จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดฟรีพื้นที่สยามสแควร์วัน ให้นิสิตสร้างแบรนด์ โชว์ผลงาน

อังคาร ๓๐ มิถุนายน ๒๐๑๕ ๑๑:๑๖
เมื่อเร็วๆ นี้ นายบุญส่ง ศรีสว่างเนตร (ที่สองจากขวา) ผู้อำนวยการ สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับผู้แทนนิสิตที่เข้าร่วมโครงการ นายกฤษกร นพรัตนาวงศ์ (แรกขวา) นิสิตเจ้าของแบรนด์ Carte Blanche นางสาวเพ็ญภัค แจ้งพลอย (ที่สองจากซ้าย) นิสิตเจ้าของแบรนด์ Beatbook และ นายพสุ เรืองปัญญาโรจน์ (ซ้าย) นิสิตเจ้าของแบรนด์ Pasu เปิดโครงการ "จุฬาฯ ชวนอวดของ มาลองดีที่สยามสแควร์ วัน" โดยจุฬาฯ เปิดพื้นที่สาธารณะส่วนกลางและคูหาร้านค้าภายในศูนย์การค้าสยามแสควร์ วัน กว่า 1,000 ตารางเมตร มอบโอกาสให้นิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษาทุกสถาบันทั่วประเทศ ได้มาทดลองเปิดธุรกิจและสร้างแบรนด์ ส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และสร้างรายได้ เพื่อใช้เป็นทุนการศึกษา โดยไม่เสียค่าเช่าพื้นที่ตลอดระยะเวลาโครงการ

สำหรับนิสิต นักศึกษาที่สนใจเข้าร่วมจำหน่ายสินค้าในโครงการ จุฬาฯ ชวนอวดของ มาลองดีที่สยามสแควร์ วัน หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจเข้ามาร่วมงาน สามารถติดต่อได้ที่ สำนักงานสยามสแควร์วัน โทรศัพท์ 091-545-3804 อีเมล์ [email protected] เว็บไซต์ : www.siamsquareone.com Facebook Fanpage : www.facebook.com/siamsquareone

เครื่องประดับแบรนด์ PASU it's alive

นายพสุ เรืองปัญญาโรจน์ คณะศิลปกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หมายเลขโทรศัพท์ 094-434-1911

จุดเด่น แหวนกลไลขยับได้หนึ่งเดียวในโลก เครื่องประดับที่ผสมผสานระหว่างนวัตกรรมกลไกการขยับเพื่อเพิ่มปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวผู้สวมใส่และตัวเครื่องประดับ เป็นการบ่งบอกตัวตนของผู้สวมใส่ มีลูกเล่นที่พร้อมจะสร้างความตื่นเต้นและความแปลกใหม่ให้กับเครื่องประดับในปัจจุบัน สร้างความตื่นเต้นให้กับผู้ที่พบเห็น

แรงบันดาลใจ ต้องการหลีกหนีสิ่งที่มีอยู่เดิม และต้องการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้ผู้คนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับเครื่องประดับได้ นำไปสู่การเสริมประสบการณ์ร่วมระหว่างผู้สวมใส่เครื่องประดับและตัวเครื่องประดับเอง โดยนำหลักจิตวิทยาว่าด้วยเรื่องของการดึงดูดความสนใจด้วยสิ่งของที่เคลื่อนไหวมาเป็นกลไกลหลัก จึงเกิดสิ่งนี้ขึ้น

สมุดทำมือ BeatBook

นางสาวเพ็ญภัค แจ้งพลอย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หมายเลขโทรศัพท์ 081-245-5326

จุดเด่น สมุดทำมือ แต่ละเล่มนั้นจะมีเพียงหนึ่งเดียวในโลก ด้วยเสน่ห์ของการตัดเย็บและลวดลาย กอปรกับการใช้วัสดุหรือวิธีการเย็บลวดลายที่มีการพัฒนาต่อเนื่อง เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่เสมอ เพราะการเย็บในแต่ละครั้งที่ทำจากมือคนนั้นย่อมแตกต่าง นอกจากนั้น BEATBOOK ยังพัฒนาสิ่งใหม่ๆมาเสมอ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างทั่วถึง โดยการหาไอเดียใหม่ๆที่ทำให้สมุดน่านำไปใช้สอย ทำให้มีความสุขกับการทำงานหรือการจดบันทึก ซึ่งราคาก็ประหยัดและย่อมเยาว์ เป็นราคาที่จับต้องได้ สวยไม่แพ้สมุดจากโรงงาน และยังมีสเน่ห์ของการทำมืออีกด้วย

แรงบันดาลใจ ด้วยความที่เป็นคนชอบจดบันทึกเรื่องราวต่างๆ ทั้งการเรียน ส่วนตัว ได้เห็นถึงโอกาสของช่องทางสมุดจดงานที่ยังขาดความสร้างสรรค์อยู่ จึงอยากให้คนได้จด ได้เขียน บันทึกการงานต่างๆ ได้อย่างสนุกและสร้างแรงบันดาลใจมากยิ่งขึ้น

ผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง Carte Blanche

นายกฤษกร นพรัตนาวงศ์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หมายเลขโทรศัพท์ 084-637-1985 และ 081-452-8118

จุดเด่น เครื่องหนังที่มีความแตกต่างและตอบสนองต่อการดำรงชีวิตในปัจจุบัน โดดเด่นด้วยรูปลักษณ์แปลกใหม่ และสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ จัดระบบในชีวิต

แรงบันดาลใจ โดยส่วนตัว เป็นคนชอบใช้เครื่องหนังเป็นอย่างมาก และรู้สึกอยากได้เครื่องหนังที่ตอบโจทย์ของตัวเองมากที่สุด แต่ยังไม่สามารถหาได้จากในตลาด จึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์นี้ขึ้นมา

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ