สบส. เน้น 3 มาตรการในโรงพยาบาลเอกชนและคลินิก เตรียมความพร้อมรับมือการแพร่ระบาดโรคเมอร์สในประเทศไทย

อังคาร ๒๓ มิถุนายน ๒๐๑๕ ๑๑:๒๗
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชน ประชุมซักซ้อมแนวทาง การเฝ้าระวัง และการส่งต่อผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง(เมอร์ส) เพื่อสร้างความเข้าใจ เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งโรงพยาบาลภาครัฐและโรงพยาบาลเอกชน/คลินิกที่รับรักษาชาวต่างชาติเพื่อสร้างความเชื่อมั่น พร้อมรับมือการแพร่ระบาดของโรคในประเทศไทย

ด้าน น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (22 มิถุนายน 2558) กล่าวว่า

จากสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส Middle Respiratory Syndrome : MERS (MERS Corona Virus : MERS) พบการ แพร่ระบาดที่เกาหลีใต้ จากการรายงานพบการติดเชื้อจากคนสู่คน ได้แก่ ผู้ดูแลใกล้ชิด สมาชิกครอบครัวเดียวกัน บุคลากรทาง การแพทย์ และในกลุ่มผู้ที่เดินทางไปประกอบพิธีทางศาสนาในประเทศที่มีการระบาดของโรค ตลอดจนการเดินทางเพื่อไปทำธุรกิจ ประกอบอาชีพ หรือผู้ป่วยต่างชาติตามนัด/ผู้ป่วยต่างชาติซึ่งเป็นคนไข้นอก และนักท่องเที่ยว โดยล่าสุดประเทศไทยพบผู้ป่วยติดเชื้อเป็นชาวตะวันออกกลาง 1 รายเป็นรายแรก ได้ดำเนินการย้ายผู้ป่วย ผู้สัมผัสในครอบครัวมารับการรักษาตัว และแยกกักกันตัวที่สถาบันบำราศนราดูร เพื่อทำการติดตามอาการเป็นเวลา 14 วัน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการค้นหาและคัดแยกผู้สัมผัสในชุมชน และได้มีการดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2523 โดยได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขเพื่อประกาศให้โรคนี้เป็นโรคติดต่ออันตราย และต้องมีการแจ้งความ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2558 ซึ่งกรมสนับสนุนบริการสุขภาพได้เล็งเห็นถึงผลกระทบของการแพร่ระบาด จึงได้จัดการประชุมสัมมนาชี้แจงแนวทางการวินิจฉัย การเฝ้าระวัง และการส่งต่อผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจระวังออกกลาง (Middle Respiratory Syndrome : MERS (MERS Corona Virus : MERS) เพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินการเตรียมความพร้อม สำหรับโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง แนวทางการเฝ้าระวัง การวินิจฉัย การดูแลรักษาพยาบาลสำหรับบุคลากร แพทย์และสาธารณสุข พร้อมคำแนะนำต่างๆ ของกระทรวงสาธารณสุข โดยเน้น 3 มาตรการ คือ 1.การเฝ้าระวังโรค จะต้องมีการติดโปสเตอร์ หรือแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์ สำหรับผู้ที่เดินทางกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง มีระบบการคัดกรองผู้ป่วย OPD มีจุดแยกผู้ป่วยเป็นช่องทางด่วน ต้องมีผู้รับผิดชอบการรายงานผู้ป่วยต้องสงสัย และต้องมีแนวทางการเฝ้าระวัง การดำเนินการให้กับแพทย์ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องประจำจุดบริการ 2.การเตรียมความพร้อมระบบการป้องกันควบคุมโรค ต้องมีการวางแนวปฏิบัติ การดูแลรักษาผู้ป่วย การกำหนดแนวทางของรพ.รวมทั้งการเคลื่อนย้ายและการส่งต่อผู้ป่วย มีการประชุมให้ความรู้ ชี้แจง แผนการรับ-ส่งผู้ป่วย การซักซ้อมแนวทางการดำเนินงานให้กับเจ้าหน้าที่ ต้องมีหน้ากากอนามัยชนิด N 95 ที่เพียงพอ และสวมใสได้อย่างถูกต้อง มีการขอรับน้ำยาเก็บตัวอย่าง หรือ VTM (Viral transport Middle) และอุปกรณ์การเก็บสิ่งส่งตรวจ และแบบฟอร์มการส่ง น้ำยาฆ่าเชื้อ เครื่องมือ อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ ทั้งรพ.ต้องกำหนดให้ล้างมือ เมื่อสัมผัสผู้ป่วย และ3. การสื่อสารความเสี่ยง มีการให้ความรู้ของโรค การเฝ้าระวัง โดยไม่ให้ประชาชนตื่นตระหนก มีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เป็นต้น เพื่อเป้าหมายลดความเสี่ยงการระบาดของโรคและให้ประเทศไทย มีมาตรการรับมืออย่างที่มีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวเพิ่มเติมว่า การประชุมครั้งนี้ ประกอบด้วยโรงพยาบาลภาครัฐ จำนวน 30 แห่ง และโรงพยาบาลเอกชน จำนวน 127 แห่งที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นชาวตะวันออกกลาง คลินิกที่ตั้งในพื้นที่ท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 100 แห่ง รวม 257 แห่ง และได้เน้นย้ำข้อปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ดังนี้ 1.การติดป้ายแสดงข้อความผู้เข้าข่ายสงสัยโรคเมอร์ส เพื่อแจ้งเตือนประชาชน และเจ้าหน้าที่ให้เห็นได้ชัดเจนในคลินิก โรงพยาบาลรัฐและเอกชน 2.จัดตั้งหน่วยคัดกรองต้องมีระบบ One Stop Service เป็นช่องทางเฉพาะ แยกจากผู้ป่วยนอกทั่วไปหรือห้องฉุกเฉิน ให้บริการสำหรับผู้ที่เข้าข่ายต้องสงสัย โดยต้องมีเจลล้างมือ ผ้าปิดจมูก ที่จุดบริการเป็นต้น เน้นการป้องกันอย่างเข้มงวด เพื่อเตรียมรับมือของสถานการณ์ระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.สถานพยาบาลเอกชนที่มีการนัดหมายผู้ป่วยจากต่างประเทศที่มีภาวะระบาดอยู่ ให้มีกระบวนการคัดกรองจากต่างประเทศอย่างเข้มงวด หากมีข้อสงสับให้ลดรับผู้ป่วยดังกล่าวในระยะนี้ 4.ในการส่งต่อและรายงานผู้ป่วย ในกรณีที่มีผู้ป่วยต้องสงสัยและเข้าเกณฑ์การเฝ้าระวังเข้มงวดต้องประสานสายด่วน 1422 เพื่อจัดระบบส่งต่อไม่ปล่อยให้ผู้ป่วยเดินทางไปรับการรักษาต่อด้วยตนเอง หากสถานพยาบาลเอกชนใดฝ่าฝืนจะมีความคิดตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ และพ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 ทางกรมสนับสนุนบริการสุขภาพจะดำเนินการตามกฎหมายอย่างเข้มงวด เพื่อให้สถานพยาบาลเข้ามามีส่วนร่วมในการรับมือกับสถานการณ์โรคเมอร์ส (MERS) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version