สศอ.ชี้ทิศทางอุตสาหกรรมไทยปี 2558 โต 3%

พฤหัส ๐๔ มิถุนายน ๒๐๑๕ ๑๖:๔๕
สศอ. ชี้ทิศทางอุตสาหกรรมไทย ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ( GDP) ของภาคอุตสาหกรรมปีนี้ ยังคงอัตราการเติบโตในเกณฑ์ 2 ถึง 3% เป็นผลจากปัจจัยบวกยังมีแรงหนุนดี แต่ยังต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงจากภายในและภายนอกประเทศอย่างใกล้ชิด

นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า จากที่ในปี 2558 ประเทศไทยเผชิญกับปัญหาในหลายๆ ด้านทั้งจากภายในประเทศและจากต่างประเทศ เช่น ปัญหาการส่งออกที่หดตัว ปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวน การชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะจีน และราคาน้ำมันที่ผันผวน เป็นต้น อย่างไรก็ตามคาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของภาคอุตสาหกรรมในปี 2558 ยังสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 2 ถึง 3 โดยมีปัจจัยหนุนมาจากการปรับตัวดีขึ้นของสถานการณ์เศรษฐกิจโลก จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ การลงทุนที่ขยายตัวสูงขึ้นจากการเร่งรัดอนุมัติส่งเสริมการลงทุน การเร่งการใช้จ่ายและดำเนินโครงการลงทุนที่สำคัญของภาครัฐ การเริ่มกลับมาขยายตัวของการผลิตและจำหน่ายรถยนต์ในตลาดต่างประเทศ และการลดลงของราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ ลดแรงกดดันด้านราคาและเพิ่มอำนาจซื้อ

สศอ. ยังคงประมาณการการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมตามที่ได้คาดการณ์ไว้เมื่อต้นปี ล่าสุดตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของภาคอุตสาหกรรมไตรมาสแรกอยู่ที่อัตราร้อยละ 2.3 ซึ่งเป็นตัวเลขที่ยังอยู่ในกรอบที่ประมาณการไว้ และคาดว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 3 ถึง 4 โดยการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมเกิดจากการขยายตัวในอุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์เคมี ปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์แก้ว ซีเมนต์ คอนกรีต กระเบื้อง และเซรามิค เหล็ก และสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ส่วนการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่างๆ มีดังนี้

- ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม คาดว่าขยายตัวได้ร้อยละ 0.86 ถึง 1.61 ซึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศที่เริ่มฟื้นตัว และสถานการณ์บ้านเมืองที่สงบ ทำให้มีการบริโภคและท่องเที่ยวมากขึ้น แต่มีปัจจัยที่ต้องพิจารณา คือ การผลิตกุ้ง ว่าจะสามารถฟื้นตัวจากโรคกุ้งตายด่วนได้หรือไม่ และการพิจารณาปัญหาแรงงานผิดกฎหมายในอุตสาหกรรมประมงจะส่งผลต่อการระงับ/ลดระดับการค้าของไทยจาก EU และสหรัฐฯ

- ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน คาดว่าขยายตัวได้ร้อยละ 1.48 ถึง 2.34 จากตลาดส่งออกเป็นปัจจัยสำคัญ เนื่องจากการ Allocate การผลิตจากบริษัทแม่ แต่สำหรับตลาดภายในประเทศ อาจเติบโตจากปีก่อนเพียงเล็กน้อย

- ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าขยายตัวได้ร้อยละ 1.67 ถึง 3.52 จากแนวโน้มการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน ประมาณร้อยละ 3 ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า เช่น สหรัฐอเมริกา เป็นต้น อย่างไรก็ตามสำหรับตลาดในประเทศ ค่อนข้างทรงตัวตามกำลังซื้อที่ยังไม่ฟื้นตัวมากนัก

- ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เคมี คาดว่าขยายตัวได้ร้อยละ 1.39 ถึง 3.64 จากความชัดเจนของการลงทุนในภาครัฐ และผลการเร่งรัดอนุมัติโครงการส่งเสริมการลงทุนในช่วงครึ่งหลังของปี 2557 ซึ่งคาดว่า จะเริ่มมีการดําเนินการโครงการในปี 2558

- ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของอุตสาหกรรมปิโตรเลียมคาดว่าขยายตัวได้ร้อยละ 1.71 ถึง 3.18 จากต้นทุนทางด้านพลังงานที่ลดต่ำลงทำให้มีความต้องการใช้มากขึ้น รวมถึงการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชนมีคาดว่าจะมีการขยายตัวมากขึ้น

- ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์แก้ว ซีเมนต์ คอนกรีต กระเบื้อง และเซรามิคคาดว่าขยายตัวได้ร้อยละ 3.06 ถึง 4.67 จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล การขยายการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ เช่น รถไฟฟ้าสายสีต่างๆ การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน จะทำให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาขยายการลงทุนเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้อุตสาหกรรมเซรามิค ซีเมนต์ คอนกรีต กระเบื้อง ขยายตัวไปในทิศทางเดียวกัน

- ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของอุตสาหกรรมเหล็กคาดว่าขยายตัวได้ร้อยละ 4.37 ถึง 7.26 จากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ

- ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มคาดว่าขยายตัวได้ร้อยละ 1.12 ถึง 2.46 จากการขยายตัวของความต้องการสินค้าและวัตถุดิบของประเทศคู่ค้า สำหรับตลาดภายในประเทศขยายตัวตามชุดกีฬาที่ผลิตจากผ้าไนลอนเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามมีปัจจัยที่ต้องระวัง คือการที่จีนและไต้หวันเข้าไปลงทุนสิ่งทอต้นน้ำในเวียดนาม คาดว่าเมื่อมีการผลิตเต็มรูปแบบ ความต้องการเส้นด้าย และผ้าผืนจากไทยจะลดลง เนื่องจากคาดว่าราคาสินค้าจากเวียดนามจะถูกกว่าไทยจากต้นทุนแรงงานที่ต่ำกว่า รวมทั้งยังได้สิทธิ GSP จาก EU

อย่างไรก็ตามยังมีด้านปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจและเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปี 2558 ที่ต้องเฝ้าระมัดระวัง ได้แก่

- ความไม่แน่นอนในการพื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2558 เนื่องจากแม้คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยุโรปจะเริ่มพื้นตัว แต่เศรษฐกิจของจีน และรัสเซีย ยังคงอยู่ในภาวะชะลอตัว รวมทั้งเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่มีอัตราการขยายตัวในระดับต่ำและเศรษฐกิจอาเซียนที่ขยายตัวได้ใกล้เคียงกับปี 2557

- การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของไทยและประเทศคู่ค้าต่างๆ เช่น อินเดีย เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และจีนในปีช่วงครึ่งแรกของปี 2558 เพื่อหวังกระตุ้นเศรษฐกิจจากเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกอย่างชัดเจน ซึ่งการส่งออกของไทยจะดีขึ้นหรือไม่ขึ้นกับผลจากการลดอัตราดอกเบี้ยในประเทศต่างๆ ว่าเห็นผลมาน้อยแค่ไหน

- อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯของไทยมีในปี 2558 มีทิศทางที่ผันผวน (แต่มีแนวโน้มอ่อนค่าในเดือนพฤษภาคม) แต่คงระดับอยู่ที่ 32-33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่หลายๆ ประเทศในอาเซียน ญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป ค่าเงินมีแนวโน้มอ่อนค่า ซึ่งอาจส่งผลกระทบให้ไทยส่งออกสินค้าได้ยากขึ้น อย่างไรก็ตามในช่วงเดือนพฤษภาคม 2558 อัตราแลกเปลี่ยนของไทยเริ่มอ่อนค่ามาอยู่ในระดับ 33.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถ้าอัตราแลกเปลี่ยนในครึ่งปีหลังยังคงอ่อนค่าต่อเนื่องจากเดือนพฤษภาคม จะทำให้สถานการณ์การส่งออกสินค้าของไทยในปี 2558 ดีขึ้น

- ทิศทางราคาน้ำมันที่เริ่มผันผวนในช่วงต้นปี 2558 หลังจากที่ปรับลดลงต่อเนื่องในช่วงครึ่งหลังของ ปี 2557 การเติบโตของหนี้ภาคครัวเรือนที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อการบริโภคและการลงทุน ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทยและประเทศคู่ค้า เช่น จีน ญี่ปุ่น สหรัฐฯ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ มีแนวโน้มลดลง ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาเงินฝืด และการส่งออกที่หดตัว เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version