สกย. ขับเคลื่อนชาวสวนยาง พัฒนาแปรรูปผลผลิตคุณภาพ เตรียมพร้อมฤดูเปิดกรีด ปี ’58 เปิดตลาดยางทั่วประเทศ 108 แห่ง รองรับผลผลิตเกษตรกร

พุธ ๒๔ มิถุนายน ๒๐๑๕ ๑๕:๓๐
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) เผย ฤดูเปิดกรีดใหม่ ปี ‘58 พร้อมอัดความรู้การเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ถูกต้อง / การแปรรูปยางให้ได้คุณภาพ เปิดช่องทางการขายยางเข้าโครงการช่วยเหลือจากรัฐ เร่งเตรียมพร้อมด้านตลาดยาง 108 สกย. เป็นจุดรับซื้อผลผลิตของเกษตรกรจนหมดฤดู แนะสถาบันเกษตรกรที่รับเงินกู้ ปรับปรุงพัฒนาโรงงานผลิตแปรรูปยางให้ได้มาตรฐาน เพื่อการแปรรูปผลผลิตที่มีคุณภาพ

นายเชาว์ ทรงอาวุธ รองผู้อำนวยการ สกย. และ โฆษก สกย. เผยว่า ในช่วงฤดูกาลเปิดกรีดใหม่นี้ สกย. ขับเคลื่อนและพัฒนาชาวสวนยางให้มีการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ฤดูกาลเปิดกรีด โดยส่งเสริมให้ความรู้ตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ถูกต้อง รวมถึงการแปรรูปยางเพื่อเพิ่มมูลค่า ซึ่งต้องผลักดันเกษตรกรแปรรูปผลผลิตให้มีคุณภาพ ทั้งในส่วนของยางแผ่นดิบและยางแผ่นรมควัน เหตุเพราะฤดูกรีดปีที่ผ่านมา เกษตรกรบางกลุ่มประสบปัญหาไม่สามารถนำยางมาจำหน่ายในโครงการของรัฐบาลได้ เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องคุณภาพ สกย. จึงมุ่งพัฒนาการแปรรูปผลผลิตของเกษตรกรอย่างเต็มที่ เพื่อลดการเกิดปัญหาดังกล่าว เพราะรัฐบาลยังมีโครงการช่วยเหลือเกษตรกรด้านตลาดยางอีกในอนาคต

ทั้งนี้ หลักการแปรรูปยางพาราเบื้องต้น ยางแผ่นดิบต้องปราศจากสิ่งเจือปน สิ่งสกปรกต้องน้อยที่สุด ความหนาของแผ่นยางต้องไม่เกิน 3 มิลลิเมตร ความชื้นไม่เกิน 3% คือ เกือบแห้งสนิท สีสม่ำเสมอ มีความยืดหยุ่นดี เป็นไปตามมาตรฐานของ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ส่วนยางแผ่นรมควัน ปัจจุบันนับว่าค่อนข้างมีคุณภาพ เนื่องจากโรงงานผลิตของสถาบันเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นโรงงานที่นำน้ำยางสดมาแปรรูปในโรงงานของสถาบันเกษตรกรเอง จึงเป็นที่ยอมรับว่าโรงงานของสถาบันเกษตรกรไทย มีความสามารถผลิตยางแผ่นรมควันคุณภาพดีได้

อย่างไรก็ตาม เรื่องตลาดยางพารา ยังคงเป็นประเด็นหลักที่มีความสำคัญ ที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า หลังจากจัดตั้งตลาดกลางเพิ่มอีก 6 จุด ที่ จ.สงขลา จ.นครศรีธรรมราช จ.สุราษฎร์ธานี จ.ยะลา จ.หนองคาย และ จ.บุรีรัมย์ เมื่อต้นปี ยังไม่เพียงพอต่อการรองรับผลผลิตของเกษตรกรทั่วประเทศ สกย. จึงเร่งพัฒนาตลาดประมูลยางท้องถิ่น ทั้ง108 แห่ง ให้มีความพร้อม เพื่อขยายจุดรับซื้อให้เกษตรกร ทั้งนี้ หากมีโครงการช่วยเหลือจากรัฐบาล มั่นใจว่าตลาดประมูลยางท้องถิ่นทั้ง 108 แห่ง จะสามารถเป็นศูนย์กลางการรับซื้อยาง เพื่อนำไปจำหน่ายเข้าโครงการของรัฐบาลได้ ช่วยลดต้นทุนการเดินทางของเกษตรกรที่ต้องไปจำหน่ายผลผลิตถึงตลาดกลาง และเป็นการส่งเสริมการรวมกลุ่มเพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคา สร้างความเข้มแข็งในการต่อรองซื้อขายผลผลิตยางให้แก่เกษตรกรรายย่อย

นอกจากการขยายตลาดยางพาราภายในประเทศ รัฐบาลยังมีการเจรจากับกลุ่มผู้ประกอบการต่างประเทศ เพื่อทำสัญญาซื้อขาย เบื้องต้นคาดว่าประมาณ 2 แสนตัน จึงน่าจะเป็นประโยชน์ในแง่ของการตลาดที่รัฐบาลเปิดทางให้เกษตรกรตลอดช่วงฤดูกาลเปิดกรีดใหม่

ด้านสถาบันเกษตรกรนิติบุคคลที่ได้รับการอนุมัติวงเงินกู้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อปรับปรุงโรงงานแปรรูปยาง ขณะนี้คาดว่ายังอยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง จึงอยากฝากให้สถาบันเกษตรกรเหล่านี้ ดำเนินการก่อสร้างอย่างมีประสิทธิภาพคุ้มกับต้นทุน เพราะถือเป็นอีกก้าวในการสนับสนุนสถาบันเกษตรกรให้มีแหล่งผลิตและแปรรูปยางที่มีคุณภาพ ตรงตามความต้องการของตลาด ซึ่งส่งผลถึงการพัฒนาคุณภาพยางพาราของประเทศในภาพรวมต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO