ผลสำรวจ “ทาวเวอร์ส วัทสัน” เผยนายจ้างในประเทศไทยกำลังเผชิญกับความไม่สอดคล้องระหว่างต้นทุนสวัสดิการและคุณค่าของสวัสดิการในสายตาพนักงาน

ศุกร์ ๐๕ มิถุนายน ๒๐๑๕ ๑๗:๑๔
49% ของนายจ้างในประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการ คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 20% ของเงินเดือนพนักงาน และ 69% ระบุว่าต้นทุนด้านสวัสดิการที่กำลังเพิ่มขึ้นเป็นเรื่องที่ท้าทายในการดำเนินกลยุทธ์ด้านสวัสดิการ

เพียง 12% ขององค์กรต่างๆ ในประเทศไทยเชื่อว่า พนักงานมีความพึงพอใจในสวัสดิการที่องค์กรจัดให้

จากผลสำรวจโดยทาวเวอร์ส วัทสัน (Towers Watson) (NASDAQ: TW) บริษัทที่ปรึกษาและวิจัยข้อมูลธุรกิจระดับโลก พบว่า บริษัทต่างๆ ในประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างจำนวนเงินที่ใช้จ่ายด้านสวัสดิการพนักงานและคุณค่าที่ได้รับกลับมา อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่เพียงประเทศไทยเท่านั้น ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกก็ประสบปัญหานี้เช่นเดียวกัน โดยบริษัทได้ทำการสำรวจจาก 1,145 บริษัทใน20 ประเทศทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งถือเป็นการสำรวจแนวโน้มด้านสวัสดิการพนักงานที่มีความครอบคลุมมากที่สุดในภูมิภาค

ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจแนวโน้มด้านสวัสดิการในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ประจำปี 2015 โดยทาวเวอร์ส วัทสัน (Towers Watson’s 2015 Asia Pacific Benefit Trends survey) แสดงให้เห็นถึงเรื่องท้าทายที่นายจ้างต้องเผชิญ จากการสำรวจพบว่า องค์กรต่างๆเล็งเห็นความสำคัญของสวัสดิการพนักงานมากขึ้นโดยเฉพาะด้านการสร้างคุณค่าของพนักงานในองค์กร (Employee Value Proposition: EVP) ซึ่งเป็นการให้รางวัลเพื่อช่วยดึงดูด รักษา และสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงาน โดยมากกว่าสามในห้าของนายจ้างที่เข้าร่วมการสำรวจในประเทศไทย ระบุว่า การพัฒนาการดึงดูดและการรักษาพนักงาน (63%) รวมถึงการกระตุ้นการมีส่วนร่วมของพนักงาน (62%) เป็นเป้าหมายหลักของกลยุทธ์ด้านสวัสดิการขององค์กร

ในขณะเดียวกัน ต้นทุนด้านสวัสดิการในปัจจุบันคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงมากเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายด้านเงินเดือนของพนักงาน เกือบครี่งหนึ่ง (49%) ของนายจ้างในประเทศไทยระบุว่า ค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการมีมูลค่ามากกว่า 20% ของต้นทุนด้านเงินเดือนพนักงาน และเกือบหนึ่งในสิบ (9%) ใช้จ่ายด้านสวัสดิการมากกว่า 40% ของเงินเดือน นอกจากนี้69% ขององค์กรในประเทศไทยยังระบุว่า ต้นทุนด้านสวัสดิการที่กำลังเพิ่มขึ้นถือเป็นเรื่องท้าทายที่พวกเขาต้องเผชิญในการดำเนินกลยุทธ์ด้านสวัสดิการ

เป็นที่น่ากังวลว่า มากกว่าหนึ่งในห้า (21%) ของนายจ้างในประเทศไทยไม่ทราบว่า พวกเขามีค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการของพนักงานเท่าใด

มร. มาร์ค วัทลี ผู้อำนวยการฝ่ายข้อมูลด้านสวัสดิการ ทาวเวอร์ส วัทสันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “การที่นายจ้างไม่ตระหนักถึงมูลค่าของต้นทุนด้านสวัสดิการที่ให้แก่พนักงานแสดงให้เห็นว่า นายจ้างเหล่านี้กำลังเผชิญกับความยากลำบากในการบริหารจัดการด้านสวัสดิการ (benefits governance) ในขณะที่ต้องมีการจัดสรรในหลายด้าน รวมถึงผู้ให้บริการและระบบการจัดการอื่นๆ การที่นายจ้างไม่สามารถระบุค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการออกมาเป็นตัวเลข ก็ไม่น่าแปลกใจว่า พนักงานจะไม่ค่อยตระหนักถึงคุณค่าหรือประโยชน์ของแผนสวัสดิการที่พวกเขาได้รับ ซึ่งแผนสวัสดิการที่ตอบสนองความต้องการของพนักงาน มีการสื่อสารที่ชัดเจน และสามารถดำเนินการได้อย่างไม่ซับซ้อน จะช่วยเพิ่มคุณค่าของสวัสดิการในสายตาพนักงานได้”

แม้จะมีการลงทุนด้านสวัสดิการพนักงานอย่างแพร่หลาย มีเพียง 12% ของบริษัทในประเทศไทยที่เข้าร่วมการสำรวจที่เชื่อว่า พนักงานตระหนักถึงคุณค่าและประโยชน์ของสวัสดิการที่บริษัทมอบให้ มร. คริส เม ผู้อำนวยการฝ่ายข้อมูลด้านสวัสดิการ ทาวเวอร์ส วัทสันประเทศไทย และผู้อำนวยการฝ่ายการบริหารผลประโยชน์พนักงาน ทาวเวอร์ส วัทสันเอเชียแปซิฟิกกล่าวว่า “เป็นที่น่ากังวลว่า เกือบหนึ่งในสี่ (24%) ขององค์กรในประเทศไทยเชื่อว่า พนักงานของพวกเขาไม่ค่อยตระหนักถึงคุณค่าของสวัสดิการที่บริษัทมีให้ ถือเป็นผลสำรวจที่แย่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ดังนั้นจึงสำคัญอย่างยิ่งสำหรับนายจ้างในประเทศไทยในการทำให้พนักงานรับรู้ถึงคุณค่าของสวัสดิการที่บริษัทมอบให้มากขึ้น ไม่เช่นนั้นแล้ว บริษัทเหล่านั้นจะไม่ได้รับผลตอบแทนสูงสุดจากการลงทุนมากมายในด้านสวัสดิการพนักงาน”

ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก การเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการไม่ได้สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นในการรับรู้คุณค่าของสวัสดิการในหมู่พนักงานเสมอไป อย่างไรก็ตาม คุณค่าของสวัสดิการในสายตาพนักงานจะเพิ่มขึ้นเมื่อนายจ้างนำความคิดเห็นของพนักงานมาประกอบการตัดสินใจ และเช่นเดียวกัน พนักงานจะเห็นคุณค่าของสวัสดิการที่ได้รับมากขึ้นเมื่อบริษัทมีการจัดการเพื่อรับมือเหตุการณ์ต่างๆ ในช่วงชีวิตของพนักงานอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการสื่อสารด้านสวัสดิการอย่างชัดเจน

การเพิ่มความยืดหยุ่นในแผนสวัสดิการพนักงานเป็นแนวทางหนึ่งที่นายจ้างใช้ลดช่องว่างระหว่างต้นทุนและการรับรู้คุณค่าของสวัสดิการ

สำหรับองค์กรที่มีแผนสวัสดิการที่ยืดหยุ่นได้ (Flexible benefits) ซึ่งให้ทางเลือกแก่พนักงาน ส่วนใหญ่เห็นว่า แผนสวัสดิการดังกล่าวประสบความสำเร็จในการเพิ่มความเข้าใจและพึงพอใจของพนักงานต่อสวัสดิการที่ตนได้รับ (67%)สามารถตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันของพนักงาน (66%) ตลอดจนเพิ่มการดึงดูดและรักษาพนักงานในองค์กร(59%)

“แผนสวัสดิการที่ยืดหยุ่นได้ ยังคงเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพในการส่งมอบสวัสดิการ และเพิ่มคุณค่าของสวัสดิการในสายตาของพนักงาน” มร.คริส เมกล่าว “นอกจากช่วยให้องค์กรเข้าใจถึงความต้องการที่แตกต่างของพนักงาน แผนสวัสดิการที่ยืดหยุ่นได้ยังผลักดันให้มีการสื่อสารอย่างต่อเนื่องเพื่อให้พนักงานเลือกและจัดลำดับคุณค่าของสวัสดิการต่างๆ ที่อยู่ในแผน ซึ่งเหล่านี้จะช่วยเพิ่มคุณค่าของสวัสดิการในมุมมองของพนักงานได้เป็นอย่างดี ในประเทศไทย เราพบว่า มีบริษัทที่ให้ความสนใจในรูปแบบสวัสดิการยืดหยุ่นได้เพิ่มขึ้นมาก โดยบริษัทเหล่านี้ต้องการใช้สวัสดิการยืดหยุ่นได้ในการสนับสนุนกลยุทธ์การจัดการบุคลากรที่มีศักยภาพ เพื่อดึงดูด รักษา และสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงาน ควบคู่ไปกับการเพิ่มคุณค่าของสวัสดิการในสายตาของพนักงาน”

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version