นายทวีศักดิ์ แสงทอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท แซส ซอฟท์แวร์ (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวว่า ทิศทางแนวโน้มปริมาณข้อมูลนับวันจะมีมหาศาล โดยจะเห็นได้ว่าในปี 2556 มีปริมาณข้อมูลดิจิทัลถูกสร้างขึ้นถึง 3.5 เซตตาไบท์ (Zettabytes) และคาดว่าภายในปี 2563 ตัวเลขดังกล่าวจะเพิ่มเป็น 44 เซตตาไบท์ ทั้งนี้ แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมโนภาพถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับปริมาณข้อมูลมหาศาลขนาดนั้น แต่นั่นคือความเป็นจริงของยุคที่ เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์และ เครื่องมือต่าง ๆ ที่เราเรากันว่า Internet of Thing ( IoT ) หรืออินเทอร์เน็ตสำหรับทุกสิ่ง
ซึ่งไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่มีปริมาณมาก ( Volume), มีรูปแบบหลากหลายมาก( Variety) หรือแม้แต่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลตลอดเวลาและรวดเร็ว ( Velocity) ขนาดไหน เทคโนโลยีของ แซส ก็สามารถช่วยลูกค้าให้สามารถนำสินทรัพย์ที่เป็นข้อมูลเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่และเหมาะสม
หนึ่งในเทคโนโลยีวิเคราะห์ข้อมูลที่ออกมารุกตลาดแล้ว และสร้างความน่าสนใจให้กับวงการการตลาดในเวลานี้ คือ IoT ซึ่งก็คือเทคโนโลยี SAS® Event Stream Processing มีคุณสมบัติสามารถทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ถูกสตรีมมิ่งได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งข้อมูลที่ส่งมาจากอุปกรณ์ตรวจจับความเคลื่อนไหน (sensors), ระบบ (Systems), เครื่องจักร (machines), เว็บไซต์ (websites), และแอพพลิเคชั่น (applications) ด้วยความสามารถของเทคโนโลยีในการวิเคราะห์หลายล้านเหตุการณ์ได้พร้อมกันภายใน 1 วินาที
ทั้งนี้ เทคโนโลยีวิเคราะห์ข้อมูล SAS® Event Stream Processing สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้ในหลายอุตสาหกรรม ยกตัวอย่างเช่น
ตลาดทุน เพื่อตรวจจับและป้องกันพฤติกรรมการฉ้อโกงในการซื้อขายหลักทรัพย์
ระบบสาธารณูปโภคเพื่อการเลือกแหล่งพลังงานที่เหมาะสมที่สุดในแต่ละช่วงเวลา
ระบบการดูแลสุขภาพ เพื่อระบุถึงความจำเป็นในการดูแลรักษาผู้ป่วยขั้นวิกฤติ
นอกจากนี้ เทคโนโลยีวิเคราะห์ข้อมูล SAS® Event Stream Processing ยังสามารถประยุกต์ใช้ในกรณีทางธุรกิจที่แตกต่างกันโดยครอบคลุมถึง การบำรุงรักษาสินทรัพย์ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญ ที่เป็นส่วนประกอบของแนวคิดการผลิต (Operational predictive asset) เพื่อระบุถึงปัญหา ตลอดจนแก้ไขได้อย่างเหมาะสมที่สุดก่อนที่ปัญหาจะเกิดขึ้น
สนับสนุนการทำงานในลักษณะส่งมอบข้อเสนอทางการตลาดแบบเพอร์ซันนัลไลซ์ให้กับลูกค้าระห่างการจับจ่ายซื้อสินค้า/บริการ
เทคโนโลยีสามารถระบุโอกาสที่จะเกิดการโจมตีทางไซเบอร์ที่มีเป้าประสงค์ร้าย
นายทวีศักดิ์ แสงทอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท แซส ซอฟท์แวร์ (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัท ได้ทำการเปิดตัวเทคโนโลยี SAS® Event Stream Processing เวอร์ชั่นใหม่ล่าสุด ซึ่งมาพร้อมคุณสมบัติใหม่ๆ ที่เป็น web – based user interface ที่ผู้ใช้งานสามารถสร้างแบบจำลองการประมวลผลเหตุการณ์จำนวนมากๆ พร้อมกันได้ (event stream processing) ผ่านทางโปรแกรมที่ลงไว้ในอุปรกณ์ และอุปกรณ์นั้นเชื่อมกับระบบอินเทอร์เน็ต ทำให้ ณ วันนี้ลูกค้าของแซสไม่จำเป็นต้องว่าจ้างพนักงานที่มีความชำนาญพิเศษ เพื่อมาทำหน้าที่ปรับแต่งและดูแลแบบจำลองการประมวลผลเหตุการณ์จำนวนมากๆ หรือแอพพลิเคชั่นด้านนี้อีกต่อไป เพราะด้วยการออกแบบการควบคุมทิศทางด้วยระบบ "ชี้และเลือก" (point-and-click) ช่วยให้แบบจำลองที่ซับซ้อนที่สุดกลายเป็นแบบจำลองง่ายๆ ไปในทันที
รวมทั้งคุณสมบัติอื่นๆ ที่เพิ่มเติมเข้ามา ยังครอบคลุมทั้งระบบการส่งสัญญาณ (adapters) ใหม่ : REST Adapter – โดยมีการผสาน web service ไว้ใน SAS Real Time Decision Manager; Sniffer Connector – สำหรับการเฝ้าระวังเครือข่าย และ Twitter adapter เพื่อการประมวลผลข้อความทวิตเตอร์จำนวนมากพร้อมกันแบบเรียลไทม์ ซึ่งเทคโนโลยีSAS® Event Stream Processing ในเวอร์ชั่นล่าสุดนี้ ยังรวมถึงหน้าต่างบอกสถานการณ์ทำงานต่างๆ ได้แก่ หน้าต่างแสดงการแจ้งเตือน (notification window) หน้าต่างแสดงการนับค่าจำนวน (counter window) หน้าต่างข้อมูลหมวดหมู่ (text category window) หน้าต่างแสดงความคิดเห็น (sentiment window) และหน้าต่างแสดงการทำงาน (function window) ที่ล้วนรองรับการประมวลผลข้อมูลในรูปแบบการทำงานที่เป็น XML,JSON และข้อมูลที่ไม่ถูกจำกัดด้วยรูปแบบ (free-form data)
" ข้อมูลหลั่งไหลเข้ามาพร้อมๆ กันหลายล้านเหตุการณ์ในแต่ละวินาที จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องมีความสามารถในการตรวจจับรูปแบบของความสนใจ และการกำหนดลำดับความสำคัญได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ แทนที่จะต้องทำการทยอยส่งคำสืบข้อมูลเข้าไปยังระบบสำหรับแต่ละข้อมูลที่จัดเก็บอยู่ เทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูล SAS® Event Stream Processing จะทำการจัดเก็บคำสืบค้นคืนข้อมูล และเข้าไปทำงานกับข้อมูลจำนวนมหาศาลพร้อมๆ กันในแต่ละครั้ง ทั้งการกรองข้อมูล ทำการรวมและตรวจจับรูปแบบข้อมูลแบบเรียลไทม์ ซึ่งความสามารถเหล่านี้เป็นเครื่องมือที่ฝังอยู่ในเทคโนโลยีแซส ซึ่งสามารถถูกนำไปใช้เพื่อกำหนดข้อมูลเชื่อมโยงในเวลาที่ต้องการปฏิบัติการได้ทันที หรือในที่ๆ ข้อมูลเหล่านั้นจำเป็นสำหรับสถานการณ์ที่ต้องมีการเฝ้าระวัง และในจุดที่ข้อมูลควรถูกจัดเก็บสำหรับการวิเคราะห์ในเชิงลึกยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ผลลัพธ์จากการทำงานของเทคโนโลยีวิเคราะห์ข้อมูล SAS® Event Stream Processing สามารถนำไปใช้ได้โดยตรงอย่างไร้ขีดจำกัด กับทั้งเทคโนโลยี Hadoop, LASR และคลังเก็บข้อมูลสารสนเทศขนาดใหญ่อื่นๆ และด้วยการบูรณาการโซลูชั่นด้านการวิเคราะห์ของแซส จะช่วยให้ลูกค้ามีความสามารถในการจัดการ และทำการวิเคราะห์ตลอดจนได้ข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์จากข้อมูลจำนวนมหาศาลที่มาจากหลายแห่งพร้อมกัน โดยการวิเคราะห์สามารถทำได้ทั้งแบบภายในและภายนอกแหล่งข้อมูลด้วยการจัดลำดับคะแนน การวิเคระห์ข้อมูลขั้นสูงของแซส, แบบจำลองเชิงพยากรณ์, การคาดการณ์ และการตัดสินใจที่ดีที่สุด" นายทวีศักดิ์ กล่าวสรุป