้าระวังอย่างเต็มรูปแบบในปีนี้และปีต่อๆ ไป เมื่อพูดถึง 4K เราจะพิจารณาถึงคุณภาพของรูปภาพเป็นประเด็นสำคัญ ความท้าทายที่แท้จริงคือการเพิ่มคุณภาพให้กับรูปภาพสำหรับการตรวจการณ์เหตุการณ์เฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นและจำเป็นต้องดำเนินการตามความเหมาะสมทันที ไม่ว่าขณะนั้นจะมีสภาวะแสงเลวร้ายอย่างไร หรืออยู่ในสภาวะแวดล้อมอย่างไร ตัวขับเคลื่อนสำคัญในอุตสาหกรรม คือ นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มคุณภาพของรูปภาพเพื่อการใช้งานวิดีโอที่นำสมัย อย่างไรก็ตาม ความก้าวหน้าของคุณภาพของรูปภาพที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ได้สร้างแรงกดดันอย่างมากต่อการบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ เพื่อรองรับความก้าวหน้านั้นๆ เช่น อาจเกิดผลกระทบเกี่ยวกับแบนด์วิธและความต้องการพื้นที่จัดเก็บมากขึ้น หรือมีความจำเป็นที่จะต้องหาวิธีการบีบอัดภาพที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

Video surveillance-as-a-service กับ คลาวด์คอมพิวติ้ง

ระบบการรักษาความปลอดภัยในรูปแบบ Video surveillance-as-a-service (VSaaS) เป็นประโยชน์ต่อการจัดการและจัดเก็บภาพวิดีโอที่ถ่ายโดยกล้องตรวจการณ์ไว้ยังพื้นที่จัดเก็บที่อยู่บนคลาวด์ ระบบวิดีโอตรวจการณ์-เฝ้าระวังที่ติดตั้งตามสถานที่ต่างๆ เช่น ห้างสรรพสินค้า สวนสาธารณะ ธนาคาร สนามบิน และระบบขนส่งสาธารณะ สามารถใช้เป็นเครื่องมืออันทรงพลังในการป้องกันหรือการสืบสวนอาชญากรรมได้ ความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของระบบวิดีโอตรวจการณ์-เฝ้าระวังบางส่วนได้รับแรงผลักดันจากความกังวลเรื่องความปลอดภัยที่เพิ่มมากขึ้นทั่วโลก

ข้อมูลจาก Transparency Market Research คาดว่าตลาดระบบวิดีโอตรวจการณ์-เฝ้าระวัง และตลาดVSaaS จะมีมูลค่าถึง 42.81 พันล้านเหรียญสหรัฐฯในปี2562 โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยจากปี 2556 ถึงปี 2562 เป็น 19.1% ต่อปี และถ้าแยกพิจารณาตามระบบของวิดีโอ คาดว่าตลาดระบบวิดีโอตรวจการณ์-เฝ้าระวังที่เป็นระบบไอพีจะเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยระหว่างช่วงเวลาที่ทำการคาดการณ์คือจากปี 2556 ถึงปี 2562 เป็น 24.2% ต่อปี

ตลาดฮาร์ดแวร์ของกล้องมีมูลค่า 9.49 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2555 และมีการคาดการณ์ว่าจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยในระยะเวลาที่คาดการณ์ คือตั้งแต่ปี 2556 ถึงปี 2562 เป็น 17.3% ต่อปี ซึ่งตลาดฮาร์ดแวร์เหล่านี้ประกอบด้วย กล้องตรวจการณ์ระบบอนาล็อกและกล้องตรวจการณ์ระบบไอพี เครื่องบันทึกและสตอเรจ เครื่องแปลงสัญญาณอนาล็อกเป็นไอพี และจอ โดยในปี 2555เครื่องบันทึกและสตอเรจ ครองส่วนแบ่งตลาดฮาร์ดแวร์มากที่สุดสูงถึง 37% ตามมาด้วยกล้องตรวจการณ์ที่ครองส่วนแบ่งตลาด32% แต่มีการคาดการณ์ว่าจะเสียตำแหน่งในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของสตอเรจที่อยู่บนคลาวด์ (VSaaS) ทั้งนี้ยังมีการคาดการณ์ว่าตลาดกล้องตรวจการณ์จะมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นประมาณ 46% ภายในปี 2562 เนื่องจากความนิยมที่เพิ่มขึ้นของกล้องตรวจการณ์แบบไอพีที่ให้คุณภาพความคมชัดที่ดีกว่าพร้อมติดตั้งเครื่องบันทึกมาเบ็ดเสร็จภายในอุปกรณ์

แม้ คลาวด์คอมพิวติ้ง จะเป็นคำฮิตติดหูที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในวงการไอทีมาเป็นเวลาหลายปี แต่สิ่งเหล่านี้ก็ขึ้นอยู่กับการใช้งานของเราเป็นหลัก ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นพับลิค คลาวด์ซึ่งมีการใช้พื้นที่ในเซิร์ฟเวอร์ร่วมกันกับลูกค้ารายอื่น หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นไพรเวทคลาวด์ซึ่งข้อมูลและแอพพลิเคชั่นของแต่ละคนอยู่ในระบบของตนแต่เพียงผู้เดียวก็ตาม คลาวด์ คอมพิวติ้งยังทำให้เกิดประโยชน์ 3 ประการให้กับระบบเน็ตเวิร์คของคุณ นั่นคือ การลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล สามารถปรับขยายการทำงานได้ และเปลี่ยนจากการเป็นค่าใช้จ่ายในการลงทุน (CAPEX) ไปเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (OPEX) ทั้งนี้ขึ้นอยู่ที่ว่าถ้าองค์กรเลือกจะใช้ระบบคลาวด์แบบไพรเวท และอาจเลือกที่จะให้บุคคลภายนอกเป็นผู้ดูแลเรื่องการอัพเกรด อัพเดทและการซ่อมบำรุงที่ต้องทำเป็นประจำ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวให้กับองค์กรของตน

การขยายขีดความสามารถของกล้องไม่ได้จำกัดแค่สิ่งที่จำเป็นต่อการใช้งานตัวกล้องเท่านั้น ยังรวมไปถึงการเข้าถึงการประมวลผลและการจัดเก็บ เช่น ความจำเป็นในการใช้งานที่มีความละเอียดสูงขึ้นและเฟรมเรทที่เร็วขึ้น หากการวิเคราะห์ข้อมูลวิดีโอที่เก็บรวบรวมไว้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการวิเคราะห์รูปแบบการใช้งานของลูกค้า เช่น ความสามารถในการประมวลผลมีอยู่แล้วและจะส่งจ่ายเฉพาะเมื่อมีความจำเป็นต้องใช้เท่านั้น การวิเคราะห์การทำงานที่ดีขึ้นบนหัวกล้องนั้นยังคงเหมาะกับแอพพลิเคชั่นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญต่างๆ การประมวลผลที่เพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ สามารถนำมาใช้ในการจัดเก็บเลขแผ่นป้ายทะเบียนได้ครึ่งล้านรายการ และสามารถจับภาพป้ายทะเบียนรถที่ขับผ่านด้วยความเร็ว 24 ไมล์ (40 กิโลเมตร) ต่อชั่วโมง เป็นต้น ความน่าสนใจอีกด้านหนึ่งของVSaaS คือผู้ใช้งานสามารถเพิ่มบริการเพิ่มเติมต่างๆ ให้กับระบบวิดีโอตรวจการณ์-เฝ้าระวังของตนได้ เช่นการเพิ่มการรักษาความปลอดภัยที่เข้มข้นทันเวลา หรือบริการการตรวจสอบจากระยะไกล

การวิเคราะห์, ข้อมูลสำคัญทางธุรกิจ (BI) และ บิ๊กดาต้า

เทคโนโลยีที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลยังนับเป็นเทคโนโลยีสำคัญในอุตสาหกรรมกล้องตรวจการณ์ในปีนี้และปีต่อๆ ไป เพื่อดึงเอาข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญออกมาจากข้อมูลมหาศาลทั้งที่เป็นข้อมูลที่มีโครงสร้างและข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างซึ่งกล้องได้เก็บรวบรวมไว้ (หรือที่เรียกกันว่า บิ๊กดาต้า) ฝ่ายรักษาความปลอดภัยจะได้รับข้อมูลมากขึ้น จากแหล่งที่มาอื่นๆ เพื่มขึ้นอีกมาก ด้วยความสามารถของกล้องระบบเน็ตเวิร์คที่ให้ภาพวิดีโอที่มีความละเอียดสูง และสามารถเชื่อมต่อได้จากทุกที่ทุกเวลา การวิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีความจำเป็นในการช่วยให้องค์กรทำความเข้าใจกับข้อมูลจำนวนมหาศาล รวมถึงข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างเช่นรูปภาพและวิดีโอต่างๆ แอพพลิเคชั่นที่ชาญฉลาดมากขึ้นก็มีความจำเป็นในการช่วยจัดหมวดหมู่และตีความข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลเหล่านั้นกลายเป็นข้อมูลเชิงลึกที่สามารถนำไปใช้งานได้

คุณสมบัติสามประการของบิ๊กดาต้า คือ ขนาด ความเร็ว และความหลากหลาย สามารถนำมาซึ่งข้อมูลสำคัญในช่วงวิกฤตด้วยการให้ข้อมูลที่ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสม ผู้ใช้งานสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ด้วยการค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการมากที่สุด ด้วยการเริ่มต้นกับข้อมูลที่ถูกต้องมากขึ้น เช่น ข้อมูลการเฝ้าระวัง การควบคุมการเข้าถึงข้อมูลผ่านทางสิ่งที่จับต้องได้ และข้อมูลกิจกรรมทางไซเบอร์ แล้วสร้างความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่างๆ ที่จะใช้ให้เป็นประโยชน์ได้

สิ่งที่กล่าวมานี้คือสิ่งที่ไอพีปฏิวัติกล้องตรวจการณ์จากเดิมที่เป็นเครื่องมือทางนิติวิทยาศาสตร์ซึ่งใช้แก้ปัญหาหลังจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ต่างๆ ได้เกิดขึ้นแล้ว สู่การเป็นส่วนสำคัญของกระบวนการการป้องกันเชิงรุก ภาพวิดีโอสามารถใช้ควบคู่กับการวิเคราะห์ เพื่อให้ได้ทราบถึงรูปแบบการเข้ามาใช้บริการของลูกค้าในร้านค้าปลีก เวลาที่ลูกค้าใช้ในการชมของหรือกิจกรรมหนึ่งๆ หรือปลีกตัวออกจากจุดที่มีผู้คนหนาแน่น เมื่อรวมข้อมูลเหล่านี้กับแหล่งข้อมูลที่มีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้างอื่นๆ เช่น ตารางเวลาการขนส่งสาธารณะ รายการโปรโมชั่นต่างๆ ข้อมูลราคาของคู่แข่ง ข้อมูลจากโซเชียลมีเดีย และข้อมูลจากนักวิทยาศาสตร์ที่เชี่ยวชาญ จะสามารถทำให้คุณเห็นรูปแบบข้อมูลและความสัมพันธ์ต่างๆ ที่คุณไม่เคยรู้มาก่อนว่ามีอยู่ และนั่นคือความได้เปรียบในการแข่งขัน

การบีบอัดวิดีโอและการใช้แบนด์วิธ

เทคโนโลยีต่างๆ ในการบีบอัดวิดีโอ เป็นการลดและขจัดข้อมูลวิดีโอที่ซ้ำซ้อนกัน เพื่อให้สามารถส่งไฟล์วิดีโอดิจิตอลผ่านเน็ตเวิร์คอย่างได้ผล และจัดเก็บไว้ในดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ด้วยเทคนิคต่างๆ ในการบีบอัดที่มีประสิทธิภาพ จะสามารถลดขนาดของไฟล์ลงได้อย่างมากโดยมีผลกระทบต่อคุณภาพของภาพน้อยหรือไม่มีเลย อย่างไรก็ตาม คุณภาพของวิดีโออาจได้รับผลกระทบ ถ้าขนาดของไฟล์ถูกลดลงด้วยการเพิ่มระดับการบีบอัดภาพจากเทคนิคการบีบอัดที่กำหนดไว้

มาตรฐานการบีบอัดวิดีโอมีหลายแบบ เช่น Motion JPEG, MPEG-4 Part 2 (หรือเรียกกันง่ายๆ ว่า MPEG-4) และ H.254 เป็นมาตรฐานการบีบอัดวิดีโอใหม่ล่าสุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุด และเป็นมาตรฐานสำหรับระบบวิดีโอตรวจการณ์-เฝ้าระวัง และในอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกมาก เช่น อุตสาหกรรมบันเทิง

ในขณะเดียวกันการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของกล้องเช่น ความละเอียดของภาพและความไวแสงที่มีคุณภาพดีขึ้น ยังมีส่วนเพิ่มข้อมูลที่เกิดจากกล้อง จึงทำให้ความต้องการการบีบอัดวิดีโอที่มีประสิทธิภาพ เพิ่มมากขึ้น ผู้ผลิตกล้องวงจรปิดต้องสร้างสมดุลความละเอียดของภาพด้วยการปรับปรุงอัลกอริทึมในการบีบอัด H.264 ด้วย เพื่อจะได้มั่นใจว่าสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายด้านเน็ตเวิร์คแบนด์วิธ และค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บได้ การทำงานร่วมกันของวิธีการลดเสียงรบกวนและลดบิตเรท ควรทำแบบคู่ขนานกับการตรวจสอบการเข้ารหัสวิดีโอใหม่เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

นอกจากการปรับปรุงระบบบีบอัดแบบ H.264 ในปัจจุบันแล้ว เทคโนโลยีใหม่ที่น่าสนใจคือ H.265 ซึ่งกำลังได้รับความสนใจอย่างรวดเร็วในอุตสาหกรรมการออกอากาศและกระจายเสียง การบีบอัดแบบ H.265 สามารถลดแบนด์วิธและลดพื้นที่จัดเก็บได้มาก (ถึง 50%) ภายใต้สถานการณ์ที่เหมาะสม และคาดว่าเทคโนโลยีนี้จะออกสู่วงการอุตสาหกรรมการรักษาความปลอดภัยในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า และเป็นไปได้ที่จะมีการใช้งานครั้งแรกในกล้องที่มีความละเอียดสูงระดับไฮเอนด์ ทั้งยังเป็นที่คาดการณ์ว่า H.264และ H.265 จะยังคงอยู่คู่กันในอุตสาหกรรมนี้เป็นเวลาอีกนาน

บทสรุป

ท้ายที่สุดแล้ว ภาพและวิดีโอที่มีคุณภาพสูงเช่น 4K ต้องได้รับการสนับสนุนการทำงานจากเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อให้องค์กรได้รับประโยชน์จากข้อมูลได้มากที่สุด ซึ่งข้อมูลที่มีประโยชน์เหล่านั้นสามารถเปลี่ยนเป็นข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์ไม่เพียงแต่ด้านการรักษาความปลอดภัยเท่านั้น แต่ยังใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและความได้เปรียบทางธุรกิจ เทคโนโลยีที่เหมาะสมจึงเป็นข้อควรพิจารณาสำคัญสำหรับทุกคนที่กำลังมองหาประสิทธิภาพโดดเด่นใหม่ๆ จากกล้องตรวจการณ์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ