การนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยว่า กลุ่มเกษตรกรเหล่านี้มีกลุ่มที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกรมส่งเสริมสหกรณ์มากถึงร้อยละ 86.18 นับว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งในการพัฒนากลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง และมีศักยภาพในการดำเนินงาน แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การขับเคลื่อนทิศทางในการพัฒนากลุ่มเกษตรกรสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่ให้ความสำคัญอย่างมากกับการร่วมกลุ่มของเกษตรกร และยกระดับไปถึงการเป็นสถาบันเกษตรกรเพื่อสร้างอำนาจการต่อรองในด้านการแข่งขันสินค้าเกษตร รวมถึงการเข้าถึงแผนงาน โครงการนโยบายในการช่วยเหลือของภาครัฐ ในโอกาสนี้จึงได้ฝากประเด็นสำคัญใน3 เรื่องให้กลุ่มเกษตรกรทั่วประเทศเข้ามามีส่วนร่วมและมีบทบาทสำคัญ ประกอบด้วย 1. การรวมกลุ่มเกษตรกรในขนาดที่เหมาะสม ไม่ใช่เป็นเพียงกลุ่มเล็ก ๆ ที่อาจจะยากกับการเข้าถึงมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐผ่านโครงการต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะเริ่มย่างเข้าสู่ฤดูกาลเพาะปลูกในปีนี้ที่ใกล้จะมาถึง หากเกษตรกรมีการรวมกลุ่มขนาดที่ใหญ่ขึ้นและเป็นประเภทการเพาะปลูกที่ใกล้เคียงกันมาทำการเกษตรในระบบแปลงใหญ่ก็จะช่วยให้เครื่องมือหรือกลไกต่าง ๆ ที่ภาครัฐเข้าไปสนับสนุนดูแลเกิดความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเรื่องของการบริหารจัดการน้ำ การสนับสนุนเมล็ดพันธุ์และปัจจัยการผลิต เป็นต้น 2. การมีส่วนร่วมในโครงการตลาดเกษตรกรที่พบว่าสินค้าเกษตรโดยส่วนใหญ่ยังไม่ใช่สินค้าในกลุ่มพรีเมี่ยมหรือได้รับการรับรองมาตรฐาน Q มากนัก ดังนั้น กลุ่มเกษตรกรที่มีการรวมกลุ่มและผลิตสินค้าที่มีคุณภาพอยู่แล้วก็สามารถที่จะเข้ามาร่วมดำเนินการในโครงการนี้ได้ ซึ่งนอกจากจะเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าเกษตรไปยังผู้บริโภคกลุ่มรายได้ปานกลางถึงสูงแล้ว ยังเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญที่จะทำให้กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าเกษตรได้รับทราบถึงความต้องการของผู้บริโภคได้โดยตรงว่าต้องการสินค้าประเภทใด ควรจะปรับปรุงรูปแบบสินค้าไปในทิศทางไหนเพื่อให้การผลิตสินค้าตรงตามความต้องการของตลาดได้ 3. การให้ข้อมูลเกษตรกรที่ควรจะได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐอย่างแท้จริง ซึ่งคาดว่าในอีกประมาณ 2–3 เดือนข้างหน้านี้จะได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมสหกรณ์และกรมส่งเสริมการเกษตรลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเกษตรกรที่ยากจนจริง ๆ และยังไม่เคยได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐผ่านโครงการต่าง ๆ ที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลได้ดำเนินการไปแล้ว เช่น ช่วยเหลือชาวนา และชาวสวนยางไร่ละ 1 พันบาท หรือโครงการสร้างรายได้ และพัฒนาการเกษตรแก่ชุมชน เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งระดับจังหวัด หรือโครงการเกษตรแก้ภัยแล้งตำบลละล้านบาท “พบว่าส่วนใหญ่เป็นเรื่องโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ซึ่งกลุ่มเกษตรกรในหลายๆ กลุ่มได้รับประโยชน์จากโครงการดังกล่าว และต่อจากนี้จะมีการดำเนินโครงการเพื่อช่วยเพิ่มรายได้และลดต้นทุนในการผลิตให้กับเกษตรกรควบคู่กันไปด้วย” นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา กล่าว.“
- ๒๔ ธ.ค. เอสเตท จัดประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 เคาะจ่ายปันผลประจำปี หุ้นละ 0.015 บาท พร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนธุรกิจโตต่อเนื่อง ตั้งเป้ารายได้ปี 2567 แตะ 1.8 หมื่นล้านบาท
- ธ.ค. ๒๕๖๗ ผู้ถือหุ้น สิงห์ เอสเตท อนุมัติจ่ายปันผล 0.02 บาท ตั้งเป้ารายได้ธุรกิจทั้งพอร์ต New High รุกบ้านแนวราบ โรงแรมยังโตเด่น
- ธ.ค. ๒๕๖๗ รมว.เกษตรฯ เปิดปาฐกถาพิเศษเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ประจำปี 2562 ครบรอบ 40 ในหัวข้อเรื่อง “40 ปี สศก. นวัตกรรมสู่อนาคต”