บสย. เปิดตัวหนังสือ “เปิดโลกการค้ำประกันสินเชื่อ” ฉบับภาษาไทย ไขรหัสลับ 7 โมเดลระดับโลก ขับเคลื่อนเศรษฐกิจผ่านกลไกค้ำประกัน

พุธ ๐๓ มิถุนายน ๒๐๑๕ ๑๖:๔๓
บสย. เปิดตัวหนังสือ "เปิดโลกการค้ำประกันสินเชื่อ” ฉบับภาษาไทย ไขรหัสลับ 7 โมเดลค้ำประกันระดับโลก ต่อยอดความรู้ระบบการค้ำประกันสินเชื่อ สูตรสำเร็จขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วย SMEs

นายวัลลภ เตชะไพบูลย์ กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า ได้เปิดตัวหนังสือ "เปิดโลกการค้ำประกันสินเชื่อ:หลากหลายรูปแบบการค้ำประกันสินเชื่อ SMEs ที่ประสบความสำเร็จทั่วโลก” ฉบับภาษาไทย หนังสือค้ำประกันสินเชื่อเล่มแรกและเล่มเดียวของเมืองไทย เปิดมุมมองหลากมิติของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากนานาประเทศกับการก้าวสู่การเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ ผ่านกลไกการค้ำประกันสินเชื่อ

ที่มาของหนังสือเล่มนี้ เกิดขึ้นหลังจากที่คณะกรรมการและผู้บริหารบสย. ได้เดินทางไปศึกษาดูงานระบบค้ำประกันสินเชื่อ ของสถาบัน Korea Credit Guarantee Fund (KODIT) สาธารณรัฐเกาหลีเมื่อปี พ.ศ.2556 และได้มีโอกาสเข้าพบ Mr. Taik-Soo Ahn, ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร KODIT และได้รับมอบหนังสือ “International Review of Credit Guarantee Schemes” ให้บสย.ได้ศึกษาและยังอนุญาต ให้บสย.สามารถนำหนังสือเล่มนี้มาแปลและตีพิมพ์เป็นฉบับภาษาไทย เพื่อให้เป็นคู่มือและเป็นแหล่งข้อมูลในการศึกษาโมเดลการค้ำประกันสินเชื่อ ของประเทศต่างๆมอบให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

หนังสือ "เปิดโลกการค้ำประกันสินเชื่อ” ฉบับภาษาไทย จัดพิมพ์บนกระดาษอาร์ตมันสองสี จำนวน 400 หน้า บรรจุเนื้อหาที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ อาทิ การตีแผ่โมเดลการค้ำประกันสินเชื่อจาก 7 ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ คือ สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวัน สหรัฐฯ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี และโมเดลการค้ำประกันสินเชื่อ จากนานาประเทศทั่วโลก 11 โมเดลค้ำประกันสินเชื่อจากภูมิภาคเอเชีย รวมทั้งประเทศไทย และอีก 17 โมเดลการค้ำประกันสินเชื่อในยุโรป

ตัวอย่างที่น่าสนใจคือ การก่อกำเนิดการค้ำประกันสินเชื่อของสาธารณรัฐเกาหลี ที่มีจุดเริ่มจากการนำระบบเงินสำรองเพื่อการค้ำประกันสินเชื่อมาใช้ในปี ค.ศ.1961 พร้อมกับการจัดตั้งธนาคาร SME หรือ SME Bank ภายใต้กฎหมาย SME Act โดยได้กำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับวิธีการในการได้มาและการใช้ไป ของเงินสำรองเพื่อการค้ำประกันสินเชื่อไว้ในกฎหมายที่บังคับใช้

กำเนิดการค้ำประกันสินเชื่อในประเทศญี่ปุ่น มีจุดเริ่มจากการจัดตั้ง Credit Guarantee Corporation of Tokyo (CGCT) ในรูปแบบสมาคมตั้งแต่ปี ค.ศ.1973 ในช่วงที่เกิดภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจ (The Great Depression) ซึ่งธุรกิจ SMEs ได้รับผลกระทบอย่างหนัก เนื่องจากการขาดแคลนเงินทุนของสถาบันการเงินต่างๆ และค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมที่มีระดับสูงในการให้สินเชื่อ SMEs ความเสี่ยงที่ธุรกิจจะผิดนัดชำระหนี้ โดยญี่ปุ่นยังได้ริเริ่มนำนโยบาย การนำระบบการชดเชยความเสียหายมาใช้เพื่อกระตุ้นการให้สินเชื่อ SMEs และหลังการก่อตั้ง CGCT ในปีค.ศ.1973 ได้เกิดหน่วยงานใหม่ๆตามมา ทั้ง Credit Guarantee Corporation of Kyoto และ Credit Guarantee Corporation of Osaka โดยมีสถานะเป็นองค์กรของรัฐ

หนังสือ "เปิดโลกการค้ำประกันสินเชื่อ” ฉบับภาษาไทย จะช่วยให้เกิดการพัฒนาระบบการค้ำประกันสินเชื่อให้อยู่ในระดับมาตรฐานโลก สามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ สามารถเติบโตอย่างยั่งยืน โดย บสย.ได้จัดพิมพ์หนังสือจำนวน 3,000 เล่ม พร้อมส่งมอบให้กับสถาบันการเงิน หน่วยงานด้านเศรษฐกิจของรัฐ ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบาย และดำเนินการด้านการส่งเสริมและสนับสนุน SMEs หน่วยงานเอกชน สถาบันการศึกษา ที่มีบทบาทหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุน SMEs สำนักพิมพ์ และสื่อมวลชน เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยไปพร้อมๆกัน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ