พม. ส่งเจ้าหน้าที่ร่วมคัดแยกเหยื่อการค้ามนุษย์ กรณีลูกเรือประมงไทย ๕๑ ราย กลับจากเกาะอัมบนเพิ่มเติมวันนี้

จันทร์ ๑๘ พฤษภาคม ๒๐๑๕ ๑๒:๐๐
วันที่ ๑๕ พ.ค. ๕๘ เวลา ๐๘.๓๐ น. ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว กรุงเทพฯ นายเลิศปัญญา บูรณบัณฑิต รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานการประชุมศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ศปก.พม.) ครั้งที่ ๑๕๗/ ๕๗-๕๘ เพื่อรับทราบปัญหาทางสังคมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน และร่วมหาแนวทางการแก้ไขปัญหาและการป้องกันปัญหาดังกล่าว โดยมีผู้บริหารและผู้แทนจากหน่วยงานในกระทรวงฯ เข้าร่วมประชุม

นายเลิศปัญญา กล่าวว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้รับการประสานงาน จากกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศว่า วันนี้ ลูกเรือประมงไทย จำนวน ๕๑ ราย จะเดินทางจากเกาะอัมบน ประเทศอินโดนีเซีย กลับถึงประเทศไทย โดยแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มที่ ๑ ลูกเรือประมงไทย จำนวน ๑๙ ราย จะเดินทางด้วยสายการบินแอร์เอเชีย มาถึงท่าอากาศยานดอนเมือง เวลา ๒๐.๐๐ น. และ กลุ่มที่ ๒ ลูกเรือประมงไทย จำนวน ๓๒ ราย จะเดินทางด้วยสายการบินการูด้าอินโดนีเซียมาถึงท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ทั้งนี้ ลูกเรือ จำนวน ๒๕ ราย มาถึงเวลา ๑๖.๑๕ น. และลูกเรือ จำนวน ๗ ราย มาถึงเวลา ๒๐.๑๐ น. ทั้งนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ได้จัดเตรียมเจ้าหน้าที่เข้าร่วมในกระบวนการคัดแยกเหยื่อการค้ามนุษย์ทุกคน ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ กับทีม สหวิชาชีพจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ กรมสวัสดิภาพและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการ ค้ามนุษย์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กระทรวงยุติธรรม โดยคาดว่าจะดำเนินกระบวนการคัดแยกเหยื่อการค้ามนุษย์ทุกคน ณ สนามบินทั้งสองแห่ง จากนั้น หากพบตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ จะนำเข้าสู่กระบวนการคุ้มครองดูแลในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ แต่หากไม่เข้าข่าย ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์จะดำเนินการส่งกลับภูมิลำเนาต่อไป

นายเลิศปัญญา กล่าวเพิ่มเติมว่า กรณี ชายอายุ ๕๐ ปี พิการแขนขาด หาเงินเลี้ยงครอบครัวด้วยการ ปอกมะพร้าวขายวันละ ๕๐๐ ลูก สร้างรายได้วันละ ๒,๐๐๐ – ๓,๐๐๐ บาท ที่ตลาดจุดผ่อนปรนการค้าชายแดนไทย-ลาว จังหวัดนครพนม ตนเองขอแสดงความชื่นชมในการต่อสู้ชีวิต ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก สามารถพึ่งพาตนเองด้วยอาชีพที่สุจริตในการหารายได้เลี้ยงครอบครัว โดยตนได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณายกย่องให้เป็นคนพิการตัวอย่างที่ดีของสังคมในการสร้างแรงบันดาลใจให้คนพิการทั่วประเทศ และกรณี หญิงชรา อายุ ๗๗ ปี เดินหาของเก่าและเก็บขยะขายหาเลี้ยงตนเองและสามี อายุ ๘๓ ปี ที่พอจะเดินและช่วยเหลือตนเองได้บ้าง หลังจาก หกล้มแล้วเดินไม่ได้มากว่า ๑ ปี ทราบภายหลังว่าหญิงชราดังกล่าวมีโรคประจำตัวหลายโรค และเพิ่งออกจากโรงพยาบาลที่จังหวัดชัยนาท ตนได้กำชับพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดชัยนาท (พมจ.ชัยนาท) เร่งลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและให้การช่วยเหลือในเบื้องต้น อีกทั้งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลในเรื่อง การรักษาพยาบาลต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ