ก.พลังงาน ชี้เทรนด์การพัฒนาพลังงานทดแทนเอเชียมาแรง เผยญี่ปุ่นวางโมเดลส่งเสริมรูปแบบคล้ายไทย

จันทร์ ๑๓ กรกฎาคม ๒๐๑๕ ๑๐:๐๙
ก.พลังงาน ชี้เทรนด์การพัฒนาพลังงานทดแทนเอเชียมาแรง เผยญี่ปุ่นวางโมเดลส่งเสริมรูปแบบคล้ายไทย ดันยอดผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์และลมเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง มั่นใจหากเกิดความร่วมมือไทย ญี่ปุ่นจะถอดบทเรียนการพัฒนาพลังงานทดแทนใหม่ให้มีต้นทุนต่ำลง และส่งเสริมงานวิจัยพลังงานรูปแบบใหม่

นายทวารัฐ สูตะบุตร รองปลัดกระทรวงพลังงาน และรักษาการผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า นโยบายความร่วมมือกับต่างประเทศ โดยเฉพาะความโดดเด่นการพัฒนาพลังงานทดแทนของไทยในปัจจุบัน ถือว่าประสบผลสำเร็จอย่างดี โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ กระทรวงพลังงานได้พบปะกับ นายมิชิโอะ ฮาชิโมโตะ (Dr.Michio Hashimoto) ผู้อำนวยการองค์การพัฒนาพลังงานใหม่และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม จากประเทศญี่ปุ่น (New Energy Technology Department Organization JAPAN) หรือ NEDO ซึ่งเข้ามาหารือถึงทิศทางการส่งเสริมพลังงานทดแทน ในกลุ่มพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมเพื่อผลิตไฟฟ้า ที่ประเทศญี่ปุ่นได้ให้ความสนใจอย่างยิ่งในขณะนี้ และพบว่าเกิดการลงทุนต่อเนื่องจากนโยบายการส่งเสริมที่มีรูปแบบคล้ายกับการส่งเสริมในประเทศไทย

ทั้งนี้ ประเทศญี่ปุ่นได้ใช้ระบบส่วนเพิ่มรับซื้อไฟฟ้ารูปแบบ Feed in Tariff (FiT) มากระตุ้นให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนให้เกิดการลงทุน โดยมี FiTสำหรับพลังงานแสงอาทิตย์ที่ระดับ 27 เยนต่อหน่วยหรือประมาณ 7.5 บาทต่อหน่วย ระยะเวลา 20 ปี และ FiT สำหรับพลังงานลม ที่ระดับ 22 เยนต่อหน่วยหรือประมาณ 7 บาทต่อหน่วย ระยะเวลา 20 ปี โดยผลที่ได้รับพบว่าเกิดการลงทุนโดยเฉพาะในพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้นเกือบ 4 เท่าตัว โดยจากเดิมที่พลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศญี่ปุ่นมีการลงทุนผลิต 5,600 เมกะวัตต์ในปี 2555 แต่ภายหลังที่ภาครัฐใช้ระบบ FiT เพื่อส่งเสริมจนถึงปัจจุบัน เกิดการลงทุนสูงถึง 23,708 เมกะวัตต์ หรือเพิ่มขึ้นสูงถึง 18,108 เมกะวัตต์ ภายในระยะเวลา 3 ปี

นอกจากนี้ กระทรวงพลังงาน ยังได้หารือถึงผลกระทบค่าไฟฟ้า ซึ่งในประเทศญี่ปุ่นพบว่า เกิดผลกระทบจากต้นทุนค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจากการส่งเสริม โดยจากเดิมในปี 2555 สำหรับครอบครัวที่มีการใช้ไฟฟ้าที่ระดับเฉลี่ย 300 หน่วยต่อเดือน จะค่าใช้จ่ายค่าไฟประมาณ 8,000 เยนต่อเดือน หรือ 2,200 บาทต่อเดือน พบว่าได้รับผลกระทบค่าไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนประมาณ 87 เยนต่อเดือนต่อครอบครัว แต่การคำนวนในปัจจุบันพบว่าหากมีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเข้าระบบเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จะมีผลกระทบต้นทุนค่าไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นอยู่ที่ประมาณ 474 เยนต่อเดือนต่อครอบครัว รวมทั้งประเทศญี่ปุ่นก็เริ่มมีปัญหาเรื่องระบบสายส่งในบางพื้นที่ซึ่งแม้ปัจจุบันจะมีสายส่งที่มีกำลังส่งไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจากการหยุดผลิตของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์บางส่วน แต่หากมีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเพิ่มมากขึ้นตามแผน ก็อาจส่งผลกระทบเป็นคอขวดได้เช่นเดียวกับประเทศไทย

นายทวารัฐ กล่าวเพิ่มว่า ความร่วมมือระหว่างไทยและ NEDO เพื่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นจะมีการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการศึกษาต้นทุนของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนดังกล่าวซึ่งในอนาคตคาดว่าจะมีงานวิจัยที่จะช่วยลดต้นทุนค่าไฟฟ้าจากเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นรวมถึงฐานองค์ความรู้ใหม่ๆจากญี่ปุ่นให้ไทย โดยเฉพาะงานวิจัยพลังงานรูปแบบใหม่สำหรับอนาคต เป็นต้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version