เปิดเทศกาลภาพยนตร์ไทยในลอนดอน

ศุกร์ ๒๖ มิถุนายน ๒๐๑๕ ๐๙:๕๔
เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2558 นายกิตติพงษ์ ณ ระนอง เอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน เป็นประธานกล่าวเปิดงานเทศกาลภาพยนตร์ไทยในลอนดอน โดยมี นางสาวจันทร์สุดา รักษ์พลเมือง รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ ได้แก่ นายวีระศักดิ์ โค้วสุรัตน์ นายเกียรติชัย พงษ์พาณิชย์ นายนคร วีระประวัติ นางสาวสุวรรณี ชินเชี่ยวชาญ และนายศิริศักดิ์ คชพัชรินทร์ นายนิธิวัฒน์ ธราธร นางสาวไลลา บุญยศักดิ์ ผู้กำกับและนักแสดงนำภาพยนตร์เรื่อง "คิดถึงวิทยา" ร่วมพิธีเปิดงานเทศกาลภาพยนตร์ไทยในลอนดอน ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25-27 มิถุนายน 2558 ณ สถาบันศิลปะ ภาพยนตร์และโทรทัศน์แห่งอังกฤษ (British Academy of Film and Television Arts หรือ BAFTA) กรุงลอนดอน

นายกิตติพงษ์ ณ ระนอง เอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จัดโครงการไทยแท้แท้ (Totally Thai) เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ได้คัดเลือกภาพยนตร์ที่มีความหลากหลาย จำนวน 7 เรื่อง ได้แก่ 1.คิดถึงวิทยา (จีเอ็มเอ็ม ไท ฮับ) 2.แผลเก่า (สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล) 3.ปู่สมบูรณ์ (ณ๊อบ โปรดักชั่นส์) 4.ต้มยำกุ้ง 2 (สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล) 5.เกมปลุกผี (ไฟว์ สตาร์ โปรดักชั่น) 6.ภวังค์รัก (ฟาร์ซัน ฟิล์ม คิกเดอะแมทชีน เวอร์ติคอร์ฟิล์ม) และ7.พระมหาชนก (สมาคมประกอบการแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟฟิกไทย) สะท้อนความหลากหลายของไทยในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะด้านศิลปะวัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ กระทั่งอารมณ์ขันของคนไทย เป็นการประชาสัมพันธ์ให้ทราบว่าประเทศไทยมีศักยภาพด้านงานภาพยนตร์ ได้รับเลือกจากผู้สร้างภาพยนตร์ต่างชาติใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์อยู่สม่ำเสมอ เพราะมีทั้งทีมงานที่เป็นมืออาชีพ และมีอุปกรณ์ต่างๆ ครบคลัน พร้อมสนับสนุนกองถ่ายจากต่างประเทศ เราสามารถใช้วัฒนธรรมที่ดูนุ่มแต่เป็นจุดแข็งของไทยมานำเสนอให้ชาวต่างชาติรู้จักประเทศไทย เช่น อาหาร หรือด้านอื่นๆ

เอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน กล่าวต่อว่า การจัดงานครั้งนี้ได้มีประชาชนผู้สนใจเข้าชมมากมาย อีกทั้งมีการเชิญเอกอัครราชทูตจากเมืองต่างๆ มาร่วมกิจกรรมเพื่อเป็นกระบอกเสียงในการประชาสัมพันธ์งานต่อไป การทำภาพยนตร์ที่จะฉายในต่างประเทศควรจะต้องศึกษาตลาดผู้ชมในต่างประเทศด้วย ยกตัวอย่างเช่นภาพยนตร์ไทยบางเรื่องที่ได้รับรางวัลในต่างประเทศอาจไม่เป็นที่รู้จักในประเทศไทย ภาพยนตร์ที่ทำเงินในประเทศไทยกลับไม่ค่อยประสบความสำเร็จในเวทีประกวดจากต่างประเทศ ดังนั้นการสร้างภาพยนตร์เพื่อฉายในต่างประเทศจึงควรศึกษาผู้ชมในประเทศนั้นๆ ด้วย

เอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน กล่าวทิ้งท้ายว่า หวังว่าการจัดกิจกรรมนำภาพยนตร์ไทยมาฉายในต่างประเทศแบบนี้จะมีจัดต่อเนื่องทุกปี เพื่อให้คนต่างชาติรู้จักประเทศไทย อีกทั้งการส่งภาพยนตร์ไทยไปในเวทีประกวดต่างประเทศอย่างต่อเนื่องจะทำให้คนต่างชาติรู้จักประเทศไทยมากขึ้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ