สบส.ลงพื้นที่ตรวจสอบมาตรการรองรับผู้ป่วยโรคไวรัสเมอร์สในโรงพยาบาลเอกชน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประเทศไทยในการรับมือโรคไวรัสเมอร์ส

จันทร์ ๒๙ มิถุนายน ๒๐๑๕ ๑๔:๐๒
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข ลงพื้นที่ตรวจสอบมาตรการเฝ้าระวัง มาตรการรองรับผู้ป่วย ในโรงพยาบาลเอกชน เพื่อเตรียมความพร้อมในการป้องกันโรคไวรัสเมอร์ส ย้ำโรงพยาบาลเอกชนหากพบผู้ต้องสงสัยต้องรับเข้า ทำการรักษา ตามมาตรการเข้มที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด หากฝ่าฝืนมีโทษร้ายแรง

น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการ (25 มิถุนายน 2558) พร้อมด้วย นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, ทพ.อาคม ประดิษฐสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ และเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมมาตรการการป้องกันโรคไวรัสเมอร์สในโรงพยาบาลเวชธานี กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่มีขนาด 200 เตียง และมีผู้ป่วยหรือผู้รับบริการเป็นชาวตะวันออกกลางจำนวนมาก เพื่อเตรียมความพร้อม และเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสดังกล่าว ในเบื้องต้นพบว่าโรงพยาบาลได้มีการเตรียมความพร้อมอย่างเข้มงวดคือ มีการปิดทางเข้าและจัดให้มีทางเฉพาะทางเข้า – ทางออกโรงพยาบาลเพียงทางเดียวเพื่อเป็นการคัดกรองผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยทุกคน โดยจะต้องผ่านเครื่องเทอร์โมสแกน บริเวณทางเข้า-ออกจำนวน 2 เครื่อง หากพบผู้ต้องสงสัยจะนำผู้ป่วยส่งต่อไปยังห้องวินิจฉัยโรค ซึ่งผู้ป่วยต้องสงสัยและบุคลากรต้องสวมหน้ากาก N95 ป้องกันและส่งตัวไปตรวจวินิจฉัยในห้องควบคุมโรค Isolation room หากพบอาการผู้ต้องสงสัยจะส่งตัวไปตรวจสอบสารคัดหลั่ง (SWAB) โดยใช้ช่องทางลิฟต์แยกโดยเฉพาะ (Isolation Elevator) ผู้ป่วยต้องสงสัยโรคไวรัสเมอร์สเท่านั้น เพื่อนำไปยังห้องควบคุมการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศ (Negative pressure) จำนวน 3 ห้อง และจะส่งผลไปตรวจยังโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ หรือกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถทราบผลได้ภายใน 6 ชั่วโมง พร้อมกันนี้ทางโรงพยาบาลได้จัดให้มีล่ามแปลภาษาอาราบิก เพื่อสื่อสารกับผู้ป่วยชาวตะวันออกกลางโดยเฉพาะตลอด 24 ชั่วโมง และได้กำหนดจุดบริการแก่ผู้มารับบริการ เช่น เจลล้างมือ หน้ากากอนามัย ทั้งนี้ทางโรงพยาบาลได้เน้นย้ำมาตรการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคไวรัสเมอร์สอย่างเข้มงวด โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของแพทย์ บุคลากร และผู้ป่วย เพื่อลดการแพร่ระบาด ป้องกันผู้ติดเชื้อเพิ่มในประเทศไทย และหากตรวจพบผู้ป่วยต้องสงสัยให้แจ้งทางกระทรวงสาธารณสุขทราบทันที หรือประสานสายด่วน กรมควบคุมโรค 1422 ทันที นอกจากนี้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ จะมีการลงพื้นที่เพื่อตรวจเข้มในโรงพยาบาลเอกชนอีก 50 แห่ง และคลินิกกว่า 200 แห่ง ในเขตกรุงเทพและปริมณฑลในสัปดาห์ถัดไป

นอกจากนี้ นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ได้เน้นย้ำให้โรงพยาบาลเอกชน ปฏิบัติตามมาตรการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดอย่างเข้มข้นโดยเฉพาะสถานพยาบาล ที่รับผู้ป่วยที่อยู่ในพื้นที่กลุ่มเสี่ยงเช่นชาวตะวันออกกลางซึ่งมารับบริการ ให้เข้าใจแนวทางการส่งต่อผู้ป่วย หากพบผู้ป่วยต้องสงสัย ต้องแจ้งความทันที หรือประสานไปที่ 1699 (หน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ศูนย์นเรนทร) เพื่อส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลที่มีความพร้อมในการรักษาผู้ป่วยต่อไป เนื่องจากกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หากโรงพยาบาลเอกชนและคลินิกใดฝ่าฝืน จะมีความผิดตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ และพ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 กรมสนับสนุนบริการสุขภาพจะดำเนินการตามกฎหมายอย่างเข้มงวดต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ