- ๐๗:๒๐ พม. เปิดกิจกรรมเวทีคนเก่งสู่ตลาดแรงงานสร้างอาชีพ
- ๖ พ.ย. การเคหะแห่งชาติ ระดมกูรูด้านภัยพิบัติ " ตั้งรับ ปรับตัวกับภัยพิบัติ "
- ๖ พ.ย. พม. จับมือภาคีภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ร่วมขับเคลื่อนอนาคตที่อยู่อาศัย สร้างชุมชนอย่างยั่งยืน
วันนี้ (๒ ก.ค.๕๘) เวลา ๑๗.๐๐ น. ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว กรุงเทพฯ นายวิเชียร ชวลิต ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปพม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนแข่งรถในทาง ครั้งที่ ๑/๒๕๕๘ ว่าที่ประชุมได้รับทราบข้อมูลที่มีประโยชน์จากผลงานการวิจัยของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปนัดดา ชำนาญสุขภาควิชาจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งได้นำเสนอสถานการณ์ปัญหาและผลการวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ "จันทบุรีโมเดล" ที่มีการบูรณาการหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมกันดำเนินงานจนประสบความสำเร็จ เพราะปรากฎว่าไม่มีเด็กแว้นเกิดขึ้นอีกหลังจากที่ได้ทดลองทำ "จันทบุรีโมเดล"เพื่อแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนแข่งรถในทาง ทั้งนี้ ผู้แทนหน่วยงานต่างๆ เช่น กรุงเทพมหานคร กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ ฯลฯ ได้ร่วมกันให้ข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะ โดยเห็นว่าเด็กและเยาวชนต้องการพื้นที่สร้างสรรค์และสามารถเข้าถึงกิจกรรมหรือเข้าพื้นที่ทางสังคมได้ และที่สำคัญกิจกรรมหรือพื้นที่นั้นๆจะต้องตรงกับความต้องการและความปรารถนาของเด็กและเยาวชน เพราะเด็กเหล่านี้ต้องการแสดงอัตลักษณ์ตัวตนแห่งวัย ซึ่งผู้ใหญ่จะต้องสนับสนุนให้เด็กค้นหาอัตลักษณ์ตัวตนแห่งวัยที่ถูกต้อง เหมาะสม นอกจากนั้น ที่ประชุมเห็นว่าการจัดสนามแข่งรถให้เด็กและเยาวชนกลุ่มดังกล่าวไม่ใช่วิธีการแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ จะได้ไปดำเนินการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาดังกล่าวในภาพรวมตามกระบวนการ "จันทบุรีโมเดล" ซึ่งเป็นกระบวนวิธีแก้ไขแบบพิเศษโดยมีผลงานการวิจัยของ ศ.ดร.ปนัดดา ชำนาญสุข เป็นต้นแบบ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนแบบบูรณาการและเน้นการมีส่วนร่วม โดยในขั้นแรกจะขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาดังกล่าวในพื้นที่ที่มีปัญหาเด็กและเยาวชนแข่งรถในทางจำนวนมาก ได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ นครราชสีมา และอุบลราชธานี สำหรับในพื้นที่กรุงเทพฯ ได้กำหนดไว้ ๔ เขต คือ ดินแดง บางซื่อ หลักสี่ ลาดกระบัง