สมาคมจีเอสเอ็ม (GSMA) องค์การบริหารทรัพยากรโดเมนโลก (ICANN) สหภาพโทรคมนาคมนานาชาติ (ITU) และอินเทอร์เน็ตโซไซตี้ (iSOC) เปิดเผยรายงานที่ระบุว่าการพัฒนาสู่สังคมดิจิทัลจะมีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาที่ท้าทายหลักๆ ที่ประเทศในเอเชียกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงบริการหลักๆ รวมทั้งการจัดการในกรณีที่มีมหันตภัย เพื่อให้มั่นใจว่าการบริการยังสามารถดำเนินอย่างต่อเนื่อง และสามารถใช้ระบบที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
องค์กรต่างๆ เหล่านี้ต่างทำวิจัยในนามของแต่ละองค์กร ที่ให้ผลสรุปที่คล้ายคลึงกัน รวมทั้งให้คำแนะนำที่ตรงกันว่าดิจิทัลและโมบายล์ เทคโนโลยี จะมีส่วนทำให้เศรษฐกิจและการตลาดของประเทศก้าวหน้าขึ้น รวมทั้งสามารถแก้ไขปัญหาจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและการโยกย้านถิ่นฐานจากชนบทสู่เมือง ซึ่งเกิดขึ้นในหลายประเทศในแถบอาเซียน ทั้งนี้ผลการวิจัยได้รับการเปิดเผยใน "การประชุมนโยบายสังคมดิจิทัลประจำปี 2015 โดยสมาคมจีเอสเอ็มและไอทียู (GSMA-ITU Digital Societies Policy Forum 2015) ซึ่งจัดขึ้นวันนี้ (25 มิ.ย.) ที่โรงแรมเชอราตัน แกรนด์ สุขุวิท กรุงเทพฯ
ในโอกาสนี้ มร.คริส ซุล Spectrum Director ของสมาคมจีเอสเอ็ม ประจำภาคพื้นเอเชีย กล่าวว่า "พัฒนาการของเทคโนโลยีโมบายล์บรอดแบนด์แบบไฮสปีดบวกกับสมาร์ทโฟนที่มีแพร่หลายในปัจจุบัน ทำให้โมบายล์เทคโนโลยีเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเชื่อมต่อและเนื้อหาซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในสังคมดิจิทัล เครือข่ายไร้สายในปัจจุบันสามารถครอบคลุมพื้นที่ที่กว้างขึ้น ด้วยประสิทธิภาพที่ดีขึ้น และด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าเทคโนโลยีอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กำลังเกิดใหม่ที่มีเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานแบบใช้สายที่ยังด้อยพัฒนาและยังไม่พัฒนาเป็นสังคมเมืองมากนัก"
ความร่วมมือระหว่างองค์กร
การประชุมนโยบายดิจิทัลเพื่อสังคมและทรัพยากรความรู้ประจำปี 2015 โดยสมาคมจีเอสเอ็มและไอทียู ซึ่งเป็นงานแรกที่สมาคมจีเอ็มเอสและไอทียูร่วมกันจัดขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนจากไอคานน์และไอซอก งานนี้รวบรวมผู้บริหารระดับที่มีอำนาจการตัดสินใจ ผู้บริหารระดับนโยบาย ผู้อยู่ในอุตสาหกรรมและผู้ส่วนเกี่ยวข้องในงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) จำนวนกว่า 100 คน เพื่อเข้าร่วมลงความเห็นในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับนโยบายสังคมดิจิทัลในภูมิภาคเชีย แปซิฟิก รวมทั้งร่วมกันพิจารณานโยบายของชาติที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมดิจิทัลโดยใช้กรอบของผลการวิจัยและนโยบายอื่นๆ การประชุม
ครั้งนี้ยังพุ่งประเด็นไปที่ความสำคัญของนโยบายด้านคลื่นความถี่และประเด็นเรื่องลิขสิทธิ์ของโมบายล์บรอดแบนด์ โดยผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายประเทศร่วมแสดงความเห็นเกี่ยวกับเทรนด์ของโลกด้านเทคโนโลยีและความต้องการเกี่ยวกับคลื่นความถี่ รวมถึงอุปสรรคและโอกาสที่จะเกิดขึ้นระหว่างการก้าวไปสู่สังคมดิจิทัลทั่วภูมิภาคซึ่งมีความแตกต่างกัน
การประชุมนโยบายสังคมดิจิทัล นำผู้เกี่ยวข้องหลักๆ ทั้งรัฐบาลและผู้ให้บริการมาทำงานร่วมกันเพื่อให้มั่นใจว่า เทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับโมบายล์เทคโนโลยีในแต่ละประเทศสามารถตอบโจทย์ของการพัฒนาสู่สังคมดิจิทัลได้ ทั้งนี้การจะประสบความสำเร็จได้จำเป็นต้องมีคลื่นความถี่เพียงพอ รวมทั้งมีเงื่อนไขด้านภาษีที่ดึงดูดการลงทุนมากพอ รวมถึงแคมเปญสร้างการรับรู้เกี่ยวกับการบริการด้านดิจิทัล ที่ควรจะมีมากพอในหลากหลายช่องทางและในภาษาต่างๆ ปัจจุบัน มี 6 ประเทศในภูมิภาคที่เข้าร่วมในแนวคิดเกี่ยวกับสังคมดิจิทัล ประกอบด้วย บังคลาเทศ อินเดีย อินโดนีเชีย มาเลเชีย ปากีสถาน และประเทศไทย โดยประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่จัดการประชุมนี้