สศอ. แนะ SMEs เร่งปรับปรุงการผลิต ใช้ “ระบบผลิตแบบอัตโนมัติ” หนีต้นทุนค่าแรงสูง

พฤหัส ๐๒ กรกฎาคม ๒๐๑๕ ๐๙:๓๔
สศอ. เร่งระดมสมอง เพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมและ SMEs ไทย ปรับเปลี่ยนระบบการผลิตมาใช้ระบบแบบอัตโนมัติที่ทันสมัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิต ลดต้นทุน รับมือกับปัญหาแรงงานทั้งด้านต้นทุนและการขาดแคลนแรงงาน รวมทั้งสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน

นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า การปรับต้นทุนแรงงานที่สูงขึ้นและการขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น ทำให้อุตสาหกรรมไทยต้องสูญเสียสถานภาพในการแข่งขัน ทั้งการแข่งขันในประเทศ และต่างประเทศ

สศอ. จึงเห็นความจำเป็นที่ต้องเร่งดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์การเพิ่มศักยภาพของอุตสาหกรรมไทยด้วย "ระบบการผลิตแบบอัตโนมัติ (Manufacturing Automation System)" ในปีงบประมาณ 2558 เพื่อสนับสนุนการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรม ที่ส่วนใหญ่ยังอาศัยเครื่องจักรกลแบบธรรมดา มาเป็นเครื่องจักรกลที่ควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์ หรือระบบการผลิตแบบอัตโนมัติที่ทันสมัย การปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ เข้าสู่ระบบการผลิตแบบอัตโนมัติ จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทย ให้สามารถรับมือกับปัญหาด้านแรงงานทั้งด้านต้นทุนแรงงานและการขาดแคลนแรงงาน รวมทั้งสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน

ผู้ประกอบการ SMEs ที่ใช้แรงงานเข้มข้น จึงควรมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและผลิตภาพของแรงงาน เช่น เพิ่มประสิทธิภาพของระบบสายพานการผลิต การบริหารจัดการ การลดต้นทุนโลจิสติกส์ ตลอดจนฝึกอบรมทักษะของแรงงานให้มีความหลากหลาย และสามารถใช้เทคโนโลยีในระดับสูงได้เพิ่มขึ้น เพื่อรองรับระบบและเครื่องจักรการผลิตแบบสมัยใหม่

"ระบบอัตโนมัติเข้ามีบทบาทในระบบการผลิตของสถานประกอบการขนาดใหญ่ ในอุตสาหกรรมของประเทศมาเป็นระยะเวลานานแล้ว และผู้ประกอบการ SMEs เริ่มตื่นตัวและนำระบบการผลิตแบบอัตโนมัติเข้ามาใช้บ้างแล้ว แต่ส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจในเทคโนโลยีระบบการผลิตแบบอัตโนมัติ กลยุทธ์การเลือกใช้หรือจัดหาระบบการผลิตแบบอัตโนมัติ ให้เหมาะสมกับระบวนการผลิตและความจำเป็นของสถานประกอบการ

การตัดสินใจลงทุนนำเครื่องจักรมาใช้ในโรงงานของ SMEs จำเป็นต้องพิจารณาความสามารถ ประสิทธิภาพและคุณสมบัติของเครื่องจักรว่า มีความคุ้มค่าต่อการลงทุนและคลอบคลุมงานที่ต้องการด้วย" ผู้อำนวยการ สศอ.

เมื่อเร็วๆ นี้ สศอ. จึงร่วมกับ สถาบันวิทยาการ-หุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี จัดการสัมมนา "ระบบการผลิตอัตโนมัติ ทางรอดของอุตสาหกรรมไทย" ภายใต้โครงการจัดทำยุทธศาสตร์การเพิ่มศักยภาพของอุตสาหกรรมไทยด้วยระบบการผลิตแบบอัตโนมัติ เพื่อระดมสมองหาแนวทางการเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตให้มีความรวดเร็ว แม่นยำ สินค้ามีคุณภาพ และลดต้นทุนการผลิต เป็นการเสริมสร้างอุตสาหกรรมไทยให้พัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันให้สูงขึ้นต่อไป

(ข้อความบรรยายใต้ภาพ)

นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เป็นประธานกล่าวเปิดการสัมมนา "ระบบการผลิตอัตโนมัติ ทางรอดของอุตสาหกรรมไทย" ภายใต้โครงการจัดทำยุทธศาสตร์การเพิ่มศักยภาพของอุตสาหกรรมไทยด้วยระบบการผลิตแบบอัตโนมัติ เพื่อระดมสมองหาแนวทางการเพิ่มศักยภาพของอุตสาหกรรมไทยด้วยการประยุกต์ใช้ระบบการผลิตแบบอัตโนมัติ จัดโดย สศอ. ร่วมกับ สถาบันวิทยาการ-หุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆ นี้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๕ เม.ย. Electronic Nose นวัตกรรมตรวจวัดกลิ่น! เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี กรมอนามัย ร่วม MOU กรมควบคุมมลพิษ และ 4 หน่วยงานรัฐ - เอกชน
๒๕ เม.ย. ITEL ประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 68 ไฟเขียวอนุมัติแจกวอร์แรนต์ฟรี ลุยขยายธุรกิจ
๒๕ เม.ย. สวทช. โดย นาโนเทค เฟ้นหา 8 ผู้ประกอบการ ต่อยอดนวัตกรรมสมุนไพรสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง
๒๕ เม.ย. คาเฟ่ แคนทารี ชวนมาลิ้มลองเมนูพิเศษประจำเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2568 อร่อยครบเครื่องทั้งรีซอตโตต้มยำ เครป
๒๕ เม.ย. ซีพี ออลล์ x มูลนิธิชาวปักษ์ใต้ ร่วมสนับสนุนทุนการศึกษาเพื่ออาชีพแก่เยาวชนในจังหวัดภาคใต้
๒๕ เม.ย. ซีพีแรม ดีเดย์ เปิดเวที FINNOVA 2025 : ยกระดับความรู้สู่นวัตกรรมอาหาร ปักหมุดไทยศูนย์กลางนวัตกรรมอาหารโลก
๒๕ เม.ย. ดีไซน์เพื่อชีวิตที่ไม่หยุดนิ่ง: อาดิดาส ออริจินอลส์ เผยโฉม ADIZERO ARUKU พร้อมพื้นรองเท้าแบบโปรเกรสซีฟ
๒๕ เม.ย. พรีโม จับมือ Q-CHANG จัดทัพทีมช่างกว่า 2,000 ทีม! ยกระดับบริการซ่อมห้องชุด ตอกย้ำแนวคิด Primo Happy Maker
๒๕ เม.ย. ครั้งแรก กับ Dance (แดนซ์) Glossy Body Hair Perfume Mist น้ำหอม 2-in-1 พร้อมเปิดตัวพรีเซ็นเตอร์คนใหม่ เก๋ไก๋ บุกใจกลางกรุง ชวนสาวๆ
๒๕ เม.ย. SCB CIO ชี้ 3 ปัจจัยกระทบตลาดการเงินฉุดสินทรัพย์ทั่วโลกผันผวน แนะระวังการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง เพิ่มน้ำหนักหุ้นกู้ระยะสั้นคุณภาพดี และ