กระทรวงวัฒนธรรมหนุนอัตลักษณ์วัฒนธรรมจังหวัดชายแดนใต้เปิดประตูสู่อาเซียน

ศุกร์ ๐๓ กรกฎาคม ๒๐๑๕ ๑๗:๕๔
ศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวภายหลังการประชุมทางไกล เรื่อง การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยใช้อัตลักษณ์วัฒนธรรม โดยมีวัฒนธรรมจังหวัดนราธิวาส ยะลา ปัตตานี ผู้แทนของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าประชุม ว่า กระทรวงวัฒนธรรมดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในการขับเคลื่อนพื้นที่แหล่งศิลปวัฒนรรมอาเซียน และข้อเสนอของ พลเอก อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ชายแดนภาคใต้โดยใช้มิติของอาเซียนกับประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีการไหลบ่าทางวัฒนธรรมที่มีใกล้ชิดกัน มีการแบ่งปัน และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างกัน จึงได้ดำเนินการขับเคลื่อนให้พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมอาเซียน ระยะเร่งด่วนในช่วงเดือน กรกฎาคม – สิงหาคม 2558 โดยจะเชิญประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน มาจัดการแสดงทางวัฒนธรรม เช่น การแสดงลิเกฮูลู หนังตะลุง และหนังใหญ่ ที่เป็นที่นิยม แต่มีความต่างที่เป็นเอกลักษณ์ รวมถึงการส่งเสริมผ้าท้องถิ่น การแต่งกาย และแฟชั่น ซี่งมีลวดลายผ้าเฉาพะที่มีความงดงามและเอกลักษณ์ และจัดกิจกรรมอาหารฮาลาล ที่เป็นที่นิยม ซึ่งแต่ละแห่งต่างมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์

นอกจากนี้ ยังจัดสัมมนาเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับคัมภีร์ อัลกุรอาน สมัยโบราณที่มีการรวบรวมไว้หลายร้อยเล่ม ที่อยู่ระหว่างการจัดทำพิพิธภัณฑ์ โดยจะมีการจัดนิทรรศการในมิติของความศรัทธา และการท่องเที่ยวให้ประชาชนในพื้นที่และประเทศเพื่อนบ้านมาเคารพบูชาและเยี่ยมชม สอดคล้องกับการกระตุ้นส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดชายแดนภาคใต้ 3 เดือน 30,000 คน ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่มีการกิจกรรมต่างๆ อาทิ เทศกาลอาหารฮาลาลและอาหารจานเด็ด งานผลไม้เบตง บิ๊คไบค์อาเซียน อานาซีด และละครทางวัฒนธรรม อีกทั้งยังจัดฉายภาพยนตร์ละติจูดที่ 6 ที่นำเสนอเกี่ยวกับ ความรัก ความศรัทธา และสถานที่สำคัญต่างๆ เช่น มัสยิด พระราชวังเก่า ศาลเจ้าแม่ลิ้มก่อเหนี่ยว และอ่าวปัตตานี โดยการจัดกิจกรรมเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ (ศอ.บต.) ต้องการให้กระทรวงวัฒนธรรมดำเนินการ โดยได้มอบให้แต่ละหน่วยงานไปเตรียมรายละเอียดงบประมาณ เพื่อเสนอ ศอ.บต ต่อไป

"ทุกครั้งที่เรามองภาคใต้ว่าเป็นสุดชายแดนของประเทศ อยากให้มองในมุมกลับกันว่าชายแดนภาคใต้เต็มไปด้วยความงดงาม มีเสน่ห์ และยังสามารถเป็นประตูเปิดไปสู่อาเซียน ทั้งมาเลเซีย สิงคโปร์ บูรไน อินโดนีเซีย หากเราใช้ยุทธศาสตร์ในเชิงบวก จะลดภาพที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งและความน่ากลัว ของชายแดนใต้ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบรูณ์ ประชาชนมีความยิ้มแย้ม มีความสุข และเต็มไปด้วยศิลปวัฒนธรรมที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน การจัดกิจกรรมในลักษณะนี้เป็นประจำ จะเป็นการส่งเสริมความเข้าใจในมรดกร่วมทางวัฒนธรรม ที่จะสร้างความสงบสุขให้เกิดขึ้นได้ อีกทั้งยังส่งเสริมผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (CPOT) ในท้องถิ่น ที่สามารถเพื่อเพิ่มพูนรายได้ให้กับประชาชนและชุมชนอีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๐๐ โรงพยาบาลลานนา จัดอบรม ชาวลานนาร่วมใจ ต้านโรคภัยจากภาวะอ้วนลงพุง
๑๑:๑๕ ค้นหา รักแท้ ในมุมมองใหม่กับศูนย์ฯ สิริกิติ์ ในกิจกรรม ธรรมะในสวน ณ สวนเบญจกิติ 1 กุมภาพันธ์ 2568 นี้
๑๑:๑๐ เชฟรอน (ไทย) รุกเจาะตลาดน้ำมันเครื่อง เพื่ออุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
๑๑:๐๗ RML เปิดศักราชปี'68 มาแรง! หุ้นกู้มีหลักประกันขายหมดเกลี้ยง 100%
๑๑:๐๐ สมาคมดินโลก ร่วมกับ 4 หน่วยงาน ลงนามความร่วมมือเสริมสร้างการจัดการดินเพื่อเกษตรยั่งยืน
๑๐:๐๐ ศูนย์การค้าเครือเอ็ม บี เค ฉลองเทศกาลตรุษจีนสุดยิ่งใหญ่ CHINESE NEW YEAR 2025
๑๐:๐๐ ซัมซุง จัดงาน Live Human Display การแสดงสะท้อนการใช้ชีวิตสุดชิล เมื่อมี AI จาก Galaxy Tab S10 Series เป็นตัวช่วยในการทำงาน
๐๙:๐๐ รำไพพรรณีจับมือโรงเรียนในจันทบุรี พัฒนาทักษะภาษา สู่ความเป็นเลิศ
๐๙:๐๐ DITP แถลงข่าวตอกย้ำความสำเร็จ E-Academy ภายใต้แนวคิด Beyond Boundaries Transform Knowledge into Impact
๐๙:๐๐ เปิดให้จองแล้ว Samsung Galaxy S25 Series ผู้ช่วยส่วนตัวคนใหม่ของคนไทย พร้อมรับสิทธิพิเศษมากมาย