UIH มอบทุนสนับสนุน “ฟีโบ้”ออกแบบและสร้าง “หุ่นยนต์กู้ชีวิตในซากอาคารถล่ม”

จันทร์ ๑๓ กรกฎาคม ๒๐๑๕ ๑๗:๑๑
UIH มอบทุนสนับสนุนสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) มจธ. ต่อเนื่อง 2 ปี รวมจำนวน 3 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนา "หุ่นยนต์ กู้ชีวิตในซากอาคารถล่ม" รวมทั้งเพื่อใช้ในงานวิจัยทางการศึกษาอื่นๆ ที่นำไปปรับใช้ในชีวิตจริงได้ ผลงานวิจัยพร้อมปรับใช้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวในอนาคต

คุณวิชัย เบญจรงคกุล ประธานบริหาร บริษัท ยูไนเต็ด อินฟอร์เมชั่น ไฮเวย์ จำกัด (UIH) กล่าวว่า UIH มีนโยบายสนับสนุนการศึกษาด้านเทคโนโลยีของประเทศในทุกมิติ โดยเฉพาะการสนับสนุนการพัฒนางานวิจัย เพื่อการค้นคว้า สร้างสรรค์นวัตกรรม ประดิษฐกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้มอบเงินทุนสนับสนุนการศึกษาและการวิจัยแก่สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) ต่อเนื่อง 2 ปี รวมจำนวน 3 ล้านบาท เพื่อเป็นทุนการศึกษา และเป็นค่าใช้จ่ายจัดหาวัสดุอุปกรณ์สำหรับการศึกษาวิจัยและวัสดุอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา

ทั้งนี้ UIH เล็งเห็นว่า การพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต เนื่องจากนวัตกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าทั้งต่อผลงาน และบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ

"การสนับสนุนให้แก่ฟีโบ้ เป็นความตั้งใจของ UIH ในการนำองค์ความรู้ทางวิชาการและความคิดสร้างสรรค์ที่สามารถประยุกต์ใช้ได้จริง มาต่อยอดเสริมการทำงานได้จริงทั้งในทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งสำคัญเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดียิ่งขึ้นต่อไป" คุณวิชัย กล่าว

พันเอก เรืองทรัพย์ โฆวินทะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูไนเต็ด อินฟอร์เมชั่น ไฮเวย์ (UIH) กล่าวว่า การสนับสนุนการศึกษาและการวิจัยแก่ฟีโบ้นั้น เป็นทุนสนับสนุนต่อเนื่อง 2 ปี ปีละ 1.5 ล้านบาท

(พ.ศ.2557 - พ.ศ.2558)

"UIH มั่นใจในความตั้งใจ ของสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม หรือฟีโบ้ แห่งนี้ จากผลงานที่ผ่านมา รวมถึงต้องการส่งเสริมให้นักศึกษาไทยได้มีโอกาส พัฒนาความรู้ ความสามารถอย่างเต็มที่ โดยมุ่งหวังว่านักศึกษาไทยจะมีผลงานดีเด่นจำนวนมากขึ้น ทัดเทียมนักศึกษาแห่งอื่นทั่วโลก" พันเอก เรืองทรัพย์ กล่าว

รศ. ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ผู้ก่อตั้งสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวว่า เงินทุนที่ได้รับการสนับสนุนได้นำไปใช้ในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์เพื่อการวิจัย ออกแบบและสร้าง "หุ่นยนต์กู้ชีวิตในซากอาคารถล่ม" และส่วนหนึ่งได้มอบเป็นทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษา โดยสถาบันฯ ไม่ได้หักค่าบริหารจัดการใด ๆ เข้าสถาบัน

ทั้งนี้ หุ่นยนต์กู้ชีวิตในซากอาคารถล่ม เป็นหุ่นยนต์ที่สามารถทำงานในพื้นที่เสี่ยงอันตรายแทนมนุษย์ โดยงานวิจัยนี้เกิดขึ้นจากการประเมินโอกาสที่ประเทศไทยอาจได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว ตึกและอาคารสูงในพื้นที่ภาคกลางมีโอกาสได้รับความเสียหายและถล่มลงมาได้ เนื่องจากมีการค้นพบรอยเลื่อนของแผ่นเปลือกโลกจำนวนมากในประเทศไทย โดยหุ่นยนต์ได้ถูกออกแบบให้สามารถเคลื่อนที่ผ่านภูมิประเทศที่ขรุขระได้อย่างคล่องแคล่ว อีกทั้งมีความสามารถในการสำรวจซากปรักหักพังได้อย่างอัตโนมัติ หุ่นยนต์ลักษณะนี้ยังสามารถดัดแปลงใช้งานในภารกิจอื่น ๆ ได้ เช่น งานกู้กับระเบิด เป็นต้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ