กระทรวงเกษตรฯ เตรียมพร้อมเป็นเจ้าภาพ “งานประชุมกล้วยไม้เอเชียแปซิฟิค ครั้งที่ 12” ผนึกกำลังภาครัฐและเอกชนร่วมแสดงศักยภาพกล้วยไม้ไทยในระดับโลก

ศุกร์ ๑๒ มิถุนายน ๒๐๑๕ ๐๘:๕๗
นางพรรณพิมล ชัญญานุวัตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แถลงข่าวการจัดงานประชุมวิชาการกล้วยไม้เอเชียแปซิฟิกครั้งที่ 12 (The 12th Asia Pacific Orchid Conference) หรือ APOC ว่า กล้วยไม้เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ โดยมีพื้นที่การปลูกกล้วยไม้ถึง 20,000 ไร่ มีเกษตรกรและผู้ประกอบการถึง 3,000 ครัวเรือน ซึ่งต่างเป็นผู้มีประสบการณ์ในวงจรธุรกิจกล้วยไม้มาไม่น้อยกว่า 50 ปี และยังมีการรวมกลุ่มเป็นสหกรณ์ ชมรมและสมาคมกล้วยไม้ที่เข้มแข็งจำนวนไม่น้อย อีกทั้งประเทศไทยยังเป็นแหล่งพันธุกรรมกล้วยไม้เขตร้อนที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก มีสภาพแวดล้อมและภูมิประเทศที่เหมาะสมในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ ทั้งหมดนี้ถือเป็นจุดแข็งของประเทศไทยในการแข่งขันกับนานาประเทศ ในการผลิตและเป็นผู้ส่งออกกล้วยไม้ตัดดอกและต้นกล้วยไม้เขตร้อนรายใหญ่ของโลก

การจัดงานประชุมวิชาการกล้วยไม้เอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 12 จึงเป็นโอกาสสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยแสดงศักยภาพความยั่งยืนด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายพันธุกรรม และความก้าวหน้าด้านวิชาการ และวงการกล้วยไม้ ส่งเสริมให้เกิดความเข้มแข็งทางวิชาการ และความร่วมมือระหว่างชมรมกล้วยไม้ สมาคมกล้วยไม้ การพัฒนาด้านการตลาด เกิดการสร้างคู่ค้ารายใหม่ให้กับกลุ่มเกษตรกร ผู้ผลิต และผู้ประกอบการ ขยายตลาดส่งออกที่มีอยู่เดิมและเกิดตลาดใหม่ที่รองรับสินค้ากล้วยไม้สดและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยไม้ในรูปแบบต่างๆ อันสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การแข่งขันกล้วยไม้ไทยในตลาดโลก พ.ศ 2554-2559 ของกระทรวงเกษตรฯ ที่มุ่งหวังให้เกิดการเพิ่มศักยภาพทางด้านการแข่งขัน และส่งเสริมการผลิตกล้วยไม้คุณภาพมากขึ้น ตลอดทั้งพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ และส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์มากขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน

ด้าน นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า การประชุมวิชาการกล้วยไม้เอเชียแปซิฟิก (Asia Pacific Orchid Conference) จัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ 2527 โดย ศ.ระพี สาคริก เป็นหนึ่งในผู้ริเริ่ม เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่ออนุรักษ์ และพัฒนากล้วยไม้ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก โดยเริ่มครั้งที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2527 ที่ประเทศญี่ปุ่น และจัดให้มีการประชุมขึ้นทุกๆ 3 ปี โดยประเทศสมาชิกจะหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ ประเทศไทยเคยเป็นเจ้าภาพ APOC ครั้งที่ 4 ที่ จ.เชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.2535 ซึ่งความสำเร็จจากการจัดงานดังกล่าวทำให้วงการกล้วยไม้ทั้งในระดับประเทศและระดับโลกมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมวิชาการเกษตร จึงได้จัดทำโครงการเพื่อเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมวิชาการกล้วยไม้เอเชียแปซิฟิกครั้งที่ 12 ระหว่างวันที่ 19 - 27 มีนาคม 2559 ณ ศูนย์การประชุมอิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี ซึ่งนับเป็นการจัดงานกล้วยไม้ระดับนานาชาติครั้งยิ่งใหญ่ในรอบ 20 ปี ภายใต้แนวคิด Orchids and Human Beings หรือ “กล้วยไม้แห่งมวลมนุษยชาติ” ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ ได้เตรียมแผนประสานงานกับสมาคมกล้วยไม้ต่างๆ อาทิ สมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทย สมาคมพฤกษชาติแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมผู้ประกอบการสวนกล้วยไม้ไทย และสมาคมผู่ส่งออกกล้วยไม้ไทย เพื่อเชิญชวนผู้ประกอบการไทยเข้าร่วมงาน เพื่อแสดงถึงศักยภาพของผู้ประกอบการกล้วยไม้ไทย โดยคาดว่าจะมีผู้เข้าชมงานทั้งชาวไทยและต่างประเทศกว่า 45,000 คน

สำหรับกิจกรรมภายในงาน APOC 12 ประกอบด้วย การประชุมวิชาการกล้วยไม้นานาชาติ การแสดงนิทรรศการวิชาการ/การอนุรักษ์/นวัตกรรมกล้วยไม้ การจัดแสดงและประกวดกล้วยไม้ อาทิ การจัดสวนกล้วยไม้ /กล้วยไม้ต้น /กล้วยไม้ตัดดอก/ ศิลปะการจัดดอกไม้ /สิ่งประดิษฐ์จากกล้วยไม้ ได้แก่ กล้วยไม้อัดแห้ง พวงมาลัยกล้วยไม้ฯ และอื่นๆ การออกใบรับรองสุขอนามัยพืช และใบรับรองการนำเข้า ส่งออก นำผ่าน พืชอนุรักษ์ การจัดทัศนศึกษา และท่องเที่ยว การจัดแสดงและประกวดศิลปะจากกล้วยไม้ ภาพวาด ภาพถ่าย และประติมากรรมกล้วยไม้ การจำหน่ายกล้วยไม้นานาชนิด สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของไทย กิจกรรมและผลงานของเยาวชน รวมทั้งการแสดงศิลปวัฒนธรรมต่างๆ

ผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมแสดงในงาน สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่โทร. 02-797 3888 ต่อ 1545 หรืออีเมลล์ [email protected]โดยติดตามความเคลื่อนไหวของการจัดงานได้ทาง http://www.apoc12.com

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ