UWC ก้าวอีกขั้นซื้อโรงไฟฟ้าไบโอแก๊ส พร้อมพืชพลังงานกว่า 1,000 ไร่รับรู้รายได้ทันที โชว์รีเทิร์นสูง 35%

อังคาร ๐๗ กรกฎาคม ๒๐๑๕ ๑๙:๐๐
เอื้อวิทยา จำกัด (มหาชน) หรือ UWCก้าวอีกขั้น หยิบชิ้นปลามัน เข้าซื้อโรงไฟฟ้าไบโอแก๊ส พร้อมพื้นที่ปลูกพืชพลังงานกว่า 1,000 ไร่ รับรู้รายได้ทันทีปีนี้ ผลตอบการแทนลงทุนสูงถึง 35%

นายพีรทัศน์ ธนรัชต์วัฒนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอื้อวิทยา จำกัด (มหาชน) หรือ UWC เปิดเผยว่า บริษัทฯได้เข้าลงทุนในสัดส่วน60% ในบริษัท พาราไดซ์กรีนเอนเนอยี่ จำกัดบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านโรงไฟฟ้า โดยจะมีทุนจดทะเบียน 250 ล้านบาท ร่วมทุนกับบริษัท เอสเอฟ ขอนแก่นจำกัด ซึ่งมีประสบการณ์ดำเนินธุรกิจฟาร์มในพื้นที่มากว่า 50 ปี ทั้งการทำฟาร์มไก่ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และการปลูกต้นเนเปียร์ซึ่งเป็นจุดแข็งในการทำธุรกิจเกษตรพลังงาน (Agro-Energy) โดยสามารถนำมาผลิตก๊าซชีวภาพ (Biogas) เพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งในปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพที่ผลิตไฟฟ้าใช้อยู่แล้ว และได้ยื่นขอขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

โดยการเข้าลงทุนของ UWC ในครั้งนี้ สามารถยกระดับและขยายธุรกิจด้านพลังงานของบริษัทฯได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญบริษัทฯจะสามารถรับรู้รายได้จากการแปรรูปพืชพลังงานได้ทันทีในปี 2558 และรายได้จะเพิ่มเป็นกว่า 320 ล้านบาทในปี 2559 เป็นต้นไป ส่วนกำไรก่อนหักภาษีและดอกเบี้ยคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 140 ล้านบาทซึ่งคิดเป็นอัตราผลตอบแทนการลงทุน(Project IRR) อยู่ที่กว่า 35% (ในสัดส่วนเงินกู้และเงินทุน 1:1)

"การลงทุนในครั้งนี้ของบริษัทฯ ถือเป็นก้าวสำคัญในการขยายธุรกิจด้านพลังงาน ที่สำคัญโปรเจกต์นี้มีความพร้อมอย่างยิ่งทั้งในเรื่องของเชื้อเพลิงที่จะนำมาผลิตไฟฟ้า และมีโรงไฟฟ้าที่พร้อมผลิตไฟฟ้าได้ทันที ที่สำคัญพาราไดซ์กรีนเอ็นเนอยี่เป็นบริษัทที่ทีรายได้อยู่แล้ว ซึ่งเราจะสามารถรับรู้รายได้เข้ามาได้เลยทันทีในปีนี้" นายพีรทัศน์กล่าว

นายพีรทัศน์ กล่าวอีกว่า UWC จะขยายพื้นที่ปลูกพืชพลังงานเป็น3,500 ไร่ จากปัจจุบันที่มีอยู่ 1,000 ไร่ เพื่อเพิ่มวัตถุดิบรองรับการขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าที่มีอยู่ปัจจุบัน และขยายศักยภาพในการเพาะปลูก เก็บเกี่ยว และแปรรูปพืชพลังงานด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัย (Mechanical Farming) และมีการใช้เทคโนโลยีอันทันสมัยมาบริหารจัดการ เช่น การใช้ระบบ GPS และใช้อากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก (Drone) ถ่ายภาพสำรวจพื้นที่เพาะปลูกและบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง

ทั้งนี้จากการผลิตก๊าซชีวภาพจะสามารถนำไปผลิตแก๊สไบโอมีเทนอัด หรือ CBG (Compressed Bio-Methane Gas) เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในยานยนต์ในธุรกิจแทนก๊าซ CNG หรือ NGV ได้ ซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายค่าน้ำมันที่ใช้กับยานยนต์ และเมื่อมีปริมาณก๊าซCBG เพิ่มขึ้นหลังจากการเพิ่มกำลังการผลิต บริษัทฯจะสามารถสร้างรายได้จากการขายเพิ่มขึ้นได้อีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม