ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวต่อไปว่า ที่ประชุมได้น้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทาน "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางในการจัดทำแผนการดำเนินงานโดยเริ่มจากการวางแผนอย่างรอบคอบ ไม่ใช่เพียงเพื่อมีกรอบการดำเนินงานและงบประมาณ เพื่อจัดกิจกรรมเท่านั้น แต่ต้องมองในระยะยาวและมีเป้าหมายที่ชัดเจน รวมทั้งมีการประเมินถึงข้อดี ข้อเสีย และโอกาสที่จะเข้าไปดำเนินการว่าผลที่ได้รับจะเป็นอย่างไร ที่สำคัญคนในพื้นที่ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆด้วย นอกจากนี้ ยังมีการเสนอให้ดำเนินการใน 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วน ให้นำทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่มาต่อยอดจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งขณะนี้ กระทรวงวัฒนธรรม และ กอ.รมน. ภาค 4 สน. มีแผนในการจัดกิจกรรมพหุวัฒนธรรมนำร่องบริเวณรอบอ่าวปัตตานี อาทิ เปิดโอกาสให้เด็กกำพร้าในชุมชนรอบอ่าว เข้าร่วมค่ายเยาวชนศิลปะวัฒนธรรมร่วมสมัย รวมทั้งการแข่งขันเรือยอกอง โดยกำหนดให้ทีมต่างๆที่เข้าร่วมการแข่งขัน ใน 1 ทีมจะต้องประกอบด้วยประชาชน 2 ศาสนาขึ้นไป การแสดงแสง สี เสียง ราชวงศ์ ศรีวังษา การจัดงานคืนความสุขในสถานที่ที่เป็นสัญลักษณ์ของคนรอบอ่าว เช่น หาดตะโล๊ะกาโปร์ อ.ยะหริ่ง เป็นต้น ทั้งนี้สำหรับวันเวลาในการจัดกิจกรรมต่างๆนั้น จะมีการประชุมหารือการดำเนินงานในคราวต่อไป และระยะต่อไป จะจัดทำแผนแม่บทในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้ความร่วมมือของหลายหน่วยงาน อาทิ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงศึกษาธิการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น โดยกระทรวงวัฒนธรรมจะเป็นหน่วยงานบูรณาการเพื่อกำหนดแนวทางร่วมกันในการสร้างความเป็นพหุสังคมที่มีความสงบสุข และทำให้การดำเนินงานของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างยั่งยืน โดยแผนแม่บทนี้จะมีความชัดเจน สร้างความเข้าใจอย่างถูกต้อง และเชื่อมโยงไปสู่การปฏิบัติ และการบริหารงบประมาณอย่างมีประสิทธภาพ
- พ.ย. ๒๕๖๗ ครม. แต่งตั้งผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม
- พ.ย. ๒๕๖๗ ภาพข่าว: ปลัดวธ. แถลงข่าวทุนผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
- พ.ย. ๒๕๖๗ ไปรษณีย์ไทย จัดพิธีปิดงานสัปดาห์สากลแห่งการเขียนจดหมาย ประจำปี 2553 “วันวานยังหวานอยู่”