UWC ก้าวอีกขั้นซื้อโรงไฟฟ้าไบโอแก๊ส พร้อมพืชพลังงานกว่า 1,000 ไร่รับรู้รายได้ทันที โชว์รีเทิร์นสูง 35%

จันทร์ ๐๖ กรกฎาคม ๒๐๑๕ ๐๙:๑๔
เอื้อวิทยา จำกัด (มหาชน) หรือ UWCก้าวอีกขั้น หยิบชิ้นปลามัน เข้าซื้อโรงไฟฟ้าไบโอแก๊ส พร้อมพื้นที่ปลูกพืชพลังงานกว่า 1,000 ไร่ รับรู้รายได้ทันทีปีนี้ ผลตอบการแทนลงทุนสูงถึง 35%

นายพีรทัศน์ ธนรัชต์วัฒนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอื้อวิทยา จำกัด (มหาชน) หรือ UWC เปิดเผยว่า บริษัทฯได้เข้าลงทุนในสัดส่วน60% ในบริษัท พาราไดซ์กรีนเอนเนอยี่ จำกัดบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านโรงไฟฟ้า โดยจะมีทุนจดทะเบียน 250 ล้านบาท ร่วมทุนกับบริษัท เอสเอฟ ขอนแก่นจำกัด ซึ่งมีประสบการณ์ดำเนินธุรกิจฟาร์มในพื้นที่มากว่า 50 ปี ทั้งการทำฟาร์มไก่ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และการปลูกต้นเนเปียร์ซึ่งเป็นจุดแข็งในการทำธุรกิจเกษตรพลังงาน (Agro-Energy) โดยสามารถนำมาผลิตก๊าซชีวภาพ (Biogas) เพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งในปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพที่ผลิตไฟฟ้าใช้อยู่แล้ว และได้ยื่นขอขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

โดยการเข้าลงทุนของ UWC ในครั้งนี้ สามารถยกระดับและขยายธุรกิจด้านพลังงานของบริษัทฯได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญบริษัทฯจะสามารถรับรู้รายได้จากการแปรรูปพืชพลังงานได้ทันทีในปี 2558 และรายได้จะเพิ่มเป็นกว่า 320 ล้านบาทในปี 2559 เป็นต้นไป ส่วนกำไรก่อนหักภาษีและดอกเบี้ยคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 140 ล้านบาทซึ่งคิดเป็นอัตราผลตอบแทนการลงทุน(Project IRR) อยู่ที่กว่า 35% (ในสัดส่วนเงินกู้และเงินทุน 1:1)

"การลงทุนในครั้งนี้ของบริษัทฯ ถือเป็นก้าวสำคัญในการขยายธุรกิจด้านพลังงาน ที่สำคัญโปรเจกต์นี้มีความพร้อมอย่างยิ่งทั้งในเรื่องของเชื้อเพลิงที่จะนำมาผลิตไฟฟ้า และมีโรงไฟฟ้าที่พร้อมผลิตไฟฟ้าได้ทันที ที่สำคัญพาราไดซ์กรีนเอ็นเนอยี่เป็นบริษัทที่ทีรายได้อยู่แล้ว ซึ่งเราจะสามารถรับรู้รายได้เข้ามาได้เลยทันทีในปีนี้" นายพีรทัศน์กล่าว

นายพีรทัศน์ กล่าวอีกว่า UWC จะขยายพื้นที่ปลูกพืชพลังงานเป็น3,500 ไร่ จากปัจจุบันที่มีอยู่ 1,000 ไร่ เพื่อเพิ่มวัตถุดิบรองรับการขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าที่มีอยู่ปัจจุบัน และขยายศักยภาพในการเพาะปลูก เก็บเกี่ยว และแปรรูปพืชพลังงานด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัย (Mechanical Farming) และมีการใช้เทคโนโลยีอันทันสมัยมาบริหารจัดการ เช่น การใช้ระบบ GPS และใช้อากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก (Drone) ถ่ายภาพสำรวจพื้นที่เพาะปลูกและบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง

ทั้งนี้จากการผลิตก๊าซชีวภาพจะสามารถนำไปผลิตแก๊สไบโอมีเทนอัด หรือ CBG (Compressed Bio-Methane Gas) เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในยานยนต์ในธุรกิจแทนก๊าซ CNG หรือ NGV ได้ ซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายค่าน้ำมันที่ใช้กับยานยนต์ และเมื่อมีปริมาณก๊าซCBG เพิ่มขึ้นหลังจากการเพิ่มกำลังการผลิต บริษัทฯจะสามารถสร้างรายได้จากการขายเพิ่มขึ้นได้อีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version