วธ.นำครูดนตรีและนาฏศิลป์อาเซียน 10 ประเทศ ร่วมพัฒนาทักษะการสอน และแสดงดนตรีถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในโอกาสมหามงคล

อังคาร ๑๖ มิถุนายน ๒๐๑๕ ๑๕:๐๐
นางฉวีรัตน์ เกษตรสุนทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม และสมาคมครูดนตรี(ประเทศไทย) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการดนตรีและนาฏศิลป์อาเซียน สำหรับครูดนตรี ครั้งที่ 3 และการแสดงดนตรี-นาฏศิลป์อาเซียน เพลงพระราชนิพนธ์ “ส้มตำ”เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี 60 พรรษา ในระหว่างวันที่ 16-19 มิถุนายน 2558 ณ หอประชุมเล็ก-ใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เพื่อให้ครูดนตรีและนาฏศิลป์มีความเข้าใจ มีเจตคติที่ดีต่อกัน เนื่องจากดนตรีและนาฏศิลป์ถือเป็นสื่อช่วยให้ประชาคมอาเซียนบรรลุตามเป้าหมายได้ ซึ่งครูถือเป็นบุคคลสำคัญที่จะช่วยพัฒนาเยาวชนให้มีความรู้ ความเข้าใจในประชาคมอาเซียน ครูจึงต้องมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ของอาเซียน และมีทักษะเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมทางดนตรีและนาฏศิลป์ เพื่อจะได้นำไปถ่ายทอดให้นักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยมีวิทยากรจากประเทศสมาชิกอาเซียน จำนวน 10 ประเทศ ประกอบด้วย บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม มาให้ความรู้ ความเข้าใจและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านดนตรีและนาฏศิลป์ โดยในโอกาสมหามงคลที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา จึงได้จัดให้มีการแสดงดนตรีและนาฏศิลป์อาเซียน ในบทเพลงพระราชนิพนธ์ “ส้มตำ” การแสดงชุดที่ 5 ของ “การแสดงดนตรีไทยโดยครูอาวุโสแห่งรัตนโกสินทร์”ในวันที่ 19 มิถุนายน ศกนี้ ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ด้วย

“มุ่งหวังว่าการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ จะสามารถช่วยพัฒนาความรู้และทักษะแก่ครูดนตรีและนาฏศิลป์ได้ และนำความรู้ไปพัฒนาเยาวชนให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในประชาคมอาเซียนได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป” นางฉวีรัตน์ กล่าว

ด้าน รองศาสตราจารย์อรวรรณ บรรจงศิลป นายยกสมาคมครูดนตรี(ประเทศไทย) กล่าวว่า การจัดประชุมในครั้งนี้ มุ่งหมายเพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะและเจตคติแก่ครูดนตรี-นาฏศิลป์ของไทย ให้มีความพร้อมสำหรับการเข้าร่วมประชาคมอาเซียน อันจะช่วยให้ครูดนตรีมีความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของสังคมประเทศสมาชิก และให้มีการนำความรู้ ทักษะและความเข้าใจไปถ่ายทอดแก่เด็กและเยาวชนไทย ให้เกิดเจตคติที่ดี มีความเข้าใจต่อประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งในปีมหามงคลนี้ ถือเป็นการจัดครั้งที่ 3 แล้ว ที่ได้รับการสนับสนุนด้วยดีจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) และหน่วยงานต่างๆที่ให้ความร่วมมือ นอกจากครูดนตรี-นาฏศิลป์จะได้รับความรู้ และทักษะที่ถูกต้อง การได้มีโอกาสแสดงดนตรีในบทเพลงพระราชนิพนธ์ ยังเป็นการเผยแพร่พระอัจฉริยะทางดนตรีของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี แก่ชาวประชาคมอาเซียนด้วย

ในครั้งนี้ มีครูสอนดนตรีและนาฏศิลป์ สังกัดโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร และสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียนดนตรีเอกชน รวมถึงอาจารย์ผู้สอนระดับ อุดมศึกษา เข้าร่วม 240 คน แบ่งเป็น ครูดนตรี 80 คน ครูนาฏศิลป์ 160 คน ร่วมกันอภิปราย สาธิตความคล้ายและความต่างของดนตรีและนาฏศิลป์ในกลุ่มประเทศอาเซียน การฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรีและนาฏศิลป์ โดยมุ่งหวังจะนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่อันจะช่วยเสริมสร้างสัมพันธภาพอันดีต่อประชาคมอาเซียน ต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ