เสวนาแนวทางการทำงานวิจัยการตลาดในงานประชุมประจำปี สมาคมวิจัยการตลาด(TMRS)

ศุกร์ ๒๒ พฤษภาคม ๒๐๑๕ ๑๑:๕๙
สมาคมวิจัยการตลาดแห่งประเทศไทย (TMRS) จัดเสวนาเกี่ยวกับแนวทางการทำงานวิจัยการตลาด และรูปแบบความสัมพันธ์ของผู้ให้กับผู้ใช้บริการงานวิจัย ภายใต้โลกยุคดิจิตอลในการประชุมใหญ่ประจำปี 2558 สมาคมวิจัยการตลาดแห่งประเทศไทย (TMRS) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน 2558 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมี CEO กลุ่มบริษัทยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย CEO บริษัทวิจัย และ CEO บริษัทการตลาด ร่วมเสวนาเพื่อถ่ายทอดจากประสบการณ์จริง ซึ่งการเสวนาครั้งนี้ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากผู้สนใจ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าร่วมรับฟังประมาณ 100 ท่าน โดยมี ดร. เครือวัลย์ ลิ่มอภิชาต ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อินโฟเสิร์ช จำกัด เป็นผู้ดำเนินรายการ และมีผู้ร่วมเสวนา 4 ท่าน ซึ่งให้ความเห็นในประเด็นสำคัญ คือ

คุณสุพัตรา เป้าเปี่ยมทรัพย์ ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย กล่าวว่าบริษัทระดับโลกนั้น ต้องการงานวิจัยการตลาดที่สามารถตอบได้ตรงประเด็นตามความต้องการของลูกค้า มีความรวดเร็ว สามารถมองเห็นภาพรวม (Holistic-Based) และมีแนวคิด วิธีคิด หรือวิธีการนำเสนอใหม่ๆ ซึ่งจะไม่ได้ต้องการเพียงงานวิจัยในลักษณะ Project-Based หรือ Methodology-Based เท่านั้น

คุณดารณี เจริญรัชต์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีเอฟเค มาร์เก็ตไว้ส์ จำกัด และประธานสมาคมวิจัยโลก ESOMAR (ประเทศไทย) กล่าวว่า ยังมีช่องว่างสำหรับการทำวิจัยการตลาดผ่าน Social Media รวมถึงการหาคนเก่ง (Talent) เข้ามาในวงการวิจัยการตลาด

คุณวิริยา วรกิตติคุณ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซี.เอส.เอ็น แอนด์ แอสโซซิเอท จำกัด และอดีตนายกสมาคมวิจัยการตลาดแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ทำอย่างไรถึงทำให้ผู้ให้ข้อมูล (Respondent) ให้ข้อมูลที่เป็นจริงแก่งานวิจัย ซึ่งมีเกณฑ์สำคัญ คือ ความชัดเจนและความน่าเชื่อถึอของผู้เก็บข้อมูล และยังกล่าวเสริมว่า การมีคนเก่ง (Talent) นั้นเป็นสิ่งสำคัญสำหรับบริษัทวิจัย ซึ่งคนเก่งเหล่านี้ต้องมีทั้งองค์ความรู้ ความมุ่งมั่น ตั้งใจ และทุ่มเทในการทำงาน

คุณดั่งใจถวิล อนันตชัย ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท อินเทจ (ประเทศไทย) จำกัด และอดีตนายกสมาคมวิจัยการตลาดแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันลูกค้าบริษัทวิจัยต้องการมากกว่าการวิเคราะห์ข้อมูล (Analyze) เนื่องจากการมีข้อมูลจำนวนมหาศาล (Big Data) ที่ลูกค้าต้องนำไปใช้ ดังนั้นสิ่งที่ลูกค้าต้องการเพิ่มจากงานวิจัย คือ การวิเคราะห์ผสมผสานร่วมกันหลายๆ ด้าน (Synergize) และการตกผลึกให้ได้มาซึ่งคำตอบที่ชัดเจนและตรงประเด็น (Crystalize)

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ