“PMK Blind Navigator” นวัตกรรม กล่องนำทาง สำหรับผู้ป่วยทางตา

อังคาร ๑๙ พฤษภาคม ๒๐๑๕ ๑๖:๔๒
กล่องนำทาง “PMK Blind Navigator” ผลงานบุคลากรจาก 3 สถาบันร่วมวิจัยคิดค้น นำโดย ผศ.ดร.เดชฤทธิ์ มณีธรรม หัวหน้าสาขาวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ผศ.ดร.เบญจลักษณ์ เมืองมีศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ พ.อ.ผศ.นพ.อารมย์ ขุนภาษี ผู้อำนวยการกองเวชศาสตร์ฟื้นฟู พร้อมด้วย พ.อ.รศ.นพ.สุธี พานิชกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนานวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ผนึกกำลังคิดค้นร่วมกับโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ประดิษฐ์คิดค้นร่วมกับแพทย์และพยาบาล โดยใช้ชื่อว่า “PMK Blind Navigator” สำหรับผู้ป่วยทางสายตา

พ.อ.รศ.นพ.สุธี พานิชกุล เปิดเผยว่า เนื่องจากโรงพยาบาลพระมงกฎเกล้ามีทหารที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณศีรษะและใบหน้า ในบางรายนอกจากบาดเจ็บทางสมองแล้วอาจสูญเสียการมองเห็น ดังนั้นอุปกรณ์กล่องนำทางนี้จะมีประโยชน์ในการช่วยให้พัฒนาทักษะในด้านการเดิน โดยกล่องนำทางนี้จะช่วยในการฝึกเดินหลบหลีกสิ่งกรีดขวาง ผู้ป่วยทางสายตาไม่ได้พิการมาแต่กำเนิด อุปกรณ์กล่องนำทางเข้าช่วยให้ผู้ป่วยได้เดินอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้กับผู้ป่วยที่ตาบอดรายอื่น ๆ ได้อีกด้วย

ผศ.ดร.เดชฤทธิ์ มณีธรรม ผู้ออกแบบกล่องนำทาง “PMK Blind Navigator” เล่า กล่องนำทาง ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ ส่วนแรกเป็นโครงสร้าง (Hardware) จะประกอบไปด้วยโครงสร้างกล่องพาสติกแบบสี่เหลี่ยม ไมโครคอนโทรลเลอร์ ชุดตรวจจับและวัดระยะทางด้วยคลื่นอัลตร้าโซนิก ชุดบันทึกเสียง แบตเตอรรี่ ขนาด 9 โวลต์ จอแสดงผล LCD ส่วนที่สองจะเป็นซอฟร์แวร์ โดยใช้ภาษาซีในการเขียนควบคุมการทำงานทั้งระบบ สำหรับหลักการทำงานผู้ป่วยสวมชุดกล่องนำทางไว้ที่เอว เมื่อผู้ป่วยเคลื่อนไหวตนเองด้วยการเดิน เจอสิ่งกรีดขวางคลื่นอัลตร้าโซนิกจะตรวจจับและวัดสัญญาณสะท้อนกลับมา พร้อมกับมีเสียงบอกระยะเพื่อให้ผู้ป่วยได้ยินเสียงและสามารถรับรู้ถึงสิ่งกรีดขวางด้านหน้าว่าอยู่ที่ระยะเท่าไร จะได้หลบหลีกสิ่งกรีดขวางได้ ซึ่ง

เจ้ากล่องนำทางนี้สามารถวัดระยะได้ไกลถึง 2 เมตร น้ำหนักประมาณ 0.5 กิโลกรัม สำหรับระยะเวลาในการใช้งานขึ้นอยู่กับผู้ป่วย แต่แบตเตอรรี่ขนาด 9 โวลต์ อยู่ได้ประมาณ 2 เดือน เจ้ากล่องนำทางเป็นเพียงเครื่องต้นแบบที่ผู้วิจัยร่วมมือกัน โดยได้นำไปใช้กับผู้ป่วยโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ต้นทุนในการผลิตเครื่องละประมาณ 3,000-4,000 บาท ซึ่งในอนาคตจะมีการพัฒนาให้มีขนาดเล็กลง สามารถติดไว้ที่ไม้เท้า หรือประยุกต์ใส่ไว้ที่แขน ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ผศ.ดร.เดชฤทธิ์ โทร. 086 882 1475

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version