ภาพรวมความเชื่อมั่นเศรษฐกิจไตรมาส 2 ของกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ใน APAC สดใสขึ้น ขณะที่ไทยกลับลดลง

พุธ ๐๘ กรกฎาคม ๒๐๑๕ ๑๐:๑๖
ดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจในกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ของเอเชียแปซิฟิกเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 จากผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติของแกรนท์ ธอนตัน หรือ Grant Thornton's International Business Report (IBR) ซึ่งจัดทำการสำรวจทัศนคติของผู้บริหารธุรกิจ 2,580 คนทั่วโลกรายไตรมาส โดยประเทศจีนมีการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกมากที่สุด แต่ความผันผวนในตลาดหุ้นจีนที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าความเชื่อมั่นดังกล่าวนั้นอาจยังไม่แน่นอน ขณะที่ผู้บริหารธุรกิจทั่วทั้งภูมิภาคโดยรวมยังคงมีเพลิดเพลินต่อโอกาสในการขยายตัวของธุรกิจ

ทัศนคติด้านบวกของธุรกิจในกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ของเอเชียแปซิฟิกเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 43 ในไตรมาสที่ 1 เป็นร้อยละ 52 ในไตรมาสที่ 2 โดยมีแรงผลักดันสำคัญจากประเทศจีนที่ตัวเลขทัศนคติด้านบวกเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 จากไตรมาสก่อนกลายเป็นร้อยละ 46 และประเทศอื่นๆ อย่าง อินเดีย (ร้อยละ 85) ฟิลิปปินส์ (ร้อยละ 78) และอินโดนีเซีย (ร้อยละ 60) ซึ่งแม้จะมีทัศนคติด้านบวกลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน แต่ยังคงรักษาตำแหน่งอยู่ใน 10 อันดับแรกของประเทศที่มีทัศนคติด้านบวกสูงสุดในโลก

ส่วนในประเทศไทย ทัศนคติด้านบวกลดลงจากร้อยละ 36 ในไตรมาสก่อนเป็นร้อยละ 10 ในไตรมาสที่ 2 นี้ ซึ่งมองว่าอาจเป็นผลกระทบจากประเด็นปัญหาด้านอุตสาหกรรมการประมง อุตสาหกรรมการบิน แนวโน้มที่จะเกิดภาวะแล้งในภาคกลาง ตลอดจนการที่ประเทศคู่ค้าสำคัญมีสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ซึ่งผู้บริหารธุรกิจในประเทศไทยกล่าวว่าสิ่งที่น่าวิตกกังวลที่สำคัญคือการขาดแคลนความคิดริเริ่มเพื่อกระตุ้นการเติบโต

นายแอนดรูว์ แม็คบีน หุ้นส่วนและผู้เชี่ยวชาญด้านประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ของแกรนท์ ธอนตัน ในประเทศไทย กล่าวว่า "ทัศนคติด้านบวกที่เพิ่มสูงขึ้นในจีนน่าจะเป็นผลดีต่อทั่วทั้งภูมิภาค

หากสามารถทำให้เกิดความมั่นคงในตลาดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้บริโภคชาวจีนเริ่มมีความต้องการนำเข้าสินค้าในขณะที่สภาพเศรษฐกิจกำลังชะลอตัวเช่นนี้ นอกจากนี้ ประเทศจีนกำลังมองหาสถานที่น่าลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งประเทศไทยอาจจะได้รับผลประโยชน์ไปด้วย ส่วนอินเดียแม้มีการปฏิรูปในทางที่ดี แต่ก็ยังมีอะไรที่ต้องทำอีกมากอย่างในเรื่องการสร้างงาน หากอินเดียต้องการได้ประโยชน์จากการที่มีประชากรจำนวนมาก ขณะที่อินโดนีเซียก็ได้รับผลบวกจากการที่ราคาน้ำมันลดลง แต่โครงสร้างพื้นฐานส่วนใหญ่ยังคงไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้ฉุดรั้งการเติบโตทางธุรกิจ"

"ในประเทศไทย เรากำลังพยายามหาเหตุผลจำนวนมากเสริมสร้างทัศนคติด้านบวกในเวลานี้ ซึ่งรัฐบาลมุ่งเน้นในเรื่องความมีเสถียรภาพมากกว่าความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจ แต่ก็อาจโต้แย้งได้ว่าอย่างน้อยเป็นการยับยั้งความผันผวนทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงในปีที่ผ่านมา และรัฐบาลยังพยายามจัดระเบียบประเด็นสำคัญที่ยังไม่ได้รับการจัดการมาเป็นเวลาหลายปี ส่วนประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกก๊าซธรรมชาติเหลวที่ใหญ่ที่สุดของโลก ก็ได้กระทบต่อภาพรวมราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลกที่ผันผวนเช่นกัน"

ทั้งนี้ การขาดแคลนแรงงานฝีมือยังคงเป็นปัญหาสำหรับภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก โดยราว 1 ใน 3 ของนักธุรกิจระบุว่า การขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถเป็นข้อจำกัดด้านโอกาสในการเติบโต (ร้อยละ 36) ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลก (ร้อยละ 29) และเป็นข้อวิตกกังวลที่สำคัญสำหรับธุรกิจในอินเดีย (ร้อยละ 64) และฟิลิปปินส์ (ร้อยละ 44)

แอนดรูว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า "ภูมิศาสตร์ประชากรมีบทบาทสำคัญต่อภาพรวมของทวีป กล่าวคือประเทศจีนกำลังประสบกับสภาพสังคมอาวุโสและแรงงานย้ายถิ่นฐานมาทำงานในตัวเมืองลดน้อยลง ทางด้านอินเดีย แม้ประชากรส่วนใหญ่จะอยู่ในวัยหนุ่มสาวหรือวัยทำงาน แต่นักธุรกิจยังมีความกังวลเนื่องจากยังขาดแคลนแรงงานมีทักษะ ส่วนประเทศไทยมีอัตราการว่างงานเกือบเป็นศูนย์ และมีประชากรที่เข้าสู่วัยอาวุโสอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเราอาจต้องหาแรงงานจากต่างประเทศเข้ามาเพิ่ม อย่างไรก็ตาม นโยบายการเข้าเมืองของเราไม่ได้ตอบรับกับความต้องการแรงงานนัก ดังนั้นในระยะกลาง เราอาจจะสะดุดหรือเกิดความท้าทายต่อปัญหาดังกล่าวนี้"

ทัศนคติด้านบวกของธุรกิจทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 33 ในไตรมาสที่ 1 เป็นร้อยละ 45 ในไตรมาสที่ 2 โดยกลุ่มเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดของโลกหลายกลุ่มมีพัฒนาการอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับสหรัฐอเมริกาซึ่งธุรกิจมีการจ้างงานมากขึ้นนั้น ทัศนคติด้านบวกเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 43 เป็นร้อยละ 54 และในญี่ปุ่นจากร้อยละ -17 เป็นร้อยละ 8 ส่วนในยุโรปก็เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 โดยขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 58

แอนดรูว์ กล่าวสรุปว่า "แม้ว่าอนาคตของประเทศกรีซในฐานะสมาชิกสหภาพยุโรปจะยังมีความไม่แน่นอน และมีความไม่มั่นคงทางการเมืองในทั่วโลก แต่ผู้บริหารธุรกิจเริ่มมีความเชื่อมั่นมากขึ้นในภาพรวมของเศรษฐกิจ และจากผลสำรวจที่กลุ่มเศรษฐกิจขนาดใหญ่หลายกลุ่มมีเชื่อมั่นที่เพิ่มสูงขึ้น เศรษฐกิจโลกกำลังมุ่งไปยังทิศทางที่ถูกต้อง การเติบโตของธุรกิจนั้นต้องอาศัยความเชื่อมั่น ความเชื่อมั่นก่อให้เกิดการขยายธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ ก่อให้เกิดการจ้างงาน และเราจะได้จับตามองอย่างใกล้ชิดว่าแรงส่งดังกล่าว จะสามารถดำเนินต่อไปได้หรือไม่ ในขณะที่ยังมีความเสี่ยงทางด้านการเมืองที่รุนแรงเป็นเสมือนแรงลมต้านอยู่"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version