อย่างไรก็ตาม ขอย้ำว่า โรคซึมเศร้าสามารถรักษาได้ โดยในปี พ.ศ.2563 กรมสุขภาพจิตได้ตั้งเป้าหมายให้คนไทยจิตแจ่มใสใจเป็นสุข ด้วยการดำเนินงานตามระบบดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้า (ค้นหา ประเมิน วินิจฉัย รักษา เฝ้าระวัง) ทีได้มาตรฐาน บูรณาการแผนการบริการผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้ากับระบบสุขภาพอำเภอ พัฒนาระบบสุขภาพ และการบริการตามกลุ่มวัย โดยการทำงานในรูปแบบของเครือข่ายบริการในพื้นที่ พบว่า ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าถึงบริการมากขึ้น จาก ร้อยละ 34 ในปี 2557 เป็น ร้อยละ 38 ในครึ่งปี 2558 โดย ในปี 2557 ได้มีการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงถึง 12 ล้านคน พบมีแนวโน้มป่วยเป็นโรคซึมเศร้า 6 ล้านคน มีอาการ 1.5 ล้านคน มีแนวโน้มที่จะฆ่าตัวตาย 6 แสนคน ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า 5 แสนคน และมีอาการกลับเป็นซ้ำ 800 คน ที่สำคัญ ผู้ที่เข้าสู่ระบบดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้า มีการฆ่าตัวตายสำเร็จ เพียง 2 คน ซึ่งสะท้อนได้ว่า ระบบดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าที่เราใช้ในประเทศไทยมีประสิทธิภาพ สามารถป้องกันการฆ่าตัวตายได้ การแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้า จึงมุ่งไปที่การเข้าถึงบริการ มีการส่งเสริมสร้างความเข้าใจ ลดอคติ และป้องกันไม่ให้เกิดผู้ป่วยรายใหม่หรือเมื่อป่วยแล้วต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้องได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพ ลดระยะเวลาการเจ็บป่วยให้สั้นที่สุด ป้องกันการกลับเป็นซ้ำ ลดอัตราการฆ่าตัวตาย ผอ.รพ.พระศรีมหาโพธิ์ กล่าว
- ธ.ค. ๒๕๖๗ นายจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด เข้ารับโล่เกียรติยศ "บุคคลคุณภาพแห่งปี 2022"
- ธ.ค. ๒๕๖๗ ปฏิทินข่าวหน่วยงานราชการประจำวันนี้(14 มิถุนายน 2561)
- ธ.ค. ๒๕๖๗ ปฏิทินข่าวหน่วยงานราชการประจำวันพรุ่งนี้(14 มิถุนายน 2561)