ความร่วมมือ ไทย-บราซิล สองยักษ์ใหญ่ฮาลาลโลก

พุธ ๐๑ กรกฎาคม ๒๐๑๕ ๑๕:๒๒
มุสลิม 1,800 ล้านคนในโลกทุกวันนี้คือหนึ่งในสี่ของประชากรโลก อาศัยอยู่ในประเทศสมาชิกองค์การความร่วมมือประเทศอิสลามหรือโอไอซี (Organization of Islamic Cooperation) จำนวน 1,280 ล้านคน อยู่นอกประเทศสมาชิกโอไอซีอีก 520 ล้านคน มุสลิมทั้งหมดต้องการบริโภคอาหารฮาลาลด้วยกันทั้งนั้น

รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ฮาลาลเป็นภาษาอาหรับแปลว่า "อนุมัติ" คนจำนวนไม่น้อยเข้าใจว่าฮาลาลหมายถึงเฉพาะอาหารซึ่งเป็นความเข้าใจผิด ฮาลาลครอบคลุมทั้งอาหาร สิ่งที่มิใช่อาหาร และบริการต่างๆ อาทิเช่น ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องอุปโภค ผลิตภัณฑ์ยา บริการทางการแพทย์ การเงินธนาคาร โลจิสติกส์ การท่องเที่ยว แม้กระทั่งไอซีที"

"ตลาดยุโรปและอเมริกาเหนือในวันนี้สนใจผลิตภัณฑ์ฮาลาลมากขึ้นในฐานะผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ในวันนี้ตลาดฮาลาลเฉพาะอาหารอาหารในโลกนี้มีมูลค่าประมาณ 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินบาทไทยสูงถึง 33 ล้านล้านบาทต่อปี หากนับรวมผลิตภัณฑ์ที่มิใช่อาหารด้วยแล้ว ตลาดฮาลาลมีมูลค่าการตลาดสูงถึง 1.8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อปี โดยมีบราซิลเป็นผู้ส่งออกอาหารฮาลาลรายใหญ่ที่สุด ขณะที่ประเทศไทยได้รับการยอมรับว่ามีกระบวนการรับรองฮาลาลที่ใช้แนวทางศาสนารับรอง วิทยาศาสตร์รองรับที่ก้าวหน้าที่สุด นี่จึงเป็นที่มาของความร่วมมือของสองยักษ์ใหญ่ในตลาดฮาลาลของโลก

แม้บราซิลเป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าฮาลาลรายใหญ่ของโลก แต่ยังขาดความเชี่ยวชาญทางด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาล ต่างกับประเทศไทยที่มีศักยภาพและความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลในระดับสูงทำให้บราซิลให้ความสนใจงานด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลของประเทศไทยจึงได้ประสานความร่วมมือมาทางกระทรวงการต่างประเทศ ขอปรึกษาหารือเพื่อหาแนวทางเสริมสร้างศักยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลของบราซิลโดยประเทศไทยจะได้พันธมิตรศักยภาพสูงที่จะสนับสนุนงานด้านการตลาดเพื่อการส่งออกสินค้าฮาลาลไทยสู่ตลาดโลกด้วย"

ในงานความร่วมมือดังกล่าวกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศ สถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทยและศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดโครงการนำคณะผู้แทนฮาลาลไทยเยือนประเทศบราซิล เมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อเดินหน้าความร่วมมือครั้งสำคัญของทั้งสองประเทศ โดยไทยได้พบปะหารือกับหลายหน่วยงานของประเทศบราซิล อาทิ กระทรวงเกษตรและปศุสัตว์ของบราซิล สภาอุตสาหกรรมของนครรีโอเดอจาเนโร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ FIOCRUZ และที่สำคัญคือ การลงนามความร่วมมือกับองค์กรมุสลิมหลักของบราซิลคือ Federation of Muslim Associations in Brazil (FAMBRAS)

รศ.ดร.วินัย กล่าวเสริมว่า "บราซิลใช้ศักยภาพของชาวอาหรับอพยพเป็นตัวขับเคลื่อนกิจกรรมฮาลาล ประกอบกับเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยและมีวัตถุดิบปศุสัตว์ราคาถูก รวมถึงการสนับสนุนจากภาครัฐ บราซิลจึงได้เปรียบในการแข่งขัน ทั้งนี้ FAMBRAS ได้ก่อตั้งสถาบัน Brazilian Islamic Center for Halal Food Stuff หรือCibal Halal ทำหน้าที่ตรวจสอบและกำกับดูแลเพื่อให้สินค้าที่ผลิตเพื่อการส่งออกมีคุณภาพตามมาตรฐานฮาลาล มีการส่งผู้เชี่ยวชาญออกไปตรวจสอบบริษัทหรือโรงงานต่างๆ ที่ผลิตสินค้าอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้บราซิลยังผูกเรื่องฮาลาลเข้ากับงานความรับผิดชอบของสังคมหรือ CSR เช่น การดูแลฮาลาลให้ปลอดจากแรงงานผิดกฎหมายรวมถึงแรงงานทาสด้วยเพื่อป้องกันปัญหาต่างๆ อย่างไรก็ตาม บราซิลยอมรับว่าเทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลของประเทศไทยมีความก้าวหน้าจึงขอเรียนรู้"

ในการนี้ รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำเสนอผลงานของฮาลาลประเทศไทยและ Thailand Diamond Halal ให้ทางบราซิลได้ศึกษาแนวทาง ทั้งสองฝ่ายยืนยันความร่วมมือเพื่อพัฒนาศักยภาพฮาลาลของทั้งสองประเทศให้ก้าวไกลในตลาดฮาลาลโลกต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๘:๒๕ หอการค้าไทย-อิตาเลียน จัดพิธีมอบรางวัลอันทรงเกียรติ Ospitalit? Italiana ครั้งที่ 11 เชิดชูร้านอาหารอิตาเลียนทั่วไทยที่สะท้อนวัฒนธรรมอิตาเลียนอันโดดเด่นและเป็นเลิศ
๐๘:๒๐ เปิดประตูสู่การเรียนรู้ระดับสากล! ม.ศรีปทุม MOU กับ WCC Aeronautical and Technological College ฟิลิปปินส์
๐๘:๔๑ DEXON คว้างานใหญ่ NDT จากกลุ่ม ปตท.สผ. มูลค่ากว่า 300 ล้านบาท
๐๘:๔๔ ระบบขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแนวทางสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนของมหาวิทยาลัยพะเยาอย่างยั่งยืน
๐๘:๕๓ วัน แบงค็อก จับมือสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา จัดเวิร์คช็อปร่วมกับศิลปินระดับโลก คาลัม สกอตต์ และ ลอเรน ออลเรด
๐๘:๑๔ PDPC เตือนบริษัทเอกชน และหน่วยงานภาครัฐ ไม่ให้ละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเคร่งครัด พร้อมเปิดช่องทางร้องเรียนเพื่อปกป้องสิทธิของประชาชน
๐๘:๑๐ สถาบันปิดทองหลังพระฯ บูรณาการร่วมจังหวัดศรีสะเกษผลักดันซ่อมแซมและเสริมศักยภาพแหล่งน้ำในชุมชน เพิ่มประสิทธิภาพผลิตสินค้าเกษตรและสร้างรายได้ให้กับประชาชนอย่างยั่งยืน
๐๘:๑๗ โรงพยาบาลพระรามเก้า คว้ารางวัลเกียรติยศ SET AWARDS 2024 ประเภท Highly Commended Sustainability Awards
๐๘:๑๕ Bangkok Art Auction จัดงานประมูลศิลปะส่งท้ายปี The Iconic Treasure 2024 ผลงานกว่า 100 ชิ้น พร้อมชวนชมนิทรรศการก่อนการประมูล ตั้งแต่วันนี้ ถึง 10 พ.ย. 67 ณ
๐๘:๕๐ บินตรงจากแดนปลาดิบเสิร์ฟความอร่อยติดดาวกับเชฟมิชลินสตาร์ 1 ดาว ณ ห้องอาหารอูโนมาส ชั้น 54 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ฯ