โกลเบิลอาร์ต จัดเสวนา "ไขความลับสมองสองซีกของอัจฉริยะระดับโลก"

จันทร์ ๒๙ มิถุนายน ๒๐๑๕ ๑๗:๐๒
โกลเบิล อาร์ต ชวนใช้ศิลปะกระตุ้นพัฒนาการ สร้างทักษะแห่งอนาคตไขความลับสมองสองซีกของอัจฉริยะระดับโลก

สถาบันสอนความคิดและพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ผ่านศิลปะ โกลเบิล อาร์ต แอนด์ ครีเอทีฟ จัดงาน เสวนาหัวข้อ "ศิลปะ ความคิดสร้างสรรค์ ปลูกฝังวิธีคิดเด็กยุคใหม่" เชิญกูรูด้านการศึกษา และ พ่อแม่ต้นแบบ ไขความลับศิลปะกับความสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการของลูก ชี้ศิลปะเสริมทักษะ แห่งอนาคต สร้างความสุข-สำเร็จ พัฒนาสมองสองซีกสร้างอัจฉริยะระดับโลกได้

คุณธานินทร์ เอื้ออภิธร ประธานกรรมการบริหาร เลิร์นบาลานซ์ กรุ๊ป กล่าวว่า " ผู้ปกครองทุกคนย่อมอยากเห็นลูกของตนเองประสบความสำเร็จและมีความสุข ซึ่งทักษะที่สำคัญมากในศตวรรษที่ 21 คือ 4 H ได้แก่ Heart, Hope, Hand และ Heart หัวใจหรือความรู้สึก คือ ทักษะการสื่อสาร Hope ความสามารถ ในการสร้างสิ่งใหม่ หรือ Creativity Hand ความสามารถในการลงมือทำและการร่วมมือกับคนอื่น และ Head ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลได้ โดยทั้งสี่ทักษะสามารถพัฒนาได้ด้วยศิลปะ เพราะเด็กมีความแตกต่างจากผู้ใหญ่ ไม่สามารถคิด เป็นนามธรรม หรือสื่อสารภาษาพูดและเขียนได้ดีพอ ศิลปะจึงเป็นตัวเลือกหนึ่ง ในเครื่องมือที่ช่วยให้เด็กแสดงออกความคิด ความรู้สึก ช่วยฝึกสมาธิ กล้ามเนื้อ ความเป็นตัวตนได้ดีที่สุด และเรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างดี"

โดยการเรียนศิลปะเพื่อพัฒนาศักยภาพของเด็กนั้นสามารถแบ่งออกเป็นช่วงวัยต่างๆดังนี้

อายุ 2-4 ปี (The Scribble Stage) เป็นช่วงวัยแห่งการทดลองใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่และเล็ก เด็กจะเริ่มเรียนรู้ความสนุกการจากได้ลองได้เล่นด้วยตนเอง สนใจลายเส้นง่ายๆ เช่น วงกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม และการเรียกชื่อ สิ่งต่างๆอย่างง่าย

อายุ 4-7 ปี (The Pre Schematic Stage) เด็กในวัยนี้เริ่มสร้างตัวแทนของคนสัตว์ สิ่งของ และบุคคล จะเริ่มสนใจสีต่างๆเป็นพิเศษเริ่มสนใจสัญลักษณ์ทางสังคม อย่างคำชมจากเพื่อนและจากอาจารย์มากเป็นพิเศษ มีพลังงานเยอะ อยากเรียนรู้ Self Center อยู่ในโลกของตนเอง ในช่วงวัยนี้หากพัฒนา อย่างถูกต้องเด็กจะมีจินตนาการที่ดี เนื่องจากพวกเขากำลังหาวิธีแสดงออกเพื่อแสดงตัวตนของพวกเขาอยู่

อายุ 7-9 ปี (The Schematic Stage) เด็กในวัยนี้เริ่มใช้สัญลักษณ์ เช่น การใช้หัวใจ แทนความรัก สีมืดแทนกลางคืน เด็กวัยนี้เริ่มอยู่กับตัวเองน้อยลง เริ่มพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กดีขึ้นจนสามารถเขียนและวาดอะไรที่ละเอียดได้มากขึ้นที่สำคัญคือเริ่มสังเกตลักษณะเฉพาะของบุคล เช่น การใส่แว่นตา ทรงผมต่าง หรือสิ่งต่างๆที่เป็นเอกลักษณ์ ของบุคคลมากขึ้น

อายุ 9-12 ปี (The Transitional Stage ) ช่วงวัยนี้เริ่มรับรู้ความเป็นจริงของโลก เด็กจะได้รับอิทธิพลจากเพื่อนเป็นอย่างมากจะให้รายละเอียดและใช้สัญลักษณ์ในการวาดภาพเป็นอย่างยิ่ง เพราะเขารู้สึกได้ถึงความต่างระหว่าง ตัวเอง เพื่อน และบุคคลอื่นๆ วัยนี้เป็นวัยเปลี่ยนผ่านระหว่างการใช้สมองซีกขวาไปสู่สมองซีกซ้ายจึงมีการใช้เหตุผล คิดถึงความถูกต้อง และความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น

อายุ 12-14 ปี (The Realistic Stage) เด็กจะเริ่มสนใจผลงานที่เหมือนจริง และเรื่องการยอมรับตัวตนของเขามากยิ่งขึ้น

อายุ 14 - 17 ปี (The Transitions Stage) เป็นช่วงวัยเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นผู้ใหญ่ในสังคม เป็นช่วงแห่งการตัดสินใจ

ในด้านการทำงานของสมอง จากการศึกษาของโรเจอร์ สเปอร์รี่ ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา (neurobiologist) เจ้าของรางวัลโนเบลในปี ค.ศ. 1981 ได้ศึกษาระบบและโครงสร้างการทำงานของสมอง เป็นการค้นพบความแตกต่างในการทำงานระหว่างสมองซีกซ้ายและสมองซีกขวา หน้าที่สมองซีกซ้าย ทำหน้าที่ในเรื่องของการใช้ภาษา การเขียน อ่าน ทักษะด้านตัวเลข การใช้เหตุผล ควบคุมการพูด ทักษะด้านวิทยาศาสตร์ การควบคุมการทำงานของมือขวา เราอาจเรียกการทำงานของสมองซีกนี้ได้ว่าเป็น "ส่วนของการตัดสิน" ส่วนหน้าที่สมองซีกขวา ทำหน้าที่ในเรื่องของความเข้าใจการเห็นภาพสามมิติ ความรู้สึกดื่มด่ำต่อศิลปะ ความมีสุนทรียะด้านดนตรี เพลง และการใช้จินตนาการในการดำเนินชีวิต รวมทั้งทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของมือซ้ายเราอาจเรียกสมองส่วนนี้ว่า "ส่วนของการสร้างสรรค์"

ผู้คนมีแนวโน้มที่จะมุ่งเน้นการใช้สมองซีกขวาหรือซีกซ้ายมากเกินไป จะทำให้ศักยภาพ และความสามารถในการแสดงออกไม่สามารถปลดปล่อยออกมาได้ ในลักษณะที่เหมาะสมกับเวลา เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะทำให้เด็กพัฒนาสมองทั้งสองด้านให้สมดุลกัน เพราะเมื่อเด็กๆได้รับการพัฒนาสมองด้านขวา ทำให้มิติของการใช้สมองด้านซ้ายและการเชื่อมโยงของสมองทั้งสองด้านดีขึ้นอย่างมาก สมองด้านขวาเก็บข้อมูลครั้งละมากและแม่นยำ สมองด้านซ้ายจัดการเรียบเรียง จากนั้นทำงานร่วมกันเพื่อแสดงผลออกมาเด็กๆมีเครื่องมือที่ดีขึ้นในการเรียนทุกชนิด ไม่จำกัดแค่การเรียนหนังสือ ยังรวมไปถึงการเรียนดนตรีและเล่นกีฬาด้วย

การทำงานของสมองซีกขวาได้รับการจดบันทึกมาช้านานแล้วว่ามีประสิทธิภาพ ดังจะเห็นได้จาก มาร์คัส ที. ซิเซโร (Marcus T. Cicero) รัฐบุรุษและนักปราชญ์ชาวโรมัน ผู้มีชีวิตอยู่ในช่วง 2,500 ปีก่อน นักคิด นักเขียนผู้ฝึกกระบวนการจำโดยเชื่อมโยงกับเนื้อหาซึ่งคิดผ่านภาพในใจของสถานที่และสิ่งของ ที่เห็นเป็นประจำสามารถสร้างความจำผ่านจินตนาการ สามารถจดจำรายชื่อและที่นั่งของทุกคนที่เข้าประชุมพรรคได้ครบทุกคน หรือกรณีอัจฉริยะของโลก อย่าง อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ แต่ก่อนผู้คนคิดว่าสมองซีกซ้ายของเขาน่าจะพัฒนามากกว่าสมองซีกขวา แต่เมื่อมีการผ่าตัดสมองตามความประสงค์ของเขา กลับพบว่าสมองซีกขวามีการพัฒนามากกว่า

คุณธานินทร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า "ศิลปินชื่อดังอย่างลีโดนาโดดาวินชี นอกจากจะสร้างผลงานชื่อดังอย่างภาพวาดโมนาลิซ่าแล้ว ยังเป็นนักคิด นักประดิษฐ์ รวมถึงการจินตนาการสร้างสิ่งประดิษฐ์ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็น นาฬิกา เฮลิคอปเตอร์ ชุดดำน้ำที่มีถังอากาศ เครื่องบิน รถถัง ซึ่งกลายเป็นจริงในปัจจุบัน และในยุคที่ความรู้และกระบวนการหาความรู้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วนั้น สิ่งที่จะนำพาโลกให้ก้าวไปข้างหน้า ก็คือการสร้างนวัตกรรม (Innovations) ใหม่ๆ ซึ่งการสร้างนวัตกรรมนี้จำเป็นจะต้องใช้ ทั้งความรู้ และ จิตนาการของมนุษย์ ศิลปะจึงเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญ และเป็นทักษะแห่งอนาคตที่แท้จริง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ