ก.เกษตรฯ เสวนาภัยแล้ง

จันทร์ ๑๓ กรกฎาคม ๒๐๑๕ ๑๖:๒๘
เกษตรฯ เปิดเวทีเข้ม ระดมผู้ทรงคุณวุฒิทุกฝ่าย ดึงเกษตรกร สถาบันเกษตรกร หารือร่วม เดินหน้าไขทางออกในงานเสวนา "เกษตรกรไทย ฝ่าวิกฤตภัยแล้ง" เร่งบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรแบะเจาะครบทุกมิติ ทั้งเรื่องบริหารจัดการน้ำ มาตรการแก้ไขปัญหาการทำการเกษตร และแนวทางรับมือภัยพิบัติภายใต้อิทธิพลของเอลนีโญ่ และลานีญาในระยะยาว

นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยในโอกาสเป็นประธานพิธีเปิดการเสวนา "ทางออกเกษตรกรไทย ฝ่าวิกฤตภัยแล้ง" ว่า กระทรวงเกษตรฯ โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้จัดงานเสวนาครั้งนี้ขึ้นเพื่อระดมความคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้ที่เกี่ยวข้องด้านการผลิต ด้านนโยบาย ด้านการวางแผนการบริหารจัดการน้ำ เพื่อร่วมกันหาแนวทางในการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบกับภาวะภัยแล้งของการเพาะปลูกข้าวนาปี ปี 2558/59 ซึ่งที่ผ่านมา ทางรัฐบาล ได้ตระหนักถึงปัญหาและความเดือดร้อนของเกษตรกรโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ดังนั้น กระทรวงเกษตรฯ จึงได้จัดทำมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ที่ประสบภัยแล้ง เช่น งดเพาะปลูกข้าวนาปี และการปรับเปลี่ยนพืชที่จะทำการเพาะปลูกเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อย อายุสั้น และเป็นพืชที่มีตลาดรองรับ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และพืชตระกูลถั่ว รวมทั้งปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกข้าวไปทำการเกษตรผสมผสาน เพื่อลดความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับผลผลิตข้าวนาปี และ ได้นำเสนอมาตรการดังกล่าวต่อที่ประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจแล้ว เมื่อวันที่ 24 มิถุนายนที่ผ่านมา

ด้านนายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กล่าวเสริมว่า อย่างที่ทราบกันดีว่า ขณะนี้ได้เกิดวิกฤตภัยแล้ง จากอิทธิพลของปรากฏการณ์เอลนีโญ่ ส่งผลให้ฝนทิ้งช่วงหรือฝนตกน้อยในเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม 2558 เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร รัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรฯ ได้จัดทำมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ดังกล่าว เช่น รณรงค์งดการเพาะปลูกข้าวนาปี ปรับเปลี่ยนพืชที่จะทำการเพาะปลูกเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อย อายุสั้น และเป็นพืชที่มีตลาดรองรับ รวมทั้งปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกไปเป็นเกษตรผสมผสาน เพื่อลดความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับผลผลิตข้าวนาปี ซึ่งการจัดเสวนาครั้งนี้ สศก. ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิที่มีชื่อเสียงมาร่วมให้ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้น คือ ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร? นักวิชาการเกียรติคุณ ที่จะมากล่าวถึงผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำต่อเศรษฐกิจและสังคมการเกษตร ผศ.ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา? ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ กับเรื่องของเทคโนโลยีในการติดตามและประเมินผลสภาวะภัยแล้ง? ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต ที่จะมาให้ข้อเสนอแนะที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องภัยพิบัติจากภัยแล้ง ภายใต้อิทธิพลของ เอลนีโญ่ และลานีญา ในระยะยาว รวมถึง ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำ กรมชลประทาน กับเรื่องของข้อจำกัดของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการน้ำในมิติต่างๆ และอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กับมาตรการแก้ไขปัญหาการทำการเกษตรในภาวะภัยแล้งเพื่อบรรเทาผลกระทบ

นอกจากนี้ ยังมีผู้แทนเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ที่จะมาร่วมกันระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการรับรู้ภัยแล้งที่เกิดขึ้น ความต้องการความจำเป็นขั้นพื้นฐานจากภาครัฐของเกษตรกร/สถาบันเกษตรกร การสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อรับรู้ภัย และกิจกรรมการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์เพื่อช่วยเหลือสมาชิกเมื่อประสบภัย ซึ่งคาดว่าการเสวนาครั้งนี้ จะเป็นกุญแจสำคัญเพื่อหาทางออกร่วมกันในการแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปีที่ประสบกับภัยแล้ง โดย สศก. จะมีการนำเสนอผลการเสวนาให้ทราบในระยะต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ